บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    สัญญาแฟรนไชส์
2.4K
2 นาที
24 มีนาคม 2564
สรุปเนื้อหา จาก #Clubhouse ไขประเด็น “สัญญาแฟรนไชส์” หักคอเอาเปรียบ หรือจำเป็น?
 

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 จนกระทั่งถึงปี 2564 ที่หลายคนมองว่ามูลค่าตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยจะเติบโต 3 แสนล้านบาท หากรัฐบาลสามารถควบคุมการระบาดโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากกลุ่มคนว่างงาน ตกงาน รวมถึงคนที่อยากมีรายได้เพิ่ม จะหันมาลงทุนแฟรนไชส์แทนการสร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง 
 
โดยธุรกิจแฟรนไชส์ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมาก ในการสร้างมูลทางเศรษฐกิจไทยให้ก้าวพ้นผ่านวิกฤติโควิด-19 ด้วยการสร้างอาชีพ สร้างงานให้กับผู้คนจำนวนมาก โดยรวมแล้วร้านแฟรนไชส์ 1 สาขาจะมีการจ้างงานเฉลี่ย 5 คน จากจำนวนร้านสาขาแฟรนไชส์ทั้งหมดในเมืองไทยกว่า 35,000 สาขา หรือคิดเป็นการจ้างงานกว่า 200,000 คน
 
 
สำหรับคนที่อยากขายแฟรนไชส์ และคนที่อยากลงทุนแฟรนไชส์ อย่าพลาด! วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีความรู้ดีๆ จาก Clubhouse รู้ลึก รู้จริงเรื่องแฟรนไชส์ หัวข้อ “สัญญาแฟรนไชส์” หักคอเอาเปรียบ หรือจำเป็น? มานำเสนอให้ทราบ เพื่อป้องกันการเกิดข้อพิพาทระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบระหว่างกัน
 
โดยปกติแล้วสัญญาแฟรนไชส์ทั้งหลาย ส่วนมากจะออกมาจากทางฝั่งแฟรนไชส์ซอร์ เพราะแฟรนไชส์ซอร์เป็นคนเขียนขึ้น เพื่อผลประโยชน์หรือป้องกันสารพัดอย่าง โดยสาระสำคัญในสัญญามักจะเอียงมาทางแฟรนไชส์ซอร์อย่างเดียว 
 
 
เกี่ยวกับเรื่องนี้ “ผศ.ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล” คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายและความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ให้ข้อแนะนำว่า “สัญญาแฟรนไชส์” ที่แฟรนไชส์ซอร์เป็นคนร่างขึ้นมานั้น ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชซีสามารถจับมาพลิกอ่าน เพื่อทำความเข้าใจก่อนได้ 
 
แต่เปลี่ยนไม่ได้ หรือแก้ยากมาก ต่อรองยากมาก นักกฎหมายบางคนเรียกสัญญาแบบนี้ว่า “สัญญาสำเร็จรูป” (Standard Form Contract) แต่ตนเองเรียกว่า “สัญญาหน้าเขียว” ซึ่งจริงๆ แล้วเขาเรียกว่า “สัญญาบีบบังคับ” (Adhesion Contract) 
 
สัญญาแฟรนไชส์ระบุเงื่อนไขที่ว่า จะตกลงหรือไม่ตกลง เช่น ในอนาคตแฟรนไชส์ซอร์ต้องการเปลี่ยนแปลงสัญญา แฟรนไชส์ซีก็ต้องยอมทำตามด้วย เงื่อนไขจะเป็นแบบนี้ เป็นการตกลงหรือไม่ตกลง เป็นลักษณะของการตกลงไว้ล่วงหน้า ทั้งๆ ที่ในอนาคตไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ในสัญญาแฟรนไชส์จะมีเงื่อนไขลักษณะอย่างนี้ค่อนข้างมาก
 
 
#สำหรับกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ซอร์ ก็คือ การอ่านสัญญาแฟรนไชส์ให้กับคนที่จะมาเป็นแฟรนไชส์ซีฟัง ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์หลายๆ รายตั้งคำถามว่า...จำเป็นหรือไม่?    
 
ผศ.ดร.สมชาย อธิบายต่อว่า การอ่านสัญญาแฟรนไชส์ให้คนซื้อแฟรนไชส์ฟัง มีความจำเป็นอย่างมาก ก่อนที่แฟรนไชส์ซีจะเซ็นสัญญา แฟรนไชส์ซอร์ต้องเรียกแฟรนไชส์ซีมานั่งฟัง อาจมาพร้อมนักกฎหมายก็ได้  อธิบายให้คนซื้อแฟรนไชส์ฟังเป็นข้อๆ เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหาทะเลาะกันในอนาคต เนื่องจากแฟรนไชส์ซีอาจอ้างไม่ทราบข้อควรปฏิบัติของตัวเอง ดังนั้น ต้องคุยกันตั้งแต่ตอนต้น หากไม่พอใจก็อย่าเซ็น 
 
บางแฟรนไชส์อาจส่งสัญญาไปให้แฟรนไชส์ซีอ่านก่อน แต่จะอ่านไม่อ่านไม่รู้ แต่วันที่มาเซ็นสัญญาจริงๆ แฟรนไชส์ซอร์ต้องอธิบายให้แฟรนไชส์ซีฟัง เกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ และข้อปฏิบัติในสัญญา หากแฟรนไชส์ซีสงสัยให้ถามตรงนั้น แต่บางแฟรนไชส์ไม่ได้ส่งสัญญาให้อ่าน พอถึงวันให้แฟรนไชส์ซอร์อธิบายเงื่อนไขให้แฟรนไชส์ซีฟัง หากไม่เข้าใจข้อไหนให้ถามได้ หรือให้นักกฎหมายฝั่งแฟรนไชส์ซีมานั่งฟังด้วย เพื่อให้ทราบเงื่อนไขที่แฟรนไชส์ซีจะต้องปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์
 
 
นอกจากนี้ ก่อนเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซอร์อย่าลืมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เรียบร้อย เพราะเครื่องหมายการค้า (Trade mark) เครื่องหมายบริการ (Service mark) รวมถึงสิทธิบัตร (Patent) เป็นสิทธิ์ของแฟรนไชส์ซอร์ที่จะให้ทางแฟรนไชส์ซีนำไปใช้หรือไม่ให้ใช้ ที่สำคัญเพื่อป้องกันการแอบอ้าง ลอกเลียน เป็นการรักษาสิทธิ คุ้มครองตัวเราเอง
 
ดังนั้น “สัญญาแฟรนไชส์” แม้จะเป็นการบีบบังคับให้แฟรนไชส์ซีปฏิบัติตาม แต่ถ้าแฟรนไชส์ซีอ่านและทำความเข้าใจในเงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุในสัญญาแฟรนไชส์ก่อนเซ็นสัญญา หากไม่พอใจก็สามารถต่อรองหรือไม่เซ็นก็ได้ แต่ถ้าเซ็นไปแล้ว หากวันใดวันหนึ่ง แฟรนไชส์ซีไม่ทำตามเงื่อนไขในสัญญา แฟรนไชส์ซอร์ก็สามารถยกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาฯ ที่ดีต้องมีความเป็นธรรมต่อแฟรนไชส์ซี ถ้าไม่มีความเป็นธรรมก็อาจเกิดปัญหาข้อพิพาท ฟ้องร้องกันภายหลังได้อีก
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 

ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
 
โดย ดร.วิชัย ธรรมานนท์ ผู้มีประสบการณ์ด้านแฟรนไชส์แถวหน้าของเมืองไทย และอาจารย์ชานนท์ มหาสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญแฟรนไชส์ด้านอาหาร และคุณณรินณ์ทิพ วิริยะบัณฑิตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด และประธานสถาบันสอนอาชีพชี้ช่องรวย 
 
..
41months ago   1,799  2 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
23,219
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,106
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,998
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,852
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,246
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,196
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด