บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.1K
2 นาที
5 พฤษภาคม 2564
สินค้าที่ลอกเลียนแบบได้ง่าย ทำแฟรนไชส์ไม่ได้
 

หลายคนมีคำถามและสงสัยกันว่า หลายธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพราะอะไร ทั้งที่แบรนด์ดูดี สินค้ามีความน่าสนใจ มีลูกค้าเยอะ แต่กลับไปได้ไม่ไกล วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลมาเล่าให้ฟังครับ
 
ธุรกิจที่เหมาะสำหรับขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ และมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง จะต้องเป็นธุรกิจที่พิสูจน์แล้วว่า สามารถทำกำไรได้ และคืนทุนได้ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ต้องสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของธุรกิจนั้นๆ โดยมีลักษณะ คือ 
  1. ธุรกิจนั้นๆ ต้องมี Branding มีฐานลูกค้า และต้องดูว่ามีคนต้องการให้เปิดธุรกิจตรงนี้มากน้อยแค่ไหน
  2. ควรมีสูตรลับ มีวิธีการที่ถ่ายทอดให้คนอื่นได้ แต่ไม่สามารถเลียนแบบได้ และส่วนนี้ต้องแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ ที่เป็นประเภทเดียวกันหรือเหมือนกัน 
  3. ต้องมีระบบการจัดการที่ดี มีการดูแลคุณภาพมาตรฐาน มีคู่มือปฏิบัติงานที่ชัดเจน
ภาพจาก facebook.com/mujumkunple/

อย่างไรก็ตาม หากใครคิดจะทำแฟรนไชส์ต้องรู้ด้วยว่า “สินค้าที่ลอกเลียนแบบได้ง่าย ทำแฟรนไชส์ไม่ได้” แต่ถ้าคิดจะทำอาจไปไม่ได้ไกล หากสินค้าหรือธุรกิจของเราไม่ดีจริง และไม่แตกต่างจากคู่แข่งในตลาด เช่นกรณี ร้านหมูกระทะ ทำไมถึงมีให้เห็นน้อยในยุคปัจจุบัน และไม่ค่อยมีคนทำแฟรนไชส์ด้วยซ้ำ เนื่องจากสามารถซื้อของสดได้จากตลาดสดได้ แต่ธุรกิจรูปแบบคล้ายกันอย่าง “ชาบู” ทำไมคนอยากซื้อแฟรนไชส์ ก็เพราะแบรนด์มีชื่อเสียง น้ำซุป น้ำจิ้ม เป็นต้น
 
ภาพจาก facebook.com/Rotiboythai/
 
หรือกรณีร้านแฟรนไชส์ Rotiboy หรือ โรตีบอย ที่เคยเป็นกระแส ขนมปังอบ กลิ่นหอม ที่ต้องต่อคิวรอเป็นชั่วโมงๆ กว่าจะซื้อได้เมื่อช่วงปลายปี 2548 จากที่เคยมียอดขายสูงถึง 2-3 หมื่นชิ้นต่อวัน ในราคาก้อนละ 25 บาท 
 
แต่ด้วยความเป็นสินค้ากระแส สินค้าแฟชั่น คนไทยที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยสัมผัส ไม่เคยกิน เมื่อเห็นคนอื่นทำ หรือกินอะไร ก็มักจะอยากกินหรืออยากทำกับเขาบ้าง เพราะเดี๋ยวคนอื่นจะหาว่าตกเทรนด์
 
เวลาต่อมากระแสโรตีบอยซาลงอย่างรวดเร็ว นักการตลาดต่างก็วิเคราะห์กันว่า อาจเป็นเพียงกระแสความ “เห่อ” ที่มาเพียงวูบเดียวแล้วดับไป รวมถึงร้านไม่สร้าง Brand Royalty ให้ผู้บริโภคจงรักภักดี ทำให้ลูกค้าหันไปซื้อเจ้าอื่น เพราะเป็นสินค้าที่ลอกเลียนแบบได้ง่าย

ภาพจาก facebook.com/Rotiboythai/

แม้ว่ารสชาติขนมปัง “โรตีบัน” จะเป็นเอกลักษณ์กับการสอดไส้เนยแบบเบาๆ ราดหน้าด้วยกาแฟ แต่โรตีบอยกลับไม่ใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์กับตนเอง ทั้งที่เข้ามาในเมืองไทยเป็นเจ้าแรก เพราะหลังจากนั้นไม่นานคู่แข่งในตลาดก็สามารถพัฒนารสชาติและกลิ่นได้ใกล้เคียงมาก แถมขายในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือก

ภาพจาก facebook.com/BunBakeryThailand/
 
อย่างเช่น ร้านมิสเตอร์บัน สัญชาติไทยแท้ๆ ได้ทำออกมาขายในราคาที่ถูกกว่ามาก โดยโรตีบอยขายชิ้นละ 25 บาท แต่มิสเตอร์บัน 10 บาท แม้โรตีบอยชิ้นใหญ่กว่า แต่นิสัยการบริโภคของคนไทย มักจะไม่ยึดติดกับแบรนด์ แต่ยึดติดราคา จึงมีการเลือกในสิ่งที่ “ถูกกว่า” แม้รสชาติจะไม่ใช่ แต่ก็ใกล้เคียง หลังๆ มายอดขายจึงเริ่มตก

และสุดท้ายก็ปิดตัวไปในที่สุด ทำให้เด็กรุ่นหลัง ไม่มีโอกาสที่จะได้ลิ้มลองลิ้มรสชาติว่าจะอร่อยขนาดไหน อีกทั้งยังมีร้านลักษณะ Mexican Bun เกิดขึ้นเป็นคู่แข่งมากมาย อาทิ Rotimom และ Papa Roti แต่แบรนด์ Mr.Bun ยังคงอยู่ให้คนรุ่นหลังได้เห็นและได้ลิ้มรสชาติ
 
หรือกรณีเครื่องชา 25 บาททุกแก้ว ในช่วง 4- 5 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าไม่ได้มีแค่ยี่ห้อเดียว มีหลายยี่ห้อ ตั้งร้านสลับร้าน สลับพื้นที่เต็มไปหมด นั่งคิดเล่นๆ ก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 30 ยี่ห้อ ถือมากเยอะมากจนลูกค้าเลือกไม่ถูก ว่าจะซื้อยี่ห้อไหนดี แต่นั่นเป็นภาพเมื่อก่อน แต่ปัจจุบันแทบจะล้มหายตายจากไปแล้ว เพราะเป็นสินค้าที่ลอกเลียนแบบได้ง่าย 
 
 
สำหรับวิธีรับมือหากสินค้าลอกเลียนแบบ ก็คือ สร้างคุณค่ามากกว่าที่ตาเห็น ค้นหาว่าคุณค่าของสินค้าของเราอยู่ที่ไหน ถ้าสินค้าของเราเป็นแบบที่ลอกเลียนได้ง่าย และคุณค่าทุกอย่างอยู่ในบริบทสิ่งที่จับต้องได้ การป้องกันการถูกเลียนแบบก๊อบปี้คงเป็นไปได้ยาก ในสินค้าบางอย่างคุณค่าของสินค้าไม่ได้อยู่แค่ในอุปกรณ์ที่จับต้องได้ 
 
แต่อยู่ในการบริการที่ต้องใช้งานร่วมกัน ในกรณีข้างต้นการถูกเลียนแบบ อาจอยู่ในส่วนของรูปแบบหน้าตาของสินค้า กระบวนการผลิต รสชาติ แต่ถ้าสินค้าของเรามีคุณค่าในการมอบให้กับลูกค้าสูง คนอื่นจะลอกเลียนแบบได้ยาก ยกตัวอย่าง แฟรนไชส์ 7-Eleven รูปแบบการให้บริการลูกค้าจะแตกต่างจากร้านค้าปลีกและร้านสะดวกซื้ออื่นๆ 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter  
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,010
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,491
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,634
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,573
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด