บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การเงินในธุรกิจแฟรนไชส์
5.6K
2 นาที
25 กันยายน 2563
รวม 8 สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ รับสิทธิปั๊บ อนุมัติเร็วทันใจ


 
ปัจจุบันใครที่อยากเริ่มต้นธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ แต่ไม่เงินทุนลงทุน ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะปัจจุบันได้มีสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์หลายๆ แห่ง ที่พร้อมให้การสนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินลงทุนในการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์
 
โดยคุณสามารถยื่นขอสินเชื่อได้แม้ไม่มีประสบการณ์ ด้วยเงื่อนไขพิเศษ วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนนาน ตามเกณฑ์การกู้เงินของแต่ละธนาคาร วันนี้ทาง www.ThaiFranchiseCenter.com ได้รวบรวมสินเชื่อเพื่อธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ มานำเสนอให้แก่ผู้ที่สนใจอยากเริ่มต้นธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ เพื่อเป็นทางเลือกในการยื่นขอสินเชื่อลงทุนแฟรนไชส์ที่ชอบครับ 
 
1. ธนาคารกสิกรไทย


ภาพจาก bit.ly/2Hz1Jfn
 
สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ของธนาคารกสิกรไทย เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจอยากเป็นเจ้าของกิจการด้วยการซื้อแฟรนไชส์ สามารถกู้ง่าย ได้ดั่งใจ ไม่มีหลักประกัน ไม่มีประสบการณ์ธุรกิจก็กู้ได้ มีธุรกิจแฟรนไชส์ที่ร่วมโครงการปล่อยสินเชื่อ อาทิ อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ค้าปลีก การศึกษา วงเงินสินเชื่อสูงสุุด 80% ของมููลค่าการลงทุุนแฟรนไชส์ซอร์ระบุ ยกตัวอย่างเช่น แฟรนไชส์ ออฟฟิศเมท
 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://kasikornbank.com/sme/franchise
 
2. ธนาคารออมสิน


ภาพจาก bit.ly/33SL7Xg
 
สินเชื่อแฟรนไชส์ธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อให้ผู้กู้รายละไม่เกินมูลค่าของสัญญาที่เจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์วอร์) เรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายในการลงทุนทำธุรกิจ วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 1.0 ล้านบาทต่อราย คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดไม่ชำระหนี้ ให้เป็นไปตามที่ธนาคารประกาศกำหนด 
 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.gsb.or.th/gsb_govs/gsbfranchise
 
3. ธนาคารกรุงเทพ


ภาพจาก bit.ly/3hWicGM
 
สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ เหมาะสำหรับผู้สนใจเริ่มต้นธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ จะช่วยให้การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ได้ไม่ยาก ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ ก็สามารถยื่นขอสินเชื่อจากธนาคารกรุงเทพได้ วงเงินกู้สูงสุดถึง 70% ของเงินลงทุน ผ่อนชำระได้สูงสุดถึง 7 ปี พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษ สำหรับผู้ประกอบการทุกรูปแบบทั้งประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และได้รับการรับรองจาก Franchisor ว่าได้ผ่านการคัดเลือกเป็น Franchisee พร้อมระบุเงินที่ใช้ในการ ลงทุน และระยะเวลาการอบรม
 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/305P5L7
 
4. ธนาคารไทยพาณิชย์


ภาพจาก bit.ly/365VWYT
 
สินเชื่อสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ธนาคารพาณิชย์ วงเงินสูงสุดไม่เกินมูลค่าการลงทุนที่แฟรนไชส์ซอร์ระบุ ตามเอกสารการรับรองสิทธิ์จากแฟรนไชส์ คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ เป็นนิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย อายุระหว่าง 20 - 65 ปี (ลูกค้าปัจจุบันไม่เกิน 75 ปี) ไม่ต้องมีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจ แต่ต้องผ่านการคัดเลือกจากแฟรนไชส์ซอร์แต่ละแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่น แฟรนไชส์กาแฟมวลชน
 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/3kIJ52P
 
5. ธนาคาร ธ.ก.ส.


ภาพจาก bit.ly/2G3z3u2
 
สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ ธ.ก.ส. เป็นการสนับสนุนเงินทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในกิจการที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์ ทั้งค่าเช่าที่ดิน หรืออาคาร ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์รายเดือน ค่าการตลาด ค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน ฯลฯ โดยผู้ขอสินเชื่อจะต้องผ่านการคัดเลือกจากแฟรนไชส์ซอร์ วงเงินกู้สูงสุกรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท
 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/3kNoWss
 
6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิมแบงก์


ภาพจาก bit.ly/3cuG1nR
 
สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไทย วงเงินสินเชื่อระยะยาว หรือกู้ยืมไม่เกินระยะเวลาของสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์ อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ 6.125 % ต่อปี หลักประกันพิจารณาตามความเหมาะสม เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ไทยเพื่อนำไปเปิดให้บริการในต่างประเทศ หรือว่าจ้างแฟรนไชส์ไทยในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ
 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/341Chq8
 
7. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือเอสเอ็มอีแบงก์


ภาพจาก bit.ly/32YsUbv
 
เป็นสินเชื่อเพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 2 ล้านบาท กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) วงเงินต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท, นิติบุคคลสูงสุดต่อรายไม่เกิน 15 ล้านบาท โดยวงเงิน 5 ล้านบาทแรกไม่ต้องใช้หลักประกัน ผู้ขิสินเชื่อสามารถใช้ บสย.ค้ำประกัน ซึ่งจะได้รับการชดเชยค่าธรรมเนียม บสย. ใน 4 ปีแรก ระยะเวลาการกู้ยืมรวม 7 ปี วงเงินกู้สูงถึง 5 ล้านบาท 
 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.smebank.co.th/loans/LocalEconomyUpgrade
 
8. KTC บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)


ภาพจาก bit.ly/3kFJiUi
 
เป็นสินเชื่อสำหรับการลงทุนแฟรนไชส์ MezzoX Drip Cafe กาแฟดริป ให้บริการ กาแฟ ชา และเครื่องดื่มคุณภาพพรีเมี่ยมต่างๆ โดยผู้ลงทุนแฟรนไชส์สามารถผ่อนชำระค่าแฟรนไชส์ ลงทุนน้อย คืนทุนไว กับบัตร KTC โดยผ่อนชำระ 0% นาน 3 เดือนหรือผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.50% ต่อเดือน นาน 10 เดือน และผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.50% ต่อเดือน นาน 18 เดือน พิเศษสำหรับบัตรกดเงินสด KTC PROUD เท่านั้น
 
ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าโครงการแฟรนไซส์ ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 89,000 บาท โดยจะได้รับอุปกรณ์ปรุงเครื่องดื่ม วัตถุดิบ (สำหรับเปิดร้าน) ป้ายชื่อร้าน อบรมออนไลน์คู่มือการทำงาน สูตรเครื่องดื่มต่างๆ พร้อมเข้าระบบการขายผ่าน Delivery Apps ที่จะช่วยเพิ่มช่องทางการขายได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แฟรนไชส์กาแฟ ดริป เมซโซ่เอ็กซ์
 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.ktc.co.th/promotion/others/others/franchise-mezzox
 
ได้เห็นแล้วแล้วว่า การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป คนที่ไม่มีเงินทุนในการทำธุรกิจ หรือซื้อแฟรนไชส์ดีๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น เพราะสถาบันการเงินได้มีการสนับสนุนสินเชื่อให้กับคนที่พร้อมจะเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์อยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญก่อนขอสินเชื่อ คุณจำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจในระบบธุรกิจแฟรนไชส์พอสมควร    
 
สำหรับใครที่สนใจสินเชื่อประเภทต่างๆ ของแต่ละสถาบันการเงิน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ลิ้งค์ www.thaifranchisecenter.com/loan

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,010
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,487
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,634
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,573
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด