บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.0K
3 นาที
12 พฤษภาคม 2564
แก้ปัญหา #สร้างแฟรนไชส์ ให้เป็นระบบ ทำยังไง


 
การขายแฟรนไชส์ถือได้ว่าเป็นการต่อยอดทางธุรกิจที่มีความน่าสนใจในยุคปัจจุบัน เนื่องจากสามารถขยายธุรกิจ หรือขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนของเจ้าของแฟรนไชส์ เพียงแต่ต้องสร้างระบบแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ถ่ายทอดให้สาขาแฟรนไชส์นำไปปฏิบัติตามระบบในทิศทางเดียวกัน เพื่อแลกกับรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง
 
ด้วยเหตุผลนี้ทำให้หลายคนหัวใจพองโต มีฝันที่จะปั้นธุรกิจของตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์ แต่เชื่อหรือไม่ว่าในความมั่นใจลึกๆนั้น ยังคงแอบแฝงไปด้วยความกังวล สงสัย และลังเลใจ ว่ากิจการของตัวเองจะทำแฟรนไชส์ได้จริงอย่างที่คิดหรือเปล่า และที่สำคัญเจ้าของธุรกิจก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะสามารถสร้างแฟรนไชส์ให้เป็นระบบได้หรือไม่
 
ปัญหาดังกล่าวข้างต้น วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอเคล็ดลับการสร้างแฟรนไชส์ให้เป็นระบบ สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการขยายกิจการในรูปแบบแฟรนไชส์ เรียกได้ว่าสามารถนำไปใช้ได้จริงครับ
 
1. ประเมินความเป็นได้ของธุรกิจ


 
อย่าคิดว่าทุกธุรกิจสามารถทำเป็นแฟรนไชส์ได้ คิดจะขายแฟรนไชส์ก็ขายได้ทันที ธุรกิจที่จะทำเป็นแฟรนไชส์และขายสิทธิให้กับคนอื่นได้นั้น ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นที่นิยมชมชอบของลูกค้า เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นกิจการที่มีผลกำไรมาแล้ว มีร้านสาขาอยู่บ้าง มีอายุธุรกิจนานพอที่จะสามารถนำเอาเทคนิคและรูปแบบบริหารมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ และมีการสร้างทีมงานที่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์มารองรับ
 
ดังนั้น ก่อนที่คุณคิดจะนำธุรกิจไปขายแฟรนไชส์ ต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน อยู่ในระดับไหนแล้ว เพราะการขายแฟรนไชส์ต้องมีความพร้อม ถ้าไม่พร้อมก็จะเกิดปัญหาตามมามากมาย อาจต้องกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เรียกได้ว่าต้องวางรูปแบบของธุรกิจ กำหนด Concept ของธุรกิจให้คนรู้จัก ดึงดูดลูกค้าได้ 
 
2. หาความรู้เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์


 
การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก่อนอื่นคุณต้องมีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ และมีทีมงานที่พร้อม มีความเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ในระดับดีพอสมควร เพราะการทำแฟรนไชส์เกี่ยวข้องกับการเงิน การตลาด ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิต่อเนื่อง การสนับสนุนแฟรนไชส์ สัญญาแฟรนไชส์ คู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์ ฯลฯ หากไม่รู้เรื่องเหล่านี้ก็ทำแฟรนไชส์ไม่ได้  
 
#คอร์สเรียนแฟรนไชส์ขายดี https://bit.ly/3eBosp4
 
3. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
 
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ก็คือ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการของเจ้าของธุรกิจ ซึ่งเมื่อให้สัญญาแฟรนไชส์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์แล้ว สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า ที่จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจของผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ด้วย พร้อมกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีหรือมาตรฐานที่ดีของการให้บริการที่จะต้องควบคู่ไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจดังกล่าวนั้นด้วย
 
4. สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์


 
การสร้างร้านต้นแบบขึ้นมา ก็เพื่อนำมาศึกษาหาข้อดีข้อเสียของธุรกิจที่คุณกำลังทำ ว่ามีความสามารถเพียงใด ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเท่าใด ระบบการขายอย่างไร ระบบเก็บเงินอย่างไร หลายๆ อย่างจะได้จากร้านต้นแบบ แต่ถ้าคุณมีร้านอยู่แล้ว ก็ต้องสร้างระบบควบคุมให้รัดกุม และ เป็นระบบที่สามารถกระจายการทำได้อย่างมีหลักมีเกณฑ์
 
5. วางระบบปฏิบัติงาน และอบรม
 
เจ้าของธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ จะต้องสร้างระบบการปฏิบัติงาน และการฝึกอบรม หรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดร้านจะต้องปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ทั้งการผลิต การขาย การจัดการ เป็น ดังนั้น การอบรม จึงเป็นวิธีการพื้นๆ แต่ได้ผลในการทำให้ระบบงานทั้งระบบเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
 
6. เขียนสัญญาแฟรนไชส์


ภาพจาก freepik
 
เจ้าของธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ จะต้องมีการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อเป็นแนวทางให้แฟรนไชส์ซีนำไปปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นกฎและเงื่อนไขปฏิบัติของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และห้ามทำอะไรบ้าง ใครไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็สามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย เจ้าของธุรกิจอาจจะต้องจ้างทนาย หรือผู้เชี่ยวชาญในการร่างสัญญานี้ขึ้นมา
 
7. การจัดหาแหล่งผลิตวัตถุดิบ
 
เมื่อขายแฟรนไชส์ได้แล้ว เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องทำหน้าที่จัดส่งวัตถุดิบในการผลิตสินค้าให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย ดังนั้น ก่อนที่จะขายแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจจะต้องหาแหล่งผลิตวัตถุดิบ หรือซัพพลายเออร์ต่างๆ ที่มีคุณภาพ ที่สำคัญการจัดซื้อวัตถุดิบจากแหล่งใดก็ต้องหา Supplier ที่สามารถควบคุมคุณภาพให้เราได้ด้วยเช่นกัน
 
8. การวางแผนด้านการตลาด


 
การวางแผนการตลาด เป็นการสร้างการยอมรับตราสินค้าได้อย่างดี ทั้งด้านการสร้างแบรนด์ การสร้างฐานลูกค้า รองรับการขยายของธุรกิจที่มีจำนวนสาขาในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น การตลาดที่ว่านี้ จะต้องรวมถึงการนำเสนอธุรกิจให้กับนักลงทุนได้อย่างดี น่าสนใจมากพอ ผู้ที่เป็นลูกค้าประจำของเราเองก็อาจจะมีโอกาสที่จะกลายมาเป็นแฟรนไชส์ซีของเราต่อมาก็ได้ 
 
9. วิเคราะห์วางแผนทางการเงิน
 
ร้านต้นแบบจะเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี  
 
และคุ้มไหมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้  ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และค่าธรรมเนียมต่อเนื่องรายเดือน (Royalty Fee) อีกด้วย
 
10. สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก


 
ต้องลองสำรวจตลาดก่อนว่า แบรนด์สินค้าและบริการธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปหรือไม่ ถ้าคนไม่รู้จัก ธุรกิจคุณก็ไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้ ดังนั้น การสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จัก ก็เท่ากับว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจคุณด้วย ถ้าแบรนด์สินค้าของคุณดีก็จะมีคนบอกต่อปากต่อปาก ขยายฐานตลาดได้กว้างขึ้น นำไปสู่ยอดการขายที่เพิ่มขึ้น
 
11. จัดทำคู่มือแฟรนไชส์
 
ระบบแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีคู่มือการดำเนินธุรกิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับร้านต้นแบบ คู่มือดังกล่าวจะเป็นไกด์หรือรูปแบบการบริหารธุรกิจที่คุณจะถ่ายทอดประสบการณ์ทางธุรกิจที่มีมานานให้แก่ผู้อื่น คู่มือนี้จะสามารถควบคุมให้การบริหารจัดการในด้านต่างๆ รวมถึงขั้นตอนการทำงานภายในร้านได้ง่ายและราบรื่นขึ้น ไม่ว่าคุณจะขายแฟรนไชส์กี่สาขา ทุกสาขาก็จะยึดแนวทางการบริหารธุรกิจและบริการในรูปแบบเดียวกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน 
 
ดังนั้น ถ้าคุณต้องการทำแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบ ต้องอย่าลืมจัดทำคู่มือการดำเนินงานตามแบบธุรกิจคุณประสบความสำเร็จมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การตกแต่งร้าน การทำตลาดและประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่นต่างๆ การบริหารจัดการด้านการเงิน บริหารสต็อก การแต่งการพนักงาน เวลาเปิด-ปิดร้าน เป็นต้น 
 
12. คัดเลือกแฟรนไชส์ซี
 
การทำธุรกิจแฟรนไชส์ไม่เหมือนกับการลงทุนในหุ้นทั่วๆ ไปที่เอาเงินมาซื้อก็จบกันไป แฟรนไชส์ซีนอกจากจะลงทุนด้วยเงินแล้ว ยังต้องลงทุนด้วยแรงกาย แรงใจ และความทุ่มเทในการบริหารจัดการร้านให้ประสบความสำเร็จ มีความรู้ความเข้าใจระบบแฟรนไชส์เป็นอย่างดี อีกทั้งยังต้องไว้วางใจแฟรไชส์ซอร์ด้วย ดังนั้น แฟรนไชส์ซีที่เลือกเข้ามาต้องมีมาตรฐานด้วย อย่าเลือกเอาคนที่มีเงินลงทุนอย่างเดียว แต่ไม่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ
 
13. จ้างผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาช่วย


 
หากคุณสนใจสร้างแฟรนไชส์จริงๆ แต่ไม่รู้ว่าจะสร้างแฟรนไชส์อย่าไร วิธีการที่ดีที่สุดเพื่อช่วยประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ทำถูกขั้นตอน นั่นคือ การมีทีมที่ปรึกษา หรือทีมกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรืออาจารย์ที่มีความรู้เรื่องการสร้างแฟรนไชส์ เพราะที่ปรึกษาธุรกิจแฟรนไชส์จะช่วยให้แนะนำแนวทาง หลักการ องค์ความรู้ในการสร้างแรนไชส์ที่มีโอกาสเติบโต รวมถึงช่องทางการสร้างแบรนด์ ทำการตลาด การสร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ ตลอดจนการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
 
#ทีมงานที่ปรึกษาแฟรนไชส์ ไทยแฟรนไชส์ อคาเดมี - https://bit.ly/3bi9lyA
 
ทั้งหมดถือเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ซึ่งจริงๆ แล้วหลักการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่อยู่ๆ จะลุกขึ้นมาเปิดขายแฟรนไชส์กันเลย คุณต้องทำการศึกษาระบบและกระบวนการแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้ นอกจากจะสร้างธุรกิจให้มีชื่อเสียงในตลาดแล้ว ลูกค้าชื่นชอบ คุณอาจจะต้องเข้าคอร์สอบรมแฟรนไชส์อย่างเข้มข้น รวมถึงต้องผ่านการอบรมสร้างธุรกิจแฟรนไชส์จากสถาบันที่เกี่ยวข้อง หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ด้วย
 
#คอร์สเรียนแฟรนไชส์ Step by Step https://bit.ly/3uJDMFy
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 

Franchise Tips
  1. ประเมินความเป็นได้ของธุรกิจ
  2. หาความรู้เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์
  3. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  4. สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  5. วางระบบปฏิบัติงาน และอบรม
  6. เขียนสัญญาแฟรนไชส์
  7. การจัดหาแหล่งผลิตวัตถุดิบ
  8. การวางแผนด้านการตลาด
  9. วิเคราะห์วางแผนทางการเงิน
  10. สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก
  11. จัดทำคู่มือแฟรนไชส์
  12. คัดเลือกแฟรนไชส์ซี
  13. จ้างผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาช่วย
 

 
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
 
ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นช่องทางการทำธุรกิจอย่างหนึ่ง ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารธุรกิจตามระบบแฟรนไชส์ ที่กำหนดโดยเจ้าของแฟรนไชส์เอง โดยเจ้าของแฟรนไชส์จะให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการให้ใช้เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า ข้อมูลลับ และทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเจ้า..
39months ago   2,139  4 นาที
เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ คน ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการขายแฟรนไชส์ไม่ได้ ไม่ค่อยมีลูกค้าติดต่อเข้ามา หรือแม้แต่การออกบูธงานแสดงแฟรนไชส์หลายๆ งาน แต่ก็ยังขายแฟรนไชส์ไม่ได้ แม้จะมีลูกค้าเข้ามาพูดคุยหน้าบูธอย่างต่อเนื่อง..
39months ago   2,164  4 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,268
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,470
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,238
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,268
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,227
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด