บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.6K
2 นาที
19 กรกฎาคม 2556
4 ทางเลือก เมื่อธุรกิจเริ่มวิกฤติ


ที่เกริ่นแบบนี้ เพราะทุกธุรกิจที่ทำไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ อย่างน้อยจะต้องเผชิญวิกฤติของธุรกิจเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3-5 ครั้ง โดย 1-2 ครั้งแรกๆ จะเป็นวิกฤติในช่วงเริ่มต้นก่อตั้งอีก 1-2 ครั้ง จะพบวิกฤติในช่วงขยายตัวและครั้งสุดท้ายจะพบวิกฤติ ในช่วงที่คิดว่าทุกอย่างลงตัวและไม่มีอะไรน่ากลัวอีกต่อไป

 
ประเด็นหลักก็คือ…ทุกองค์กร ทุกธุรกิจ ต้องพบวิกฤติตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงอนาคต วิธีรับมือกับวิกฤติจึงเป็นทั้ง “ปัจจัยทำลาย” ให้องค์กรล่มสลาย และเป็นทั้ง “ปัจจัยเสริมความแข็งแกร่ง”ให้ธุรกิจเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
 
แต่ส่วนมากเจ้าของธุรกิจหรือผู้นำในแต่ละองค์กร มักจะปล่อยให้วิกฤติแต่ละครั้งเป็น “ปัจจัยทำลาย” มากกว่า เพราะวิธีรับมือกับวิกฤติเรียงจากง่ายไปหายาก จนถึงยากสุดๆ ดังนี้
 
1.ยอมรับชะตากรรม วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และเป็นวิธีที่เสริม ”ปัจจัยทำลาย” ให้มีอานุภาพที่สุดเช่นกัน เพราะคิดว่าไม่มีหนทางใดที่จะสู้อีกต่อไปแล้ว โดยลืมวิธีคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และขาดซึ่งกำลังใจที่จะต่อสู้ ก็ต้องจากไป
 
2.นิ่ง วิธีนี้ดูเหมือนดี แต่ส่วนมากมักจะนิ่งแบบรอคอยโอกาส โดยลืมคิดไปว่า “โอกาสที่ดีที่สุด และส่งผลบวกมากที่สุด เป็นโอกาสที่เกิดจากการสร้าง ไม่ใช่เกิดจากการรอคอย” ถึงแม้การสร้างโอกาสจะมีความเสี่ยงมากกว่าการรอคอยโอกาส แต่การสร้างโอกาสอย่างมีกลยุทธ์ มักจะส่งผลดีกว่าการรอคอย…ซึ่งมักจะช้าเกินไป เพราะนิ่งอยู่นานจนสนิมเกาะ และค่อยๆ กลายสภาพจากความนิ่งเป็นความขลาดกลัว
 
3.สู้ตาย วิธีการนี้ส่วนมากเป็นการสู้แบบบ้าระห่ำ เป็นวิธีคิดแบบไม่มีอะไรจะเสียแล้ว และสุดท้ายก็ไม่เหลืออะไรให้เสียจริงๆ เพราะสู้จนหมดเนื้อหมดตัวแถมด้วยหนี้สินอีกมหาศาลที่กู้มาสู้ การสู้ตายมักเป็นวิธีการของคนที่ “ใจใหญ่กว่าสมอง” คือ เน้นความสะใจแต่ลืมคิดว่าจะต้องเสียใจ
 
4.สู้…แบบมีกลยุทธ์ วิธีนี้ยากที่สุด เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจ ที่หลายๆ ธุรกิจ เลือกวิธีการนี้เป็นวิธีการสุดท้าย และไม่ต้องแปลกใจที่ธุรกิจ-องค์กรที่ประสบความสำเร็จ และเป็นผู้นำ มักจะใช้วิธีนี้เป็นทางเลือกแรก และไม่มีทางที่จะใช้วิธีการแรกคือยอมรับชะตากรรม และไม่ยอมเสียโอกาสโดยใช้วิธีการที่สอง คือนิ่ง รวมทั้งไม่บ้าระห่ำพอที่จะใช้วิธีที่สาม คือสู้ตาย
 
จะว่าไปแล้ว ก็น่าเห็นใจและพอจะเข้าใจหลายๆ ธุรกิจที่เลือกใช้วิธียอมรับชะตากรรม ไปจนถึงวิธีการนิ่ง และทางเลือกสุดท้ายคือสู้ตาย แต่ในทางกลับกันวิกฤติที่ทุกองค์กรไม่ว่าองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ต่างก็ได้รับวิกฤติที่หนักหนาสาหัสกันไปตามแต่วาระและโอกาสกันถ้วนหน้าไม่มีข้อยกเว้น
 
เพียงแต่ว่า “ความอึดและความสร้างสรรค์” ที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละองค์กรเลือกใช้วิธีการรับมือที่แตกต่างกัน และใช้วิกฤติที่พบเป็น “ปัจจัยเสริมความแข็งแกร่ง” โดยไม่ยอมให้วิกฤติที่พบกลายสภาพเป็น “ปัจจัยทำลาย”
 
ในอนาคตอันใกล้…(ที่จริงเริ่มเกิดขึ้นมาโดยยังไม่เป็นข่าวมากนัก) หลายๆ ธุรกิจจะต้องพบกับภาวะวิกฤติ เพียงแต่ระดับของวิกฤติจะมากหรือน้อย ไม่มีใครคาดเดาได้ แต่องค์กรที่ขาดภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่ง เมื่อเผชิญวิกฤติ สัญชาตญาณก็จะทำให้เกิดการช็อก และหลังจากนั้น ส่วนมากก็จะยอมรับชะตากรรมและความพ่ายแพ้
 
คงไม่เป็นการเสียเวลาหรือไม่ใช่คิดในแง่ร้าย ถ้าแต่ละองค์กรจะเริ่มเตรียม เริ่มฝึกซ้อม หรือแม้กระทั่งเริ่มสร้างวิธีรับมือ โดยมุ่งเน้นไปที่วิธีการที่สี่เป็นวิธีแรกและวิธีเดียว คือ “สู้แบบมีกลยุทธ์” เมื่อถึงสถานการณ์ที่ต้องพบวิกฤติจริงๆ ก็จะรับมือวิกฤติด้วยกลยุทธ์ และถ้าโชคดีไม่พบวิกฤติ กลยุทธ์ที่คิด ที่ฝึก ที่ซ้อม ที่เตรียมไว้ จะกลายเป็นกลยุทธ์สำรองที่นำมาพลิกแพลงและปรับใช้ได้ในทุกสถานการณ์
 
สัจธรรมก็คือ ถ้าไม่เตรียมตั้งแต่วันนี้ เมื่อเผชิญวิกฤติก็จะเหลือทางเลือกที่ไม่ค่อยสร้างสรรค์ คือ ยอมแพ้ นิ่ง และสู้ตายจนตาย

อ้าวอิงจาก  KSMECare
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,008
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,487
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,634
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,573
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด