บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.3K
2 นาที
15 ธันวาคม 2563
ทำไมเจ้าของแฟรนไชส์ ควรขายแฟรนไชส์เอง
 

การขายแฟรนไชส์ คือ การขายความสำเร็จที่เจ้าของแฟรนไชส์ได้วางระบบเอาไว้เรียบร้อย ซึ่งความสำเร็จที่กล่าวถึงนั้น เจ้าของแฟรนส์ไชส์น่าจะเป็นคนที่รู้ลึก รู้จริงมากที่สุด เนื่องจากได้ผ่านการเรียนรู้ ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้วด้วยตัวเอง แม้ว่าจะมีทีมงานที่แข็งแกร่งในการขาย แต่เมื่อเทียบกับความรู้และประสบการณ์ที่เจ้าของแฟรนไชส์มี ไม่อาจเทียบกันได้เลย
 
ที่สำคัญระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จได้ ส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบธุรกิจ เพราะผู้ที่เป็นแฟรนไชส์ซีจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโต
 

ดังนั้น เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชส์ซอร์ จึงไม่ควรที่จะบุ่มบ่ามรีบรับใครเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแฟรนไชส์ เพียงเพราะเห็นว่าเขาจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์มาเป็นเงินก้อน ต้องทำการศึกษาและคัดเลือกแฟรนไชส์ซีด้วยตนเองหรือทีมงานอย่างชาญฉลาด
 
แล้วทำไมเจ้าของแฟรนไชส์ จึงต้องขายแฟรนไชส์ และคัดเลือกแฟรนไชส์ซีเอง วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลจะมานำเสนอให้เจ้าของแฟรนไชส์ทุกท่านได้ทราบ ถึงข้อดีของการขายแฟรนไชส์ และคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์เอง 
 
1.ต้องดูผู้ซื้อแฟรนไชส์มีความเป็นเจ้าของธุรกิจหรือไม่ 
 

ผู้ที่จะมาซื้อแฟรนไชส์ของคุณจะต้องมีความเป็นเจ้าของธุรกิจ เหมือนกันเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ทุกอย่าง แม้ว่าแฟรนไชส์จะเป็นการซื้อความสำเร็จของธุรกิจนั้นๆ ก็ตาม ซึ่งความเป็นเจ้าของธุรกิจ จะต้องการทำธุรกิจนั้นมีหลายรูปแบบหรือพื้นเดิม งานเดิมที่เคยทำ เช่น ถ้าเป็นลูกจ้าง ทำงานบริษัทมาตลอดชีวิต แต่ต้องการทำธุรกิจของตัวเองด้วยการซื้อแฟรนไชส์เพื่อรายได้เสริม
 
ตรงนี้ เจ้าของแฟรนไชส์ต้องถามถึงความมุ่งมั่นของผู้ซื้อแฟรนไชส์ว่า จะจริงจังกับธุรกิจนี้มากน้อยแค่ไหน เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องลงทั้งทุนและเวลา หากไม่พร้อม การที่จะประสบความสำเร็จก็ยากหน่อย แต่หากเป็นคนที่มีใจ มีความเป็นเจ้าของธุรกิจอยู่แล้ว การร่วมทำธุรกิจก็ง่ายขึ้น

ที่สำคัญเจ้าของแฟรนไชส์ต้องดูว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์เขียนแผนธุรกิจเป็นหรือไม่ วางเป้าหมายการดำเนินธุรกิจไว้อย่างไรบ้าง เนื่องจากแผนธุรกิจที่ดีจะช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จได้ง่าย เนื่องจากเป็นคนที่ริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องมีเจ้านายมาคอยสั่งการ สิ่งเหล่านี้สัมผัสได้จากการพูดคุยของเจ้าของแฟรนไชส์เอง 
 
2.การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์เปรียบเสมือนเลือกคู่สมรส
 

การขายแฟรนไชส์เปรียบเสมือนการหา “คู่แต่งงาน” ที่เจ้าของแฟรนไชส์จำเป็นต้องค้นหาและคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วยตัวเอง เนื่องจากแฟรนไชส์ซีจะเป็นเหมือนคู่ครอง หรือภรรยา ที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันไปกับแฟรนไชส์ซอร์ เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องคัดเลือกคู่ครองที่รู้ใจซึ่งกันและกัน ไว้เนื้อเชื่อใจกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน และมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ต้องมีการพูดคุยกันโดยตรง
 
สำหรับการเลือกแฟรนไชส์ซีที่ดีนั้น เจ้าของแฟรนไชส์ควรที่จะคัดเลือกที่ตัวบุคคลเป็นหลัก ไม่ใช่เลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์จากเหตุผลที่มีเงินลงทุนมาก หรือมีที่ทำเลที่ตั้งเท่านั้น ควรที่จะตรวจสอบคุณสมบัติของแฟรนไชส์ซีว่า มีความเหมาะสมกับธุรกิจนั้นหรือไม่ มีความตั้งใจจริงที่จะประกอบธุรกิจอย่างเต็มที่ และมีความรู้ความสามารถ มีนิสัยเข้ากับเจ้าของแฟรนไชส์ได้หรือไม่เสียก่อน 
 
เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเริ่มจากการพบปะพูดคุยกันก่อนว่า ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีนิสัยไปกันได้หรือไม่ มีความตั้งใจที่ทำจริงแค่ไหน ตรงต่อเวลานัดหรือไม่ มีความรู้ความสามารถที่จะทำธุรกิจมากน้อยแค่ไหน มีเวลา เงินทุนพอหรือเปล่า ทำเลที่ตั้งเหมาะสมแค่ไหน ต่อจากนั้นเจ้าของแฟรนไชส์จึงค่อยพิจารณาในเรื่องเงินลงทุน หรือเลือกทำเลภายหลัง

เนื่องจากระบบแฟรนไชส์จะต้องมีภาระผูกพันทำงานร่วมกันเป็นเวลา 3-10 ปีขึ้นไป ถ้าไม่เลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีความเข้าใจกัน มักไปไม่ค่อยรอด เหมือนกับที่คู่แต่งงานหลายๆ คู่ต้องเลิกกัน อย่าร้างกัน เพราะไม่เข้าใจ ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน จนทะเลาะตบตีกัน จึงไปด้วยกันไม่ได้ 

3.เจ้าของแฟรนไชส์จะรู้ลึกเรื่องค่าใช้จ่ายและเงินทุนดำเนินธุรกิจ 
 

ทำไมเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องหายแฟรนไชส์เอง เนื่องจากการทำเปิดสาขาแฟรนไชส์ต่างๆ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องใช้เงินทุนจำนวนหนึ่งในการดำเนินงาน ดังนั้น แฟรนไชส์ซอร์จะต้องคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินธุรกิจ ทั้งเงินทุนเปิดร้าน เงินทุนหมุนเวียน หรือเจ้าของแฟรนไชส์อาจจัดหาแหล่งเงินทุนให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็ได้ 
 
โดยค่าใช้จ่ายที่แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายในการเปิดร้านแฟรนไชส์ อาทิ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าสิทธิต่อเนื่อง (รายเดือน-รายปี) ค่าวัตถุดิบ ค่าตกแต่งร้าน ค่าอุปกรณ์ ค่าอบรม ค่าเช่า ค่าพนักงาน เป็นต้น ที่สำคัญต้องมีเงินทุนหมุนเวียน 3-4 เดือนหลังเปิดร้าน

ดังนั้น เจ้าของแฟรนไชส์จึงจำเป็นต้องบอกรายละเอียดค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์เอง หรือทีมงานที่ได้รับการฝึกอบรมจนรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์มาอย่างลึกซึ้ง สามารถทำงานแทนเจ้าของแฟรนไชส์ตัวจริงได้อย่างมีคุณภาพ 
 
ได้เห็นเหตุผลกันแล้วว่า ทำไม? เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องขายและคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วยตัวเอง เนื่องจากการขายแฟรนไชส์เปรียบเสมือนการคัดเลือกภรรยาหรือคู่ครองที่จะมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้น เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องทำการศึกษา พูดคุย เพื่อดูใจของผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วยตัวเอง ว่าสามารถจับมือเดินไปด้วยกันตลอดรอดฝั่งหรือไม่ 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 

Franchise Tips
  1. ต้องดูผู้ซื้อแฟรนไชส์มีความเป็นเจ้าของธุรกิจหรือไม่ 
  2. การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์เปรียบเสมือนเลือกคู่สมรส
  3. เจ้าของแฟรนไชส์จะรู้ลึกเรื่องค่าใช้จ่ายและเงินทุนดำเนินธุรกิจ 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,099
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,412
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,893
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด