บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
3.6K
3 นาที
9 ธันวาคม 2556
การเตรียมตัวของธุรกิจ SMEs เพื่อเข้าสู่ AEC
 
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถแบ่งกลุ่มใหญ่ได้คือ
  1. ประเทศกลุ่มมุสลิม ได้แก่ อินโดนีเชีย บรูไน และมาเลเชีย
  2. ประเทศกลุ่มเชื้อสายจีน ได้แก่ เวียดนาม สิงค์โปร์ และมาเลเชียบางส่วน ประเทศเหล่านี้จะใช้ภาษาจีนเป็นหลัก ติดต่อค้าขายโดยใช้ภาษาจีน
  3. ประเทศกลุ่มศาสนาพุทธ ได้แก่ พม่า กัมพูชา ลาว และไทย ในกลุ่มนี้ประเทศไทยจะมีความได้เปรียบทางวัฒนธรรม เป็นผู้นำแฟชั่น เห็นได้จากอิทธิพลในเรื่องต่าง ๆ เช่น ฟังเพลงไทย ดูดาราไทยบริโภคสินค้าที่มาจากไทย ยกตัวอย่างประเทศลาวที่บริโภคสินค้าที่มาจากไทยถึง 96% ฉะนั้นประเทศในกลุ่มนี้จะมองประเทศไทยเป็นเหมือน " Idol " ส่งผลต่อกระบวนการและวิธีการคิดของคนในการดำเนินชีวิต
การสร้างและขยายธุรกิจเมื่อเปิดตลาด AEC
การค้าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการ เมื่อก่อนลักษณะการค้าเป็นแบบประเทศต่อประเทศ หรือที่เรียกว่า " I & E ( Import & Export ) " แต่ภายหลังมีการเชื่อมโยงกันเป็น Free Trade Zone การเชื่อมระหว่างคน เงินทุน การปลอดภาษี ทำให้รูปแบบการจัดจำหน่ายจากเดิมมีกระบวนการแค่นำเข้าและส่งออกหรือที่เรียกว่า " Market Disruption " คือการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายในลักษณะของการตั้งตัวแทน แต่เมื่อช่องทางต่าง ๆ เปิดมากขึ้น การทำธุรกิจแบบส่งออกหรือการตั้งดีลเลอร์ตั้งตัวแทนจำหน่ายกลับลดน้อยลง จึงต้องเชื่อมไปถึงการผลิต หรือการหา " Marketing Network "
การเข้าถึงตลาดของ AEC สิ่งที่นักธุรกิจ หรือนักลงทุนจะต้องเรียนรู้ และเข้าใจ เริ่มแรกมีอยู่ 3 gเรื่องได้แก่
  1. I & E     ( Import & Export )
  2. Marketing Channel
  3. Marketing Network
Import & Export

ใน AEC ที่จะเปิดนั้น ประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าอีก 4 ประเทศ ประกอบไป ด้วย กัมพูชา ลาว เมียนม่าร์ และเวียดนาม หรือที่เรียกว่า " C L M V " ซึ่งแต่ละประเทศเหล่านี้มีผู้ค้าที่สำคัญคือจีน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าประเทศมหาอำนาจอย่างจีนกำลังบุกและขยายตลาดออกมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นประเทศในกลู่ม C L M V จึงเป็นประเทศผู้ค้าที่สำคัญ แต่จีนนั้นทำการค้าแบบซื้อมา ขายไป หรือ Import & Export ซึ่งโดยตลาดที่ใหญ่กว่า และระยะเวลาที่จีนลงมาค้าขายก่อน จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่ธุรกิจจากประเทศไทย จะเข้าไปแย่งสัดส่วนทางการตลาด

แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้ หากต้องการตลาดนี้คือ การสร้าง " Brand " หรือการสร้าง " Shop Design " เพราะว่าประเทศจีนนั้นส่งสินค้าเข้ามาขายเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้ทำร้านเพื่อรองรับสินค้า ร้านค้าปลีกที่รับสินค้าเข้ามาขาย ยังคงเป็นร้านค้าปลีกธรรมดา ซึ่งหากเปรียบเทียบกับ Shop ของคนไทยนั้นดูทันสมัยกว่ามาก หากเราจะส่งแค่สินค้าไปขายอย่างเดียวคงลำบาก และอาจสู้สินค้าจากจีนไม่ไหว ฉะนั้นสินค้ากับร้านค้าต้องไปด้วยกัน ถึงจะสามารถขยายตัวได้ เรียกวิธีการนี้ว่าการสร้าง " Flagship Store "
 
Marketing Channel

การที่เราจะเข้ายังพื้นที่ที่ห่างไกลจาก Center การผลิตสินค้านั้น เราจะต้องแก้ไขปัญหาในเรื่องของการข่นส่ง ยิ่งการส่งออกไปต่างประเทศนั้นยิ่งมีต้นทุนสูง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงหากสินค้าชำรุด เสียหาย หรือเน่าเสีย ฉะนั้นการทำ Marketing Channel หรือการหาตัวแทน จึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดี

โดยเราต้องสร้างตัวแทนการจำหน่าย หรือหา Partner ที่จะมาช่วยเราในพื้นที่นั้น ๆ ทั้งในเรื่องของการหาตลาด ช่องทางการขาย หรือการผลิต การหาวัตถุดิบในพื้นที่เพื่อมาผลิตสินค้า และส่งไปขายที่ Shop ของเรา และนี่คือการแก้ไขปัญหาเรื่องของ Logistic อีกทั้งเมื่อ AEC เปิด ภาษีเท่ากับ 0% จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการส่งสินค้า และวัตถุออกไป
 
Marketing Network

ยกตัวอย่างเช่น หากเราทำปลากระป๋องส่งออก มีวัตถุดิบอยู่แถวมหาชัย และส่งขายต่างประเทศต้นทุนกระป๋องละ 8 บาท พอส่งออกไปประเทศไกล ๆ ต้นทุนก็เพิ่มสูงขึ้นอาจถึงกระป๋องละ 20 บาทก็เป็นได้ แต่หากเราสามารถหา Marketing Network ไปสร้างฐานการผลิต และหาวัตถุดิบท้องถิ่น ก็จะสามารถลดต้นทุนไปได้ และขยายตัวได้มากขึ้น เป็นการมองภาพแบบ Upstream และ Downstream ต้องเปลี่ยนวิธีการคิด เป็นการเปิดโอกาสของการลงทุน คน และภาษี ฉะนั้นหากทำธุรกิจแบบ Import & Export เพียงอย่างเดียวในตอนนี้อาจจะขยายตัวได้ช้า จะต้องทำ 3 ขั้นตอนคือ
  1. ต้องสร้าง Partnership เป็นหุ้นส่วนทางธุรคกิจ
  2. ออกแบบช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่สร้าง Shop ในประเทศที่ต้องการลงทุน แล้วค่อยขยายตัว เพื่อสร้างหน้าร้าน เป็นช่องทางการจัดจำหน่าย
  3. เปลี่ยนขั้นตอนการผลิตเป็น Market Network เพื่อการลดต้นทุน อาจจะต้องไปตั้งฐานการผลิตในประเทศนั้น ๆ
การค้าธุรกิจ SME เมื่อเข้าสู่ AEC ต้องเลือกประเทศใดประเทศหนึ่งก่อน อย่าเข้าครั้งเดียวหลายประเทศ เพราะวัฒนธรรม ภาษา และพฤติกรรมของคนแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน อาจทำให้เกิดความสับสนได้ ไม่เหมือนกับการทำธุรกิส่งออกที่ไม่ได้เข้าไปในประเทศนั้น ๆ โดยตรง ฉะนั้นต้องเลือกประเทศที่คิดว่าเราชำนาญที่สุด โดยเริ่มจาก 5 กลยุทธ์ดังนี้
 
Tourist Strategy เป็นนักท่องเที่ยว เพื่อสังเกตุการณ์ การเข้าไปศึกษา ถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีของแต่ละประเทศนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการรับฟังข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ อาจไม่พอ แต่การเป็นนักท่องเที่ยวนั้น ไม่ใช่เที่ยวแบบนักท่องเที่ยวปกติ แต่ให้ไปดูถึงระบบการขนส่ง การจับจ่ายใช้สอย ของคนในพื้นที่ ความต้องการในตัวสินค้าต่าง ๆ ทั้งนี้เราอาจจะได้เพื่อน หรือ Partner ธุรกิจ ก็เป็นได้
 
Visit Strategy การเยี่ยมเยียน แบบญาติมิตร หากเรามี Partner อยู่ในพื้นที่ที้เราจะไปลงทุนแล้วเราต้องไปเยี่ยมเยียมคนเหล่านี้ให้บ่อยครั้ง เพราะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ที่ดี โดยคนเหล่านี้คือคนที่จะมาช่วยธุรกิจของเราในอนาคตนั่นเอง
 
Buying Strategy การทดลองซื้อ คนส่วนใหญ่เดินทางไปเพื่อทำการค้า หรือเพื่อการขาย แต่สิ่งที่สมควรทำก่อนการขายคือการซื้อ ในประเทศเขต C L M V ไม่ชอบให้คนเข้าไปเพื่อการขายเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ผิดใจกันได้จึงต้องเกิดการซื้อก่อน การซื้อจะมีประโยชน์ในเรื่องของระบบการเงิน การธนาคาร แบะการขนส่ง ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้เราต้องทราบก่อนที่เราจะทำการค้าขาย ฉะนั้นการซื้อจะเป็นวิธีที่ดี ที่เราจะสามารถทราบถึงขั้นตอนทั้งหมดได้ และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ก่อนทำการลงทุนอีกด้วย
 
Selling Strategy การทดลองขาย เพื่อดูเครดิต ศึกษากระบวนการทำการค้า แต่ยังไม่ต้องขายมาก ขายน้อย ๆ ก่อนเพื่อศึกษาตลาดและหาวิธีกลยุทธในการค้าต่อไป
Business Duel Strategy การหาช่องทางการขยายตลาด ไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ อาจจะเป็นการขยายสาขาภายในประเทศนั้น ๆ หรือขยายออกไปในประเทศกลุ่ม C L M V ก่อนก็ได้
 
ประเทศใน C L M V มีจุดเด่นที่เราสามารถสื่อสารกันได้ไม่ยาก และต้องเริ่มต้นที่เมืองใหญ่ของแต่ละประเทศแล้วค่อยขยายตัวออกไปซึ่งสามารถทำได้ สำคัญคือต้องใจเย็น ๆ แต่อย่าช้า แล้วใช้ทั้ง 5 กลยุทธนี้จึงจะสามารถสร้าง Partnership และนำไปสู่การทำ Marketing Network ได้ในที่สุด
 
เมื่อ AEC เปิดเชื่อได้ว่าคนไทยมีศักยภาพที่พร้อม ทั้งเงินทุน แรงงาน สินค้า แต่คนไทยไม่พร้อมนั่นก็คือ " วิธีคิด " บางคนยังยึดติดกับแนวความคิดเดิม ๆ การใช้วิธีเดิม ๆ และไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีคิด ยังใช้ Import & Export ซึ่งวิธีการแบบนี้เราจะไม่สามารถสู้ประเทศจีนที่เข้ามาเช่นเดียวกันได้ หรือบางรายลงทุนในหลายประเทศพร้อมกันแล้วไม่ได้เจาะจงเป็นประเทศ ทำให้ขยายสาขาได้ช้า หรือวางแผนจะไปเปิดโรงงานขยายการผลิต แต่ไม่ได้ศึกษาวัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในประเทศนั้น ๆ ให้ดี

สุดท้ายก็โดนต่อต้านกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไขไม่ได้ ฉะนั้นวิธีคิดของแต่ละคนเป็นเรื่องที่สำคัญ เราดูสื่อต่าง ๆ ที่มีข่าวแรงงานพม่าทำร้ายเจ้านายคนไทย หรือสาวใช้ชาวลาวนำพวกมาขโมยของในบ้านขณะที่เจ้าของบ้านคนไทยไม่อยู่ ทำให้เรามองเพื่อนบ้านเราผิด ๆ มองว่าเค้าล้าหลัง และบอกว่าเราคือบ้านพี่เมืองน้อง ซึ่งกลับมาเถียงกับอยู่ว่าตกลงใครพี่และใครน้อง มันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร เราไม่ได้เข้าไปเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตจริง ๆ ฉะนั้นอย่าไปตัดสินทุกคนว่าเหมือนกันหมด

อ้างอิงจาก อาจารย์พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,685
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,820
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,243
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด