บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.4K
2 นาที
21 กันยายน 2564
อย่าซื้อแฟรนไชส์! ถ้าคุณยังไม่รู้ 7 ข้อนี้


เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้คนหันมานิยมซื้อแฟรนไชส์แทนการเริ่มต้นธุรกิจด้วยเอง นั่นคือ มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง มีความได้เปรียบในการใช้เครื่องหมายการค้าหรือตรายี่ห้อ มีบริการช่วยเหลือจากแฟรนไชส์ซอร์ แต่ถึงอย่างไรการซื้อแฟรนไชส์ก็ไม่สามารถการันได้ว่าจะประสบความสำเร็จได้ 100% จำเป็นต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ มาเกี่ยวข้องด้วย
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะแนะนำแนวทางการประเมินธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์
 
1.ชื่อเสียงและความรับผิดชอบแฟรนไชส์ซอร์

ภาพจาก แฟรนไชส์ มาซ่า หม่าล่าเทพ เบนโตะ

ชื่อเสียงและประสบการณ์ของแฟรนไชส์ซอร์มีความสำคัญ ในการช่วยให้เครือข่ายธุรกิจแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ หากแฟรนไชส์ซอร์มีความรู้และประสบการณ์ด้านแฟรนไชส์มายาวนานยิ่งดี ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องศึกษาความรับผิดชอบและตั้งใจทำธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ ตลอดจนวิสัยทัศน์ นโยบายการตลาด การสนับสนุน และการขยายธุรกิจแฟรนไชส์  
 
2.ความต้องการสินค้าหรือบริการ
 

ภาพจาก แฟรนไชส์ แอมที

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง สินค้าและบริการจะต้องได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และตอบโจทย์ผู้บริโภคในวงกว้าง สามารถซื้อและใช้บริการได้ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง สินค้าและบริการเกิดการซื้อซ้ำเป็นประจำ ไม่เป็นสินค้ากระแส เป็นต้น 
 
3.ประเมินยอดขาย / ผลกำไร
 

ภาพจาก แฟรนไชส์ ไฮพอร์ค

เชื่อหรือไม่ว่าแฟรนไชส์ที่เปิดขายในทำเลแต่ละจุดจะมียอดขายและกำไรแตกต่างกัน ขนาดของร้านค้าก็อาจมีผลด้วย ร้านขนาดใหญ่อาจมียอดขายดีกว่าร้านขนาดเล็ก แต่ค่าเช่าพื้นที่อาจแพงมากกว่า ซึ่งจะส่งผลให้ได้กำไรน้อยลง ดังนั้น ก่อนื้อแฟรนไชส์ควรประเมินยอดขายและกำไรของแฟรนไชส์นั้นๆ หากเปิดมามากกว่า 1 ปี ให้ลองเปรียบเทียบยอดจำหน่ายรวมจากปีก่อนๆ อาจเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่าควรซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจหรือไม่
 
4.แฟรนไชส์ซีได้รับการช่วยเหลืออย่างไร
 

ภาพจาก แฟรนไชส์ สติวปิด ฟราย
 
ก่อนซื้อแฟรนไชส์ควรศึกษาและสอบถามแฟรนไชส์ซีรายอื่นที่เปิดร้านมาก่อน เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในการซื้อและดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง แฟรนไชส์ซอร์หรือเจ้าของแฟรนไชส์ให้การช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้อย่างไรบ้าง ตลอดจนการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้เติบโตอย่างไรบ้าง รวมไปถึงรายได้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายแฟรนไชส์ที่ลงทุนไปหรือไม่
 
5.งบประมาณและเงินลงทุนต้องจ่ายล่วงหน้า
 

ภาพจาก แฟรนไชส์ บะหมี่เกี๊ยว เฮียลิ้ม 

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องประเมินหรือพิจารณาเงินทุนของตัวเอง มีเพียงพอกับงบประมาณในการซื้อแฟรนไชส์หรือไม่ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์ล่างหน้า ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee), เงินค่าประกัน, ค่าตกแต่งร้าน, ค่าเช่าพื้นที่ เป็นต้น  
 
6.จำนวนเงินที่จำเป็นภายใต้สภาวะที่เลวร้าย
 

ภาพจาก แฟรนไชส์ ราดหน้ากัญเอง

นอกจากจำนวนเงินที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายล่วงหน้าแล้ว ยังต้องทำการประเมินเงินที่จำเป็นต้องใช้ภายใต้สถานการณ์ที่เลวร้ายหรือคาดไม่ถึง อาจเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือเงินเก็บที่สามารถนำออกมาใช้ในระยะเวลา 3- 5 เดือนข้างหน้าได้ หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน อาทิ อุทกภัย เศรษฐกิจถดถอย การชุมนุมประท้วง การระบาดโควิด-19 เป็นต้น 
 
7.ศึกษาสัญญาแฟรนไชส์อย่างละเอียด
 

ภาพจาก แฟรนไชส์ กลับตานี (โรตีชาชักกัญชาเจ้าแรกในประเทศไทย)

ควรศึกษาและดูเงื่อนไขต่างๆ ในสัญญาแฟรนไชส์อย่างละเอียดก่อนซื้อแฟรนไชส์ เพราะไม่รู้ว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะเขียนสัญญาหรือทำเงื่อนไขอะไรให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เสียเปรียบหรือไม่ ดังนั้น ต้องตรวจสอบเงื่อนไขและข้อปฏิบัติต่างๆ ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเฉพาะเงื่อนไขข้อกำหนดให้แฟรนไชส์ซีและแฟรนไชส์ซอร์ต้องทำและห้ามทำ เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาแฟรนไชส์ สามารถทำการฟ้องร้องอีกฝ่าย หรือยกเลิกสัญญาได้
 
นั่นคือ แนวทางการประเมินธุรกิจแฟรนไชส์ ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังมองธุรกิจแฟรนไชส์ไปเริ่มต้นธุรกิจ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ในช่วงการระบาดโควิด-19 ครับ
#ท่านใดสนใจทำแฟรนไชส์ หรือซื้อแฟรนไชส์อย่างถูกต้อง สมัครคอร์สเรียนขายดี https://www.thaifranchisecenter.com/seminar/index.php
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

 
ข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 
 

Franchise Tips
  1. ชื่อเสียงและความรับผิดชอบแฟรนไชส์ซอร์
  2. ความต้องการสินค้าหรือบริการ
  3. ประเมินยอดขาย / ผลกำไร
  4. แฟรนไชส์ซีได้รับการช่วยเหลืออย่างไร
  5. งบประมาณและเงินลงทุนต้องจ่ายล่วงหน้า
  6. จำนวนเงินที่จำเป็นภายใต้สภาวะที่เลวร้าย
  7. ศึกษาสัญญาแฟรนไชส์อย่างละเอียด
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
23,221
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,112
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,998
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,852
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,246
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,196
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด