บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.7K
3 นาที
3 ธันวาคม 2564
เริ่มต้นทำธุรกิจ อยากทำแฟรนไชส์แบบไหน Red Ocean VS Blue Ocean 
 

ถ้าถามคนในแวดวงธุรกิจว่ารู้จัก Red Ocean กับ Blue Ocean หรือไม่ คงคิดว่าไม่น่าจะมีใครไม่รู้จัก เพราะเป็นลักษณะของสภาพการแข่งขันของตลาด เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดย Red Ocean เป็นสภาพตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง มีคู่แข่งจำนวนมาก ทุกบริษัทต้องแข่งขันดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ส่วน Blue Ocean เป็นสภาพตลาดที่ยังมีการแข่งขันกันน้อย ลูกค้ายังไม่มีความต้องการสินค้าตัวใหม่ ผู้ประกอบการต้องหาทางสร้างความต้องการของตลาดขึ้นมาเอง หากสร้างได้ธุรกิจจะอยู่ได้ยั่งยืน ซึ่งในแต่ละตลาดมีข้อดี-ข้อเสีย และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป 
 
แต่ถ้าถามว่าเจ้าของธุรกิจที่อยากทำแฟรนไชส์ ควรเริ่มต้นแฟรนไชส์ในตลาดแบบไหน Red Ocean กับ Blue Ocean วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะวิเคราะห์และแนะนำแนวทางให้นำไปพิจารณาก่อนตัดสินใจทำแฟรนไชส์กันครับ 

แฟรนไชส์เรดโอเชี่ยน (Red Ocean Franchise Business)
 

ธุรกิจของคุณเป็นหนึ่งในธุรกิจจำนวนมากที่ขายสินค้าเหมือนกันกับรายอื่นๆ ในตลาด และทุกธุรกิจแต่ละแบรนด์ก็ต้องแข่งขันดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด เราจะเห็นได้ว่าตลาด Red Ocean มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง มีธุรกิจจำนวนมากขายสินค้าและบริการแบบเดียวกัน โอกาสการเติบโตของธุรกิจจึงเป็นไปได้ช้า และธุรกิจใหม่ๆ ที่อยากเข้าไปในตลาดอาจเกิดขึ้นได้ยากจากสภาพการแข่งขันอย่างบ้าเลือด บางครั้งธุรกิจอาจจะไม่ได้กำไรอะไรมากนัก
 
เพราะธุรกิจส่วนใหญ่ที่อยู่ในตลาด Red Ocean จะดำเนินกลยุทธ์การตลาดแบบต้องการเอาชนะคู่แข่ง จึงต้องมุ่งเน้นในด้าน “ราคา” เป็นหลัก โดยแต่ละธุรกิจที่อยู่ในตลาดจะมีความแตกต่างกันน้อย ขายสินค้าเดียวกัน ทำให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์น้อยมาก เพราะมีตัวเลือกเยอะ ใครเสนอราคาที่ถูกกว่า ลูกค้าก็พร้อมที่จะเปลี่ยนใจไปหาทันที

 
กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง Red Ocean จึงเปรียบเสมือนสนามรบที่มีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์แบบ มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงจนต่างฝ่ายต่างเสียเลือดเนื้อมากมาย จนน่านน้ำกลายเป็นสีแดง ทุกธุรกิจต่างมุ่งหน้าไปสู่น่านน้ำสีแดง ความต้องการของผู้บริโภคมีสูง ในตอนแรกธุรกิจอาจจะมีกำไรที่มากกว่าปกติ แต่เมื่อแบรนด์อื่นๆ เริ่มเห็นโอกาสทางธุรกิจ ธุรกิจรายใหม่ได้เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่ง จึงทำให้รายเก่าต้องลดราคาลงมาแข่งขันเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดไว้  
 
ตัวอย่างธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยู่ในน่านน้ำสีแดง ได้แก่ แฟรนไชส์ชาราคาเดียว 25 บาท ช่วงแรกๆ เมื่อ 3-4 ปีก่อน น่าจะมีมากกว่า 30 แบรนด์ แต่จากการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ความแตกต่างของแต่ละแบรนด์มีน้อย ราคาเดียวกัน รสชาติไม่แตกต่างกัน จึงทำให้ปัจจุบันน่าจะเหลือไม่กี่แบรนด์ที่อยู่รอดได้ เพราะนักลงทุนสนใจซื้อแฟรนไชส์น้อย ไม่คุ้มค่า 
 
แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก อีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่กำลังมาแรงในเมืองไทย ถือว่าอยู่ในตลาดน่านน้ำสีแดงเช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีเกือบๆ 40 แบรนด์ทั้งแบรนด์ในประเทศและต่างประเทศ ใช้เงินลงทุนสูง แต่ด้วยระบบเทคโนโลยีต่างๆ ของเครื่องซักผ้าแทบไม่แตกต่างกันจึงทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีตัวเลือกเยอะ หากแบรนด์ไม่แข็งแกร่ง ไม่น่าเชื่อถือ ก็อยู่รอดยาก
 

ยังมีแฟรนไชส์ร้านค้าราคาเดียว 20 บาท ปัจจุบันเหลือไม่กี่แบรนด์ที่ได้รับความนิยมและเปิดดำเนินธุรกิจอยู่ เนื่องจากมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง สินค้าและบริการไม่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถอยู่รอดได้ 

นอกจากนี้ ยังมีแฟรนไชส์การศึกษา แฟรนไชส์ชานมไข่มุก แฟรนไชส์ขนส่งพัสดุ ซึ่งแฟรนไชส์เหล่านี้มีการแข่งขันกันสูงมาก ใครอยู่รอดได้จะต้องมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ    
 
ดังนั้น เจ้าของธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์แข่งขันในตลาด Red Ocean ต้องสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอร่อย บริการดี คุ้มค่าแก่การลงทุน มีระบบการสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นอย่างดี 

 
รวมแฟรนไชส์สินค้าราคาเดียว คลิก https://bit.ly/3nWLOdC


รวมร้านแฟรนไชส์ชานมไข่มุก คลิก https://bit.ly/3Ay8551  

 
รวมแฟรนไชส์ไปรษณีย์เอกชน, ส่งพัสดุ, ขนส่ง, จุดชำระบิลออนไลน์คลิก https://bit.ly/3CFa6x7 

 
รวมแฟรนไชส์สถาบันสอนภาษาอังกฤษ คลิก https://bit.ly/3AvACbq

แฟรนไชส์บลูโอเชี่ยน (Blue Ocean Franchise Business)
 

ตลาดที่ยังไม่มีการแข่งขัน เพราะว่ายังไม่มีความต้องการสินค้าตัวใหม่ในตลาดใหม่ ต้องหาทางสร้างความต้องการขึ้นมาให้ได้ ด้วยการนำเสนอคุณค่าให้เกิดขึ้นกับตัวลูกค้า รวมถึงการพยายามลดต้นทุนสินค้า และกระบวนการดำเนินธุรกิจจากการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาใช้ จึงจะช่วยให้สามารถเอาชนะคู่แข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 
โดยหลักการของตลาดน่านน้ำสีคราม หรือ Blue Ocean จะไม่มุ่งเน้นไปที่การตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่มีอยู่ในตลาด แต่จะมุ่งเน้นในการสร้างความต้องการ หรืออุปสงค์ขึ้นมา กล่าวคือ มุ่งเน้นการหาตลาดใหม่ นำเสนอความต้องการใหม่ แทนที่จะแข่งขันกันอย่างดุเดือดในตลาดเดิม ซึ่งตรงกันข้ามกับ Red Ocean
 
 
กลยุทธ์ Blue Ocean ธุรกิจจะต้องสรรหาสินค้าและบริการที่ตอบสนองลูกค้า เพื่อทดแทนของเก่าที่ลูกค้าเพียงแค่จำเป็นต้องใช้ แต่กลยุทธ์ที่ดูดีแบบนี้ก็มีข้อพึงระวังก็คือ หากธุรกิจหาของที่เราคิดไปเองว่าจะทดแทนของเก่าได้ แต่ข้อเท็จจริงแล้วมันไม่ใช่ เราก็จะต้องเจ็บตัวอย่างหนัก ยิ่งมั่นใจมากก็จะยิ่งเจ็บตัวมาก
 
ธุรกิจที่ต้องการทำตลาด Blue Ocean จะหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่มีคู่แข่งจำนวนมาก ด้วยการสร้างฐานลูกค้าผ่านการเปลี่ยนความต้องการเดิมจากสินค้าในตลาด Red Ocean เป็นความต้องการใหม่ในสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ดีกว่า ถ้าธุรกิจเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองข้ามได้ ก็จะเป็นธุรกิจแรกๆ ที่เข้าสู่ Blue Ocean ได้โดยง่ายดาย
 
ตัวอย่างของธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยู่ในตลาด Blue Ocean ได้แก่ แฟรนไชส์อาหารฮาลาล, แฟรนไชส์เวนดิ้งแมซชีน, แฟรนไชส์ดูแลผู้สูงอายุ, แฟรนไชส์บริการทำความสะอาด, แฟรนไชส์สเต็มเซลล์, แฟรนไชส์บิทเทรด, แฟรนไชส์ขายออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งแฟรนไชส์เหล่านี้ยังมีน้อยมากในเมืองไทย แต่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ 
 
 
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการธุรกิจต้องคำนึงถึงด้วยว่า ธุรกิจหรือนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าเกิดความต้องนั้น มันใช้ได้ผลหรือไม่ เพราะหากกระแสจุดไม่ติด นอกจากจะขายสินค้าไม่ได้ตามเป้าแล้ว ยังเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์
 
นั่นคือ ข้อดี-ข้อเสีย รวมถึงความแตกต่างของการทำธุรกิจในตลาด Red Ocean และ Blue Ocean ผู้ประกอบการที่อยากทำแฟรนไชส์ต้องศึกษาและวิเคราะห์ให้ดีว่า จะทำธุรกิจแฟรนไชส์เข้าสู่การแข่งขันในตลาดแบบไหน หากตลาด Red Ocean ไม่มีจุดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งก็อยู่ไม่รอด แต่ถ้า Blue Ocean สร้างความต้องให้ลูกค้าไม่ได้ ก็เจ๊ง 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,642
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,763
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,349
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,911
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด