บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.1K
2 นาที
6 ตุลาคม 2563
ซื้อแฟรนไชส์ควรเป็น “นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา”


 
ปัจจุบันผู้ซื้อแฟรนไชส์มีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่รู้หรือไม่ว่าทั้งสองมีความแตกต่างกัน และผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจดทะเบียนนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ


ภาพจาก facebook.com/ufofishball
 
การเริ่มต้นธุรกิจในปัจจุบัน ทั้งสร้างธุรกิจเอง และซื้อแฟรนไชส์ สามารถเริ้มต้นได้ 2 รูปแบบ คือ บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล การทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา คือ การใช้ชื่อเจ้าของกิจการเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องการทำนิติกรรมสัญญา หรือการชำระภาษีเงินได้ประจำปี เป็นการดำเนินการในชื่อเจ้าของกิจการ และควรจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย เพื่อเปิดเผยธุรกิจให้ถูกต้อง มีสถานที่ประกอบกิจการชัดเจน เป็นธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย ขั้นตอนไม่ยุ่งยากเท่าการเป็นนิติบุคคล
 
ส่วนใหญ่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ดำเนินการแบบบุคคลธรรมดาจะนิยมซื้อแฟรนไชส์แบบสร้างอาชีพ ค้าขาย รูปแบบคีออสและรถเข็น เงินลงทุนแฟรนไชส์ไม่สูงมาก เช่น ชา กาแฟ ก๋วยเตี๋ยว ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด เป็นต้น 


ภาพจาก facebook.com/overheatsmoothie
 
ส่วนการทำธุรกิจแบบนิติบุคคล คือ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่ตกลงทำกิจการร่วมกัน เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญแบบจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สิ่งที่ผู้ประกอบการ นักธุรกิจรุ่นใหม่จำเป็นจะต้องรู้และทำความเข้าใจ โดยจุดที่แตกต่างกันของบุคคลธรรมดา คือ ไม่ต้องจัดทำบัญชี การคิดคำนวณภาษี 
 
แต่นิติบุคคลจะต้องจัดทำบัญชี จัดทำงบการเงินโดยมีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ จำกัดความรับผิดชอบภาระหนี้สินที่เกิดขึ้น มีความน่าเชื่อถือ เสียภาษีน้อยกว่า อีกทั้งยังได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกด้วย 


ภาพจาก bit.ly/2SxqVot
 
ที่สำคัญการเป็นนิติบุคคลจะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่บริษัทแฟรนไชส์ใหญ่ๆ หรือแบรนด์ดังๆ ใช้ในการพิจารณาให้สิทธิแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย แม้ว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมีเงินลงทุนมากมาย แต่ถ้าไม่เป็นนิติบุคคลก็จะไม่ได้รับการพิจารณา เพราะบริษัทแม่แฟรนไชส์ใหญ่ๆ จะให้ความสำคัญในเรื่องความน่าเชื่อถือของผู้ซื้อแฟรนไชส์ หากเป็นนิติบุคคลจะมีความน่าเชื่อถือกว่า ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ที่พิจารณาผู้ซื้อแฟรนไชส์ในนามนิติบุคคล เช่น คาเฟ่อเมซอน เคเอฟซี แมคโดนัลด์ เชสเตอร์ เป็นต้น  
 
จะเห็นได้ว่าระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานแฟรนไชส์ เพราะผู้ที่เป็นแฟรนไชส์ซีจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโต


ภาพจาก facebook.com/chesterthai

ดังนั้น หากใครที่คิดจะลงทุนแฟรนไชส์ ไม่ใช่ว่ามีเงินทุนอย่างเดียว ก็สามารถเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ได้ เพราะเจ้าของแฟรนไชส์จะมีหลักเกณฑ์พิจาณาผู้ลงทุนแฟรนไชส์อย่างละเอียด และเข้มข้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับแบรนด์แฟรนไชส์ของพวกเขา หากเลือกนักลงทุนไม่ดี ไม่ตั้งใจบริหารธุรกิจ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อแบรนด์แฟรนไชส์ในภายหลังได้
 
สรุปก็คือ หากใครซื้อแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ลงทุนต่ำ ให้ทำในนามบุคคลธรรมดาก็พอ แต่ถ้าซื้อแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ลงทุนสูง ควรเป็นนิติบุคคล เพราะจะมีความน่าเชื่อถือในเรื่องของการจัดทำบัญชี จัดทำงบการเงิน 

#ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้รวบรวมธุรกิจ #แฟรนไชส์ แยกตามหมวดหมู่ ดังนี้ (ใครสนใจแฟรนไชส์กลุ่มไหน คลิกเข้าไปเลือก เพื่อขอข้อมูลการลงทุนได้ทันที!)
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,566
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,301
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด