บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.6K
2 นาที
31 สิงหาคม 2563
Ep.1 ทำไมเราต้องทำแฟรนไชส์?


1. แฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์เชิงธุรกิจ (Strategies of Business) ที่เหมือนๆกันในทุกสาขา


ภาพจาก bit.ly/3bb03TI
 
สังเกตมั้ยครับว่า แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง McDonald’s, KFC, Starbucks บอกแค่ชื่อ.. เราสามารถนึกถึงรูปแบบเมนู สินค้า, ภาพลักษณ์ของแบรนด์ บรรยากาศและประสบการณ์ที่ได้รับ แม้ยังไม่ได้เข้าร้านด้วยซ้ำ 
 
สิ่งเหล่านี้ถูกเรียกว่า “มาตรฐาน” ซึ่งทุกแฟรนไชส์ต้องมี!
 
2. ส่งต่อความสำเร็จ (Forward Success)

ภาพจาก  bit.ly/31IyWN2

ย้อนกลับไปในปี 1948 สองพี่น้อง ดิ๊คและแมค แมคโดนัลด์ ผู้ให้กำเนิด McDonald’s ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า “แฟรนไชส์” คืออะไร แต่พวกเขากลับสร้างยอดขายได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตนี้ เรย์คล็อก ผู้มองเห็นโอกาส อยากจะโคลนนิ่งความสำเร็จ ขยายสาขาไปทั่วอเมริกา เกิดปิ๊งไอเดีย ตะโกนคำว่า “แฟรนไชส์” ออกมาดังๆ หลังจากนั้น..
 
ผ่านมา 72 ปี ปัจจุบัน ปี 2020 ร้าน McDonald’s มีมากกว่า 36,000 สาขาใน 100 ประเทศทั่วโลก (เฉลี่ยเปิดสาขาใหม่ทุกปีๆละ 500 สาขาทั่วโลก) แน่นอนว่า แฟรนไชส์ ได้ถูกบรรจุอยู่ในกลยุทธ์หลักของ McDonald’s ในการขยายกิจการของร้านทั่วอเมริกาและทั่วโลก 
 
กล่าวได้ว่า ไม่มีกลยุทธ์ใดช่วยให้แบรนด์ขยายสาขาได้รวดเร็วมากเท่า “แฟรนไชส์” อีกแล้ว
 
3. รูปแบบธุรกิจเดียว ดังข้ามประเทศแบบชิลๆ (Success across the world)


ภาพจาก bit.ly/3hDWtnE

ถ้าธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ มีมาตรฐาน ระบบบริหารจัดการร้านที่ดี ใครทำต่อก็สำเร็จได้ไม่ยาก หากอยู่ถูกโลเคชั่น ใครๆก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจแบบนี้ จริงมั้ยครับ
 
ดังนั้น แฟรนไชส์ จึงเป็นรูปแบบธุรกิจเดียวที่คุณสามารถส่งต่อความสำเร็จได้ไม่ยาก และที่สำคัญ ใครๆก็อยากได้รูปแบบร้านแบบนี้ไปลงทุนในทำเลที่เค้าเชื่อมั่นว่าจะทำได้สำเร็จอีกด้วย
 
4. พระเอกตัวจริง (Economy of Scale (EOS))


ภาพจาก bit.ly/2YQEK5b
 
ยิ่งมีจำนวนสาขามากเท่าไหร่ EOS ยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น ฟังแล้วอาจงง แต่โลกค้าปลีกใช้วิธีนี้มาหลายร้อยปีแล้ว 
 
คิดง่ายๆ หากเรามีร้านเดียว ซื้อสินค้าจาก Supplier เดือนละกล่อง เมื่อไหร่ที่เรามี 100 สาขา เราสั่งจาก Supplier ถึงเดือนละ 100 กล่อง แน่นอนว่า เมื่อคุณมีโวลุ่มในการซื้อสินค้าจาก Supplier เมื่อไหร่ ส่งผลให้มีอำนาจต่อรองในการซื้อเพิ่มขึ้นทันที 
 
นอกจากราคาซื้อที่ถูกกว่าแล้ว ยังสามารถต่อรองเงื่อนไขพิเศษอื่นๆได้อีก เช่น เครดิตการชำระเงิน, บริการหลังการขาย และอื่นๆ นอกจากช่วยลดต้นทุนซื้อไปได้โข ภาพของคุณจากเจ้าเล็กๆในสายตาของ Supplier กลับกลายเป็นเจ้าใหญ่แบบฉับพลันด้วยพลังของ EOS
 
5. เป็นผู้นำการตลาด และมีเครือข่ายสาขาแฟรนไชส์ เป็นแนวร่วม (Market Leader)


ภาพจาก facebook.com/muanchoncafe
 
ข้อได้เปรียบหนึ่งที่เจ้าของแฟรนไชส์ไม่เคยบอก คือการเป็นผู้นำตลาดในกลุ่ม Segment นั้นๆไปโดยปริยาย 
 
หากนึกถึงผู้เล่นในกลุ่มร้านกาแฟสด แฟรนไชส์ชื่อดัง กาแฟอเมซอน, กาแฟมวลชน, Coffee Today, Starbucks | ร้านค้าปลีก 7-Eleven, FamilyMart | ร้านชานมไข่มุก KOI The’ (โคอิ เตะ), Ochaya | ธุรกิจขนส่ง Kerry, ไปรษณีย์ไทย | ร้านนมสด Milk Land ไทย-เดนมาร์ค | ร้านสเปชี่ยลสโตร์ Miniso, Moshi Moshi | ร้านเครื่องเขียนสำนักงาน Officemate Plus | โรงเรียนกวดวิชา Kumon, KPN, Wall Street English 
 
สำคัญที่สุด คือ ความเข้มแข็งและสมบูรณ์แบบของเจ้าของแฟรนไชส์ (บริษัทฯแม่) ยิ่งได้รับการพัฒนาสินค้า มีทีมงาน ฝ่ายสนับสนุนครบทุกด้าน สร้างแฟรนไชส์ให้เป็นระบบ ยิ่งสำเร็จรูปมากเท่าไหร่ ยิ่งง่ายในการขยายสาขามากขึ้นเท่านั้น


และนี่คือ 5 ข้อที่ตอบคำถามว่า ทำไมเราต้องทำธุรกิจตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์ เพราะข้อได้เปรียบเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะการที่มีร้านค้าสาขาเดียว อาจไม่ตอบโจทย์ธุรกิจหน้าร้านในยุค Disruption เช่นนี้ได้อีกต่อไป
 
เพราะหัวใจของระบบแฟรนไชส์ต้อง.. “ง่ายในการขยายสาขา ยากในการลอกเลียนแบบ”
 
 
เอ็ก ไทยแฟรนไชส์
 
#ThaiFranchiseCenter
#ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,265
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,469
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,238
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,268
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,227
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด