บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.4K
2 นาที
18 มิถุนายน 2564
อย่าทำแฟรนไชส์ เพราะร้อนเงิน หรือ คิดว่าง่าย
 

เคยหรือไม่ เวลาที่ลูกค้ามาใช้บริการแล้วติดใจในรสชาติ ติดใจในการให้บริการ แล้วเอ่ยปากขอซื้อแฟรนไชส์ เมื่อมีลูกค้าหลายๆ คนถามซื้อแฟรนไชส์ต่อเนื่อง คนอื่นก็มองเห็นโอกาสความสำเร็จของการทำแฟรนไชส์ด้วย ขณะที่เจ้าของร้านเองก็มองว่าสินค้าและบริการของตัวเองสามารถต่อยอดเป็นแฟรนไชส์ได้ เพราะมีสินค้ารูปแบบเดียวกันทำแฟรนไชส์อยู่แล้ว

 
อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการซื้อแฟรนไชส์ก็มีสูงกว่าการสร้างธุรกิจเอง และเป็นทางลัดในการทำธุรกิจด้วย ขณะที่สินค้าและบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม ซักอบรีด ขนส่งพัสดุ สปา และอื่นๆ ก็สามารถทำเป็นแฟรนไชส์ได้เหมือนกัน แต่จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น อยู่ที่ความพร้อมของธุรกิจ และคนทำแฟรนไชส์ด้วย 
 
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่คิดอยากขายแฟรนไชส์ เพื่อได้เงินจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และค่าสิทธิอื่นๆ เมื่อมีใครมาเอ่ยปากขอถามซื้อแฟรนไชส์ก็รีบๆ ขายไป โดยไม่ดูว่าธุรกิจและตัวเองมีความพร้อมในการทำแฟรนไชส์หรือไม่ ใครที่กำลังคิดแบบนี้ มีโอกาสที่จะตกหลุมพรางอย่างมากๆ และมีสิทธิไปไม่รอดทั้งเจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์
 

 
จริงอยู่ที่แฟรนไชส์เป็นทางลัดในการขยายธุรกิจ ขยายแบรนด์ แต่ถ้าคิดจะขายแฟรนไชส์เพราะ “ร้อนเงิน-ทำง่าย” โดยไม่ได้มองถึงความพร้อม โอกาสความสำเร็จ ระยะเวลาการคืนทุน ระบบการทำงาน ระบบสนับสนุน อันตรายก็จะตามมาทั้ง 2 ฝ่าย หากแฟรนไชส์ซีขายสินค้าไม่ได้ เกิดภาระหนี้สิน ความเดือดร้อนและปัญหาต่างๆ ก็จะมาหาเจ้าของแฟรนไชส์ สุดท้ายก็ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์โดยรวม สาขาอื่นๆ ก็พลอยเดือดร้อนไปด้วย 
 
เจ้าของธุรกิจที่อยากทำแฟรนไชส์ อย่าคิดว่าทำได้ไม่ยาก เพราะภาพที่หลายคนมองแฟรนไชส์ ก็คือ ทำง่าย ทำไม่ยาก เพียงแค่สร้างร้านของตัวเองให้สำเร็จแล้วขายแฟรนไชส์ให้คนอื่น เพียงเท่านี้ก็ประสบความสำเร็จแล้ว 
 
 
แต่จริงๆ แล้วธุรกิจแฟรนไชส์มีองค์ประกอบหลายอย่าง ต้องมีความพร้อมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ของแฟรนไชส์ซอร์ ทีมงาน ระบบการทำงาน การอบรม การควบคุมมาตรฐาน ตลอดจนการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมใหม่ๆ การทำการตลาด โฆษณาประชาสัมพันธ์ และสนับสนุนสาขาแฟรนไชส์ทุกสาขาให้เติบโตตลอดอายุสัญญา
 
ดังนั้น ใครที่จะขายแฟรนไชส์จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องแฟรนไชส์ให้เข้าใจ เพื่อให้รู้ว่าระบบแฟรนไชส์ทำอย่างไร รู้ว่าค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์คิดอย่างไร มาจากไหนบ้าง มีการสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์ ออกแบบระบบการทำงาน สร้างเอกสารสัญญาแฟรนไชส์ สร้างระบบคัดเลือกแฟรนไชส์ซี สร้างระบบการอบรม ตลอดจนระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี

เหตุผล! เจ้าของธุรกิจอย่าคิดขายแฟรนไชส์
1.มีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ 
 

เจ้าของธุรกิจหลายคนพอลูกค้ามาใช้บริการแล้วติดใจ เดินเข้ามาขอซื้อแฟรนไชส์ก็ขายให้เขาทันที ทั้งที่ตัวเองไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ รวมถึงธุรกิจยังไม่มีระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐานดีพอ ไม่รู้หลักการคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ การดูแลและสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ และอื่นๆ ซึ่งอย่าลืมว่าหากคนซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วทำเสีย ก็จะทำให้แบรนด์คุณเสียหายด้วย
 
2.ขายความสำเร็จร้านเดียว 
 

แฟรนไชส์ที่คนเข้าใจ ก็คือ การขายความสำเร็จของธุรกิจ ถ้าผู้ประกอบการธุรกิจที่อยากทำแฟรนไชส์เพราะธุรกิจมียอดขาย และกำไรดี ลูกค้าแน่นร้านทุกวัน ก็คิดว่าธุรกิจของตัวเองประสบความสำเร็จแล้ว ทั้งๆ ที่มีเพียงร้านเดียว อยู่ในทำเลเดียวเท่านั้น ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ สินค้ายังไม่รู้จักในวงกว้าง หากผู้ประกอบการขายความสำเร็จธุรกิจเพียงร้านเดียว ทำเลเดียว โดยไม่มีร้านต้นแบบอีก 2-3 ร้านในทำเลพื้นที่ต่างกัน ก็ไม่อาจจะวัดความสำเร็จได้
 
3.อยากรวย 
 

เจ้าของกิจการหลายๆ คน ที่สร้างธุรกิจของตัวเองสู่ระบบแฟรนไชส์ เพราะหวังอยากรวย อยากมีรายได้จากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์จากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ยิ่งขายได้มากยิ่งมีรายได้มาก แต่เจ้าของธุรกิจเหล่านี้ลืมไปว่า ระบบแฟรนไชส์ นอกจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ที่เจ้าของธุรกิจได้มานั้น คุณต้องแลกกับการดูแลและสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ของคุณตลอดอายุสัญญา ไม่ใช่อยากขายแฟรนไชส์เพราะอยากรวยจากค่าธรรมเนียม หากดูแลแฟรนไชส์ซีไม่ได้ ก็มีสิทธิ์เจ๊งได้ 
 
4.ทำตามกระแส 
 

ใครที่อยากขายแฟรนไชส์เพราะเห็นคนอื่นทำแล้วรวย มีรายได้ ขยายธุรกิจได้รวดเร็ว โดยใช้เงินลงทุนคนอื่น จึงคิดอยากขายแฟรนไชส์เหมือนคนอื่น โดยลืมไปว่าธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์ต้องมีองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ทั้งแบรนด์มีชื่อเสียง สินค้าและบริการเป็นที่นิยม มีสาขาที่ประสบความสำเร็จหลายสาขา ดังนั้น การทำแฟรนไชส์ต้องพร้อมหลายๆ อย่าง
 
5.คิดว่าทำได้ไม่ยาก 
 

หลายคนมองว่าทำแฟรนไชส์ง่าย แค่มีสินค้าและบริการเป็นที่นิยมของตลาด เพียงเท่านี้ก็ขายแฟรนไชส์ได้แล้ว แต่จริงๆ แล้วธุรกิจแฟรนไชส์มีองค์ประกอบหลายอย่าง ต้องมีความพร้อมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทีมงาน สร้างระบบการทำงาน การอบรม การควบคุมมาตรฐาน การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ การตรวจร้านสาขาแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐานเดียวกัน การพัฒนาสินค้าใหม่ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และระบบการสนับสนุนสาขาแฟรนไชส์ทุกสาขา 
 
อย่าทำแฟรนไชส์เพราะร้อนเงิน คิดว่าทำง่าย หรือเห็นคนคนอื่นขายแฟรนไชส์รวย ก็อยากทำบ้าง ใครที่คิดแบบนี้โอกาสที่จะเจ็บตัวมีสูง เช่น ขายแฟรนไชส์ตามกระแสที่สินค้าขายดีได้รับความนิยมในช่วงหนึ่ง พอผู้บริโภคเบื่อ สุดท้ายก็เจ๊งทั้ง 2 ฝ่าย หรือขายแฟรนไชส์ให้กับคนที่คุณสมบัติไม่พร้อม แล้วเอาแบรนด์ไปทำเสียหาย ก็ส่งผลเสียต่อแบรนด์โดยรวม

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,432
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,565
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,268
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,230
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด