บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
2.0K
2 นาที
8 ตุลาคม 2563
ถอดรหัสแฟรนไชส์ไทย ยุค Next Normal 


การระบาดของโควิค-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดผลกระทบในวงกว้างไปทั่วโลก ทำให้ทุกคนถูกผลักเข้าสู่ยุค “New Normal” หรือ วิถีชีวิตความปกติใหม่ไปโดยปริยาย พฤติกรรมของผู้บริโภคสินค้าเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำงาน ไปจนถึงการดูแลชีวิตและสุขภาพ ขณะที่ธุรกิจก็ปรับตัวเข้าสู่ยุค New Normal ร้านอาหารให้บริการลูกค้าซื้อกลับบ้านหรือเดลิเวอรี่ พนักงานสวมหน้ากาก ทำความสะอาดทุกๆ ชั่วโมง เพื่อรักษายอดขายให้อยู่รอด  
 
เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนจากโควิด-19 “วิถีของธุรกิจในยุคใหม่” หรือ “Next Normal” จึงเปลี่ยนเพื่อก้าวต่อไป ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำเพื่อให้องค์กรอยู่รอด คือ ต้องวิ่งให้ทันความต้องการใหม่ให้รวดเร็วหลายเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่หลายๆ คนต้องตกงาน ว่างงาน จากวิกฤติโควิด-19 
 
ภาพจาก bit.ly/3nvUHIs
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นหนึ่งในโมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์คนตกงานได้ดี เนื่องจากสามารถสร้างอาชีพให้กับประชาชนหลังวิกฤติโควิด-19 เพราะเป็นธุรกิจที่ลงทุนง่าย ผู้ลงทุนไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ เพียงแค่ปฏิบัติตามระบบที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนดเอาไว้ ก็สามารถเปิดร้านขายได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาสร้างแบรนด์ ทำการตลาด เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ หรือ “แฟรนไชส์ซอร์” ได้ออกแบบระบบที่มีมาตรฐาน และจัดทำคู่มือให้ผู้ลงทุนปฏิบัติตามอย่างง่ายดาย
 
ดังนั้น “วิถีของธุรกิจแฟรนไชส์ในยุคใหม่” หรือ “Next Normal” ผู้ประกอบการธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการจะเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจมาสู่ระบบแฟรนไชส์มากขึ้น ธุรกิจจะถูกออกแบบมาให้เข้ากับสถานการณ์ยุคใหม่ จะเห็นได้ว่าในขณะนี้แบรนด์ร้านอาหารใหญ่ๆ ใช้วิธีการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ เพราะเพิ่มจำนวนสาขาได้รวดเร็ว ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลงทุน 

ภาพจาก bit.ly/36Jvkgk
 
ยกตัวอย่างกรณี บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ซึ่งดำเนินกิจการด้านอาหารมา 42 ปี ก็เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจเตรียมเปิดขายแฟรนไชส์แบรนด์ “อร่อยดี” ร้านอาหารไทยจานด่วน ตั้งเป้า 5 ปี ขยายสาขา 300 แห่ง แบ่งเป็น CRG 75 แห่ง แฟรนไชส์ 225 แห่งทั่วประเทศ ถือเป็นการลดความเสี่ยงในการลงทุนขยายสาขาด้วยเงินทุนของตัวเอง 

ภาพจาก bit.ly/2SyzGil
 
แม้แต่ บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เจ้าของร้านบาร์บีคิวพลาซ่า ที่ได้เผชิญมรสุมลูกใหญ่จากวิกฤติโควิด-19 บริษัทจำต้องปิดร้านอาหารชั่วคราวในเครือไป 150 สาขาจากกว่า 180 สาขา วิกฤตที่เกิดขึ้นเร่งให้ฟู้ดแพชชั่นจำเป็นต้องปรับตัวกระจายรูปแบบธุรกิจให้หลากหลายอย่างเร่งด่วน ด้วยการปั้นแบรนด์ “หมูทอดกอดคอ” ช่วยกระจายธุรกิจไปสู่โมเดลที่แตกต่าง จับตลาดราคาประหยัดที่ทุกคนต้องกินต้องใช้เข้ากับยุคเศรษฐกิจฝืด

และเป็นครั้งแรกที่บริษัทเปิดโมเดลร้านแบบ “แฟรนไชส์” ภายในประเทศ เพื่อตอบโจทย์ประชาชนที่อยากมีอาชีพและรายได้ ส่วนบริษัทได้ขายวัตถุดิบโดยลดความเสี่ยงการลงทุนอีกทาง โดยไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม 4 อย่าง ได้แก่ ค่าแฟรนไชส์แรกเข้า ค่า Royalty Fee ค่าใช้จ่ายในการอบรม และค่าทำการตลาด
 
ภาพจาก bit.ly/2SyzGil
 
บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารหลายแบรนด์ เมื่อเปิดร้านขนาดใหญ่ไม่ได้ ก็เปิดร้านไซส์เล็กๆ เพื่อลดต้นทุน ด้วยการปั้นแบรนด์ตรีทฟู้ดน้องใหม่ของเครืออย่าง “ร้านเขียง” ร้านอาหารไทยตามสั่ง เปิดขายแฟรนไชส์โดยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 9 สาขา สิ้นไตรมาส 2 จะเปิดร้านเขียงได้ทั้งสิ้น 17 สาขา โดยรวมแล้วคาดว่าปีนี้จะเปิดร้านเขียงและตำมั่วเพิ่มรวมกันราว 80 สาขา

ภาพจาก bit.ly/30JtCYM
 
นอกจากนี้ วิถีของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยุคใหม่ หรือ Next Normal ที่จะเห็นมากขึ้น ก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์จะย้ายจากในห้างสู่นอกห้างมากขึ้น เห็นได้จากก่อนการระบาดโควิด-19 ในไทย แฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะเลือกทำเลในห้างสรรพสินค้าดำเนินธุรกิจ แต่พอเกิดโควิด-19 ธุรกิจแฟรนไชส์ในห้างได้รับผลกระทบเต็มๆ ปิดสาขาจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนไม่เดินห้างแต่หันไปช้อปออนไลน์ หรือเดลิเวอรี่แทน ดังนั้น ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ต่างๆ จำเป็นต้องมองทำเลนอกข้าง เช่น ตลาด ปั้ม เพราะอย่างน้อยหากเกิดการระบาดโควิด-19 อีกครั้ง อาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่ห้างปิดให้บริการ 
 
สรุปก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ในยุค Next Normal รูปแบบของธุรกิจจะมีขนาดไซส์เล็กลง ใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก ใช้พนักงานจำนวนน้อย สามารถเปิดร้านได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะแฟรนไชส์ในรูปแบบคีออส หรือ ซุ้มร้านค้าที่ใช้พื้นที่น้อย เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป จากการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ผู้คนนิยมซื้อสินค้ากลับบ้านแทนการนั่งในร้าน โดยทำเลที่ตั้งส่วนใหญ่จะอยู่ในแหล่งชุมชน ตลาดนัดทั่วไป ปั้มน้ำมัน เพราะทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อของได้สะดวก 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 

 
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,086
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,380
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,893
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด