บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.6K
2 นาที
15 ธันวาคม 2564
เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ มีรายได้จากทางไหนบ้าง
 

หลากหลายแฟรนไชส์มักมีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ จากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าการตลาด ค่าสิทธิ ค่าประกัน ค่าบริหารจัดการ ค่าสินค้าและบริการ และอื่นๆ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์จะอยู่ในแฟรนไชส์ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงนำเงินไปพัฒนาธุรกิจและสนับสนุนแฟรนไชส์
 
ถ้าถามว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะมีรายได้จริงๆ จากไหนบ้าง วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ
 
1.ค่าแฟรนไชส์ หรือ Franchise Fee 
 

รายได้ส่วนแรกมาจากค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise Fee) ที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเก็บจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ เป็นค่าเปิดทางให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นค่าซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้มีสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า เทคโนโลยี องค์ความรู้ สูตรความสำเร็จ ซึ่งแบรนด์แฟรนไชส์ใหญ่ๆ ที่มีระบบแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐานจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้าน เป็นเงินเรียกเก็บครั้งเดียว
 
2.ค่าสิทธิต่อเนื่อง หรือ Royalty Fee 
 

เป็นรายได้ส่วนที่สองของเจ้าของแฟรนไชส์ที่จะต้องเรียกเก็บจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ถือว่าค่าจงรักภัคดีของผู้ซื้อแฟรนไชส์ และเป็นหลักประกันว่าตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์ยังคงสนใจที่จะร่วมทำธุรกิจกับทางแบรนด์อยู่ โดยมากมักเรียกเก็บจากส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์ยอดขายรายเดือน (3-6%) เพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมไปด้วยกันว่าทั้งแฟรนไชส์วอร์และแฟรนไชส์ซียังคงร่วมธุรกิจไปด้วยกัน ค่าสมาชิกรายปีไม่ใช่เงินกินเปล่า เพราะเงินส่วนนี้ทางแฟรนไชส์วอร์จะนำไปพัฒนาแบรนด์ต่อไป
 
3.ค่าการตลาด หรือ Marketing Fee
 

ค่าการตลาดเป็นค่าสิทธิ์อีกอย่าง ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องจ่ายต่อเนื่องให้กับแฟรนไชส์ซอร์เหมือน Royalty Fee ถือเป็นค่าใช้จ่ายในกาทำตลาด สร้างแบรนด์ สร้างการรับรู้ เพื่อให้กลุ่มผู้บริโภคได้รู้จักตราสินค้า เพราะเป็นหัวใจของการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ต้องทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สนใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์แฟรนไชส์ โดยปกติทั่วไปแล้วเจ้าของแฟรนส์จะเรียกเก็บค่า Marketing Fee ประมาณ 3-5% ของยอดขายรายเดือนเช่นเดียวกัน 
 
4.ค่าโฆษณา หรือ Advertising Fee
 

เป็นรายได้ที่เจ้าของแฟรนไชส์อาจต้องเก็บจากผู้ซื้อแฟรนไชส์รายเดือน ประมาณ 1-3% ของยอดขาย คล้ายๆ กับMarketing Fee เพื่อนำไปใช้ในการโฆษณาสินค้าหรือบริการตามสื่อต่างๆ แต่รายได้ในส่วนนี้เจ้าของแฟรนไชส์อาจจะเรียกเก็บหรือไม่เก็บก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักว่า สาขาแฟรนไชส์แต่ละแห่งมีสินค้าอะไรใหม่ๆ หรือลดราคาบ้าง รวมถึงการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายกระตุ้นให้ลูกค้าอยากซื้อ  
 
5.ค่าสินค้าและวัตถุดิบ 
 

เป็นรายได้อีกส่วนหนึ่งที่เจ้าของแฟรนไชส์จะได้รับจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ เช่น ถ้าเป็นแฟรนไชส์เครื่องดื่ม ชา กาแฟ เจ้าของแฟรนไชส์ก็จะจัดส่งผลิตภัณฑ์ชาผง ผงกาแฟ หรือเมล็ดกาแฟ แก้ว ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ เพื่อคงคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน หรือถ้าเป็นแฟรนส์อาหาร เจ้าของแฟรนไชส์ก็จะจัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบในการปรุงอาหารให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ เป็นต้น 
 
6.ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน 
 

บางแฟรนไชส์ที่มีระบบแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐาน อย่างเช่น ร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน จะเรียกเก็บเงินค่าดำเนินการก่อนเปิดร้านรวมถึง ค่า Set up ร้าน, ค่าฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารร้านเปิดใหม่, ค่า On the Job Training รวมถึงค่าสำรวจพื้นที่จากผู้ซื้อแฟรนไชส์ราวๆ ประมาณ 80,000 บาท แต่หลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์อาจจะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้  

7.ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) 
 

หลายแบรนด์แฟรนไชส์ที่มีระบบการบริหารจัดร้านที่เป็นมาตรฐาน โดยเฉพาะระบบการชำระเงินต่างๆ บริเวณหน้าร้าน ส่วนใหญ่จะมีรายได้จากการให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เช่าเครื่อง Point of Sale (POS) เป็นรายปี เพื่อความสะดวกสบายในการขาย เช็คข้อมูลสินค้า บริการรวดเร็วทันใจ ช่วยวางแผนโปรโมชั่น เช็คสต็อกสินค้าได้ เช็คยอดขายได้ตลอดเวลา ฯลฯ  
 
นั่นคือ รายได้ 7 ช่องทางที่เจ้าของธุรกิจจะได้จากการขายแฟรนไชส์
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บริการของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ (Service of ThaiFranchiseCenter) คลิก https://bit.ly/3oYpocc


Franchise Tips
  1. ค่าแฟรนไชส์ หรือ Franchise Fee
  2. ค่าสิทธิต่อเนื่อง หรือ Royalty Fee
  3. ค่าการตลาด หรือ Marketing Fee
  4. ค่าโฆษณา หรือ Advertising Fee
  5. ค่าสินค้าและวัตถุดิบ
  6. ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน
  7. ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,707
ส่อง 76 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
6,112
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,753
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,649
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
860
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
833
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด