บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.9K
2 นาที
30 กันยายน 2563
7 เคล็ดลับจากพนักงานสู่เจ้าของร้านสาขาแฟรนไชส์


 
เชื่อว่ามีหลายคนที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างในร้านแฟรนไชส์หลายแห่ง และมีความฝันว่าสักวันหนึ่งจะต้องเปลี่ยนจากพนักงานในร้านเป็นเจ้าของกิจการร้านสาขาแฟรนไชส์ ซึ่งความฝันนั้นสามารถเป็นจริงได้ หากคุณมีความพร้อมและความมุ่งมั่น
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะบอกเคล็ดลับจากพนักงานสู่การเป็นเถ้าแก่ร้านสาขาแฟรนไชส์ 
 
1. กำหนดแฟรนไชส์อยากซื้อ


ภาพจาก facebook.com/BCOCENTER
 
เมื่อเราอยากเป็นเจ้าของกิจการ เราต้องค้นหาหรือถามตัวเองว่าอยากทำอะไร หรือชอบอะไรเป็นพิเศษ ยิ่งถ้าเรารักในสิ่งที่อยากทำด้วยแล้ว ก็จะทำให้ธุรกิจที่จะทำประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น เพราะเราจะตั้งใจทำอย่างเต็มความสามารถ เช่น ชอบค้าขายก็ซื้อแฟรนไชส์ค้าปลีก ชอบการทำอาหารก็ซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหาร เป็นต้น 
 
2. มองโอกาสของแฟรนไชส์


ภาพจาก bit.ly/3mXfzIq
 
แม้ว่าเราชอบหรืออยากจะทำอะไร แต่ถ้าทำไปแล้วไม่มีลูกค้า ไม่มีคนซื้อ ก็ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้น การที่คิดจะทำธุรกิจอะไร ต้องวิเคราะห์ตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคด้วย ว่าลงทุนวันนี้ แล้วพรุ่งนี้ลูกค้ายังจะซื้อเราอีกไหม หรือธุรกิจที่เราชอบในวันนี้ อีก 1- 2 ปีข้างหน้า ยังจะได้รับความนิยมอยู่หรือไม่ เราต้องมองโอกาสของธุรกิจด้วย 

3. สอบถามลูกค้าเพื่อหาไอเดีย 
 
ก่อนจะลงทุนซื้อแฟรนไชส์นั้นๆ ต้องดูเทรนด์ตลาดและความต้องการของผู้บริโภค อาจทำแบบสอบถามหรือพูดคุยกับลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ โดยตรง หรือสอบถามทางช่องทางออนไลน์ก็ได้ ว่าลูกค้าชอบสินค้าหรือบริการที่เราอยากจะทำหรือไม่ เพื่อเป็นการแนวร่วมเดียวกัน ถ้าสอบถามหลายๆ คนบอกว่าไม่ชอบ เราก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนแฟรนไชส์ก่อนจะลงทุนจริงๆ ได้ทันเวลา 
 
4. เริ่มต้นแฟรนไชส์ขนาดเล็กๆ


ภาพจาก facebook.com/funnyfriesfunnyfries
 
เป็นการทดลองการทำแฟรนไชส์ ว่าจะไปได้หรือไม่ได้ เหมือนเป็นการลองผิดลองถูก ถ้าเจ๊งก็ไม่ต้องเสียเงินงบประมาณจำนวนมาก แต่ถ้าไปรอดหรือได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดและลูกค้า ก็ค่อยๆ ขยับขยายธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ที่สำคัญเหมาะสำหรับช่วงที่เรายังทำงานประจำอยู่ ยังปลีกตัวไปทำเต็มตัวไม่ได้ ต้องทำขนาดเล็กๆ ไปก่อน 
 
5. ประเมินธุรกิจและปรับเปลี่ยน
 
หลังจากที่เราได้ทดลองเริ่มต้นแฟรนไชส์ไปแล้ว พอผ่านไปได้ประมาณเดือนกว่าๆ ก็ลองมาวิเคราะห์ธุรกิจดูว่า ผลการตอบรับจากตลาดและลูกค้าเป็นอย่างไร ยอดขายเพิ่มขึ้นทุกวันหรือไม่ หรือคงที่ หรือยอดขายตก เมื่อเราเห็นภาพก็จะสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที โดยนำเอาข้อเสนอแนะจากลูกค้าหรือเจ้าของแฟรนไชส์มาปรับปรุงให้ตอบโจทย์ลูกค้าจะดีที่สุด 
 
6. สร้างทีมงานบริหารร้าน


ภาพจาก facebook.com/cplusexpress1
 
มาถึงตรงนี้ ถ้าความคิดในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ของเราเป็นไปได้มากที่สุด ผลการตอบรับจากช่วงทดลองทำการตลาด ได้รับผลการตอบรับดี ต่อไปเราต้องคิดว่าถ้าเราออกจากงาน เพื่อมาทำธุรกิจของเราเต็มเวลา เราจำเป็นต้องทีมงาน เพื่อบริหารจัดการร้าน หากขยายสาขาเพิ่มอีกเพราะขายดี ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง ผู้จัดการ ผู้จัดซื้อ การเงิน ฝ่ายบริการลูกค้า เป็นต้น 
 
7. การหาแหล่งเงินทุนเพิ่มสาขา


ภาพจาก facebook.com/crepesaday
 
หากเราคิดจะทำแฟรนไชส์ขนาดเล็ก เราอาจใช้เงินเก็บจากการทำงานประจำมาใช้จ่ายช่วง 1- 2 เดือนแรกก่อนก็ได้ หากมีเงินเก็บจำนวนมาก แต่ถ้าอยากเพิ่มจำนวนสาขาแฟรนไชส์อีกในพื้นที่หนึ่ง เพราะมีตลาดและลูกค้ารองรับอยู่แล้ว ก็อาจจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนที่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ รวมถึงแหล่งเงินทุนจากญาติพี่น้อง 
 
ซึ่งปัจจุบันหลายแฟรนไชส์ร่วมกับธนาคารมาปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ผ่านการคัดเลือกจากเจ้าของแฟรนไชส์ หากเรามีสาขาแฟรนไชส์มาก่อนแล้ว 1-2 สาขา ยิ่งจะสามารถขอสินเชื่อกับทางธนาคารได้ง่ายขึ้น 
 
ทั้งหมดเป็นเคล็ดลับในการก้าวไปสู่ในการเป็นเจ้าของร้านสาขาแฟรนไชส์ หรือการเป็นนายตัวเอง ในขณะที่เรายังเป็นลูกจ้างอยู่ ซึ่งถือเป็นแนวทางที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กันมาก เพราะการวางแผนเป็นเจ้าของกิจการตั้งแต่งเรายังทำงานประจำ จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลาออกจากงานมาเริ่มต้นธุรกิจเลย อย่างน้อยเราก็มีเงินทุนหมุนเวียนในขณะที่เราเริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ อยู่
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id:
 @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 

Franchise Tips
  1. กำหนดแฟรนไชส์อยากซื้อ
  2. มองโอกาสของแฟรนไชส์
  3. สอบถามลูกค้าเพื่อหาไอเดีย
  4. เริ่มต้นแฟรนไชส์ขนาดเล็กๆ
  5. ประเมินธุรกิจและปรับเปลี่ยน
  6. สร้างทีมงานบริหารร้าน
  7. การหาแหล่งเงินทุนเพิ่มสาขา
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,257
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,469
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,238
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,268
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,227
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด