บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ไอเดียธุรกิจ
2.5K
3 นาที
25 กันยายน 2563
เจอแล้ว 10 อาชีพใช้ไอเดีย สร้างธุรกิจ


 
ยุคนี้คิดทำธุรกิจอย่างเดียวคงไม่พอ นอกจากจะมีเงินทุน สำคัญคือต้องมีไอเดีย อาจไม่ต้องไปแสวงหาสินค้าใหม่ๆ ที่คนไม่เคยเห็น แต่เราสามารถพัฒนาสินค้าแบบเดิมๆ ที่มีอยู่ให้แตกต่าง สมัยนี้เป็นยุคโซเชี่ยลอะไรที่เป็นกระแสใหม่ๆ คนจะฮิตติดใจได้ชั่วข้ามคืน แต่เรื่องแบบนี้พูดง่ายทำยาก คำว่าไอเดียไม่ใช่ว่าใครจะคิดก็คิดได้
 
แต่ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าใครคิดได้โอกาสสำเร็จมีสูงมาก และมีตัวอย่างของคนที่ใช้ไอเดียสร้างธุรกิจจนประสบความสำเร็จอยู่จำนวนมากลองมาดูเป็นตัวอย่างเผื่อว่าใครเห็นแนวทางแล้วอาจจะเอาไปต่อยอดได้
 
1. บริษัทระบายอารมณ์ ไม่จำกัด


ภาพจาก bit.ly/33XF4kf
 
เมื่อมีความเครียดทุกคนก็อยากหาที่ระบาย กลายเป็นไอเดียในการทำธุรกิจที่น่าสนใจเช่นห้องระบายอารมณ์ (Anger Room) ของบริษัท Smash ในประเทศจีน เปิดให้บริการระเบิดอารมณ์ได้เต็มที่ โดยจะมอบไม้เบสบอล และอาวุธเบาๆ ให้เราถือติดมือเข้าไปพร้อมสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน ซึ่งในห้องจะมีสิ่งของต่างๆ เช่น ขวดแก้ว แจกัน ฯลฯ ให้เราระเบิดอารมณ์ใส่ได้เต็มที่ค่าบริการ ประมาณ 158 หยวน (ราวๆ 700 บาท) หรือในอเมริกาก็มีธุรกิจคล้ายกันนี้แต่ใช้ชื่อห้องว่า RageRoom หรือห้องทุบทุกอย่างที่ขวางหน้าให้สิ้นซาก เป็นต้น
 
2. โรงหนังแบบ Drive-in


ภาพจาก bit.ly/3kKBxfV
 
แม้จะไม่ใช่ไอเดียแปลกใหม่ที่เกิดเพราะ COVID 19 ระบาด แต่ก็ถือว่าการแพร่ระบาดของ COVID 19 ทำให้โรงหนังแบบ Drive-in กลับมาคึกคักเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างความเฟื่องฟูของธุรกิจนี้ เช่น โรงหนังแบบ Drive-in ในกรุงโซลที่มียอดขายตั๋วเพิ่มขึ้น 10-20% ในทุกสัปดาห์และจะขายหมดตลอดในช่วงวีคเอนด์ รวมไปถึงโรงหนังแบบ Drive-in ในอเมริกาที่มีกว่า 300 แห่ง ที่ผู้ประกอบการบอกว่ายอดขายโดยรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 40%  และต้องเพิ่มรอบการฉายให้มากขึ้นด้วย นอกจากในเกาหลีใต้ และอเมริกา ในอีกหลายประเทศที่มีธุรกิจโรงหนังแบบ Drive-in ก็มียอดคนใช้งานเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน
 
3. ห้องเช่าป้องกันการ “หย่าร้าง”


ภาพจาก bit.ly/2FXNmRa
 
ไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่าปัญหาการ “หย่าร้าง” จะมากขึ้นเพราะผลมาจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 ตัวอย่างชัดเจนคือในเมืองจีนที่ประกาศปิดเมืองไปเป็นเวลานาน ผลคือมีตัวเลขของสามีภรรยาที่หย่าร้างเยอะมาก คาดว่าด้วยความกดดัน ด้วยความเครียด และปัญหาที่ต้องอยู่รวมกันเป็นเวลานานทำให้เกิดเรื่องนี้ ซึ่ง Kasoku บริษัทสตาร์ทอัพในญี่ปุ่นผุดไอเดียนำธุรกิจให้เช่าห้องพักที่บริษัทมีอยู่กว่า 500 ห้องทั่วญี่ปุ่น มาใช้รับมือกับปัญหาดังกล่าวโดยชูจุดขายเรื่องการตกแต่งที่สามารถใช้เป็นที่พักผ่อน หรือเวิร์คฟรอมโฮมก็ได้ ในราคา 4,400 เยน หรือประมาณ 1,300 บาทต่อวัน พร้อมกันนี้ยังมีบริการให้คำปรึกษาปัญหาการหย่าร้างโดยผู้เชี่ยวชาญฟรี 30 นาทีอีกด้วย
 
4. กล่องเครื่องสำอาง “Birchbox”


ภาพจาก bit.ly/2ECAejS

อาจจะใช้เป็นไอเดียการตลาดของคนอยากขายเครื่องสำอาง นี่คือธุรกิจที่เคยเกิดขึ้นจริง โดยโมเดลธุรกิจของ Birchbox คิดค่าสมาชิกเดือนละ 10 ดอลลาร์ และจะส่งกล่อง Birchbox ไปที่บ้านให้เดือนละครั้ง โดยภายในกล่องประกอบด้วยเครื่องสำอางขนาดเล็กสำหรับทดสอบประมาณ 4-5 ชิ้น ซึ่งบริษัทจะเลือกสรรให้กับลูกค้าโดยอิงจากข้อมูลที่ลูกค้ากรอกไว้ หากลูกค้าสนใจสินค้าชิ้นไหนก็จะสามารถสั่งเพิ่มเติมได้โดยไม่ต้องมาเสียเวลาคิดเองว่าอันไหนดีอันไหนสวย
 
5. Stitch Fix เสื้อผ้าออนไลน์ใส่แล้วเป๊ะ


ภาพจาก bit.ly/2G22hKb
 
ทุกวันนี้มีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เยอะมาก ส่วนใหญ่ก็ขายเสื้อผ้า แต่จะให้ดีและแตกต่างลองดูไอเดียของ Stitch Fix ที่ขายเสื้อผ้าออนไลน์เช่นกัน แต่ไอเดียสุดยอดกว่าคือจะจัดส่งเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ตรงตามบุคลิกของลูกค้าไปให้เลือก โดยลูกค้าจ่าย 20 ดอลลาร์เมื่อได้สินค้ามาแล้ว ลูกค้ามีเวลาลอง 3 วัน หากตัดสินใจซื้อทั้ง 5 ชิ้นเลย บริษัทมีส่วนลดให้ 25% 
 
แต่หากไม่ชอบเลยสักชุด ก็พับเก็บใส่กล่องที่บริษัทเตรียมไว้ให้แล้วส่งไปรษณีย์คืนมาได้ แต่ไม่ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ทุกครั้งที่มีการใช้งาน จะคิดค่าบริการครั้งละ 20 เหรียญ ซึ่งปัจจุบัน Stitch Fix มีลูกค้าที่ใช้บริการราว 2.5 ล้านคน แถมยังเป็นบริษัทที่เข้าตลาดหุ้นอีกด้วย
 
6. ชานมไข่มุก “กระป๋อง”


ภาพจาก bit.ly/33Xbmfb
 
เรียกว่าเป็นไอเดียที่ต่อยอดจากชานมไข่มุกใส่แก้วมาบรรจุกระป๋องให้ดูทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้นที่สำคัญสะดวกสบายในการพกพา ซึ่งมีหลายแบรนด์ที่เคยเปิดตัวสินค้าแนวนี้ เช่น CUBES , UP CHA หรือจะเป็น ฉุนช่วย เฮ้อ จากไต้หวัน ซึ่งแบรนด์เหล่านี้ชูจุดเด่นบรรจุภัณฑ์แบบกระป๋องที่ดูแล้วน่าสนใจ ซึ่งแพคเกจของแต่ละแบรนด์ก็ดีไซน์น่ารัก น่าใช้งานแตกต่างกันไป สำหรับคนที่ทำธุรกิจชานมไข่มุกน่าจะใช้แนวคิดนี้ในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของตัวเองได้มากขึ้น
 
7. Telecube ตู้ทำงานได้ทุกที่


ภาพจาก bit.ly/308ixzZ
 
ทุกวันนี้เราทุกคนต่างเร่งรีบแต่บางทีรีบแค่ไหนก็ยังไม่ทันกับเวลาเข้างาน ไอเดียนี้ถ้าบริษัทไหนสนใจจะเอาไปทำเป็นธุรกิจตัวเองก็ถือว่าน่าสนใจ เป็นตัวอย่างของตู้ Telecube ที่ให้บริการในญี่ปุ่น โดยเจ้าตู้ที่ว่านี้เป็นเสมือนห้องทำงานขนาดเล็กบนพื้นที่ 1.2 ตารางเมตร พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย เก้าอี้, โต๊ะทำงาน และที่ชาร์จไฟ เป้าหมายคือให้คนที่สนใจได้เข้าไปใช้งานเพื่อจะได้ทำงานที่เร่งรีบได้ทันที โดยผู้ผลิตในญี่ปุ่นมีแผนจะสร้างตู้ทำงานนี้ให้ได้ 1,000 ตู้ภายในปี 2023
 
8. The Spice & Tea Exchange


ภาพจาก bit.ly/3ctvuJI
 
การทำแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศมักจะเน้นไปที่อาหาร เครื่องดื่ม เป็นหลักแต่แฟรนไชส์น่าสนใจอันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการคิดนอกกรอบที่แตกต่างโดยเป็นแฟรนไชส์ร้านแลกเปลี่ยนเครื่องเทศและชา (The Spice & Tea Exchange) ที่เริ่มต้นในปี 2551 และพยายามเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มชาพิเศษ โดยมีเกลือ น้ำตาล และเครื่องเทศ เป็นรายการเฉพาะที่พวกเขามี


ภาพจาก bit.ly/333RXdr
 
โดยโมเดลธุรกิจของพวกเขานั้นเลียนแบบการ Trading Post ของศตวรรษที่ 18 ปัจจุบันมีร้านค้ากว่า 50 ร้านที่มีมากที่สุดบนชายฝั่งตะวันออก ซึ่งหากใครสนใจแฟรนไชส์ ทางสำนักงานใหญ่ก็มุ่งมั่นและยินดีที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง 
 
9. TRIPORTEUR CARGO


ภาพจาก bit.ly/3kLqF1b
 
ปัจจุบันเรามีสินค้าขายด้วยรถเข็นจำนวนมาก แต่ปัญหาของรถเข็นคือเคลื่อนที่ช้า หากจะมีใครสักคนคิดพัฒนารถเข็นให้ทันสมัยมากขึ้นเชื่อว่าจะต่อยอดเป็นธุรกิจที่ดีได้ โดยตัวอย่างเป็น การออกแบบรถขายสินค้าที่เรียกว่า TRIPORTEUR CARGO ซึ่งก็มีหลากหลายรูปแบบตามแต่ที่จะมีคนจ้างผลิต
 
จุดเด่นที่น่าสนใจคือจักรยานในระบบไฟฟ้าใช้แบตเตอรี่ 2 ตัว ให้สามารถใช้งานได้นานติดต่อกันกว่า 5 ชั่วโมง รวมถึงมีน้ำหนักเบา สามารถขี่ได้ง่าย ด้วยดีไซน์ที่ดูโดดเด่นและสวยงาม ใครเห็นเป็นต้องอยากซื้อสินค้า แม้ต้นทุนการผลิตจะค่อนข้างเยอะแต่ก็ถือว่าคุ้มค่าและสามารถใช้สร้างรายได้ในระยะยาว เป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาสินค้ารถเข็นให้มีความทันสมัยและไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบเดิมๆ อีกต่อไป
 
10. Sigmund's Pretzels


ภาพจาก bit.ly/364zSO3
 
เป็นการออกแบบรถเข็นสำหรับร้านขนมหวาน โดยเน้นสีสันให้น่าสนใจ และเห็นเป็นต้องรู้สึกอยากซื้อขนม ซึ่งเป็นแนวคิดในการใช้สี ใช้การออกแบบตัวรถที่มีผลต่อความคิดในการตัดสินใจซื้อ นี่คือผลงานที่คลาสสิคถึงขนาดที่มีหลายร้านใน Times Square ของอเมริกาซื้อรูปแบบรถเข็นนี้ไปตั้งไว้ในร้าน อันเป็นการการันตีความเป็นสุดยอดแนวคิด ซึ่งในวงการแฟรนไชส์เมืองไทยหากมีแบรนด์ใดที่จะลองคิดนอกกรอบดีไซน์รถขายขนม ขายอาหาร โดยใช้โทนสีและการออกแบบให้ดึงดูดใจลูกค้า ก็น่าจะเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้น
 
ข้อมูลเหล่านี้เป็นการยกตัวอย่างเบื้องต้น บางไอเดีย บางธุรกิจก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่สาระสำคัญคือต้องการชี้ให้เห็นแนวทางว่าเราสามารถทำในสิ่งที่แตกต่างได้ โดยอาจใช้แนวคิดเหล่านี้มาพัฒนาต่อเนื่อง ไอเดียที่ดีต้องไม่ใช่การลอกเลียนแบบแต่คือการคิดให้แตกต่างเพื่อที่จะไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนได้
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://www.thaifranchisecenter.com/document/
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ขอบคุณข้อมูล
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด