บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    เทรนด์ฮิตแฟรนไชส์
3.2K
5 นาที
4 มกราคม 2565
ส่อง! ธุรกิจแฟรนไชส์ ดาวรุ่ง - ดาวร่วง ปี 2022 ซื้อแฟรนไชส์ให้ถูกเทรนด์


ต้องยอมรับว่าการระบาดโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ และการใช้ชีวิตของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง หลายๆ ธุรกิจจำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจและการระบาดของโรคที่ยังไม่คลี่คลาย แม้แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่ามักจะมีการเติบโตสวนกระแสธุรกิจทั่วๆ ไป ยังต้องมองหาโอกาสการเติบโตใหม่ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคและสอดรับกับเทรนด์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น 
 
ใครที่อยากรู้ว่าในปี 2565 มีเทรนด์แฟรนไชส์อะไรเกิดขึ้นบ้าง รวมถึงธุรกิจแฟรนไชส์อะไรที่มาแรงและเป็นดาวรุ่ง วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาค้นหาคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟรนไชส์ชั้นนำของเมืองไทยครับ
 
แฟรนไชส์ “อาหาร-เครื่องดื่ม” เติบโตต่อ “สะดวกซัก” ทรงตัว
 

“อ.สุชาติ กิติเฉลิมเกียรติ” ที่ปรึกษาอาวุโส ธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์ เปิดเผยถึงภาพรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทยตลอดปี 2564 ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 สำหรับในปี 2565 หากมีการระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน จะกระทบต่อธุรกิจแฟรนไชส์เหมือนธุรกิจอื่นๆ หากแฟรนไชส์รายใหญ่ที่มีสายป่านยาวหรือเงินทุนจำนวนมากก็อยู่รอดได้ ส่วนแฟรนไชส์รายเล็กที่มีสายป่านสั้นก็ต้องหาเงินทุนเพื่อประคับประคองให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ 
 
การปรับตัวของธุรกิจแฟรนส์ในปี 2565 เจ้าของแฟรนไชส์ต้องย้อนกลับไปดูตั้งแต่เริ่มแรกของการระบาดโควิด-19 ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองปรับตัวได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงวิธีการดำเนินธุรกิจในช่วงที่ผ่านมายังใช้ได้อยู่หรือไม่ ถ้ายังใช้ไม่ได้ก็ต้องเตรียมตัวปรับรอบใหม่อีกครั้งหากเกิดการระบาดของโอไมครอนในปีหน้า เพราะทางบริษัท ไฟเซอร์ฯ มองว่าโควิด-19 จะอยู่กับเราไปจนถึงปี 2567 ทำให้เศรษฐกิจและการทำธุรกิจมีความยากลำบาก ธุรกิจต้องประคองตัวให้อยู่รอด
 
สำหรับแนวทางการปรับตัวของธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องสรุปบทเรียนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาให้ได้ นอกจากแฟรนไชส์ซอร์จะพัฒนาและช่วยเหลือตัวเองแล้ว ยังต้องหาทางช่วยช่วยเหลือและให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีด้วย เพราะที่ผ่านมาสาขาแฟรนไชส์ซีก็ปิดตัวลงไปเยอะ เพราะประสบปัญหาในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียนและการบริหารจัดการ 
 
แม้บางแบรนด์แฟรนไชส์ไม่เก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ แต่ก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ ในฐานะแฟรนไชส์ซีไม่ควรตั้งความหวังในการลงทุนแฟรนไชส์ไว้ให้มากนัก เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์อย่างเคร่งครัด
 
สำหรับการปรับตัวของธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2565 ผู้ประกอบการต้องรู้จักนำนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำตลาด การทำธุรกรรมทางการเงินให้มีความทันสมัย และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค 
 
ส่วนแฟรนไชส์มาแรง ยังเป็นนธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มยังเติบโตต่อเนื่องเช่นเดิม ส่วนธุรกิจอื่นๆ ยังไม่หวือหวามากนัก แม้แต่ธุรกิจร้านสะดวกซักที่มาแรงในช่วงปีที่ผ่านมาก็จะทรงๆ ตัว แต่จะมีแบรนด์เล็กๆ เกิดใหม่เพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจการศึกษาจะอยู่ยากลำบากมากกว่าธุรกิจอื่นๆ หากไม่สามารถปรับตัวและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้น่าสนใจได้ 
   
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องเลือกธุรกิจที่ตัวเองชอบ เพราะจะทำให้แฟรนไชส์ที่ซื้อประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น และต้องศึกษาหาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบ หาทำเลที่ใช่ รวมถึงระบบการช่วยเหลือและสนับสนุนจากแฟรนไชส์ซอร์       
 
ล็อกดาวน์ ไม่ล็อกดาวน์ “อาหาร-เครื่องดื่ม” ยังเป็นดาวรุ่ง
 

อ.สุภัค หมื่นนิกร ผู้ก่อตั้งสถาบันธุรกิจอาหารแฟรนไชส์ เปิดเผยถึงช่วงหลังโควิด-19 คลี่คลาย เชื่อว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทยจะมีการเติบโตมากที่สุดตลอดช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เพราะช่วงโควิด-19 ร้านอาหารถูกล็อกดาวน์ แต่พอโควิด-19 คลี่คลาย แฟรนไชส์ซอร์จะขยายสาขาทั่วประเทศ แต่ที่ผ่านมาพบว่าสาขาแฟรนไชส์ที่โดนล็อกดาวน์มีไม่ถึงครึ่งประเทศ เพราะฉะนั้นธุรกิจแฟรนไชส์ก็สามารถเปิดดำเนินการต่อไปได้ 
 
ขณะเดียวกันอีกในแง่มุมหนึ่ง Product Franchise มีแบรนด์ใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ดึงดูดคนตกงานที่อยากมีอาชีพและรายได้เพิ่ม ส่วนแฟรนไชส์โมเดลใหญ่ลงทุนหลักล้านบาท เช่น เขียง เชสเตอร์กริล แบล็คแคนยอน ยิ่งเกิดการระบาดโควิด-19 ก็ยิ่งหาช่องทางขายแฟรนไชส์ให้ได้จำนวนมาก ส่วนร้านขนม ร้านเครื่องดื่มก็จะมีแบรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากขึ้น
 
สมมติว่าหากไวรัสโอไมครอนระบาดมากขึ้นในปี 2565 ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจแฟรนไชส์มากนัก อาจจะกระทบบ้างในช่วง 1-3 เดือนแรก เพราะบริษัทแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ได้มีการปรับตัวและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งการสร้างทีมงาน ออกบูธ ทำการตลาดเพื่อเดินหน้าขายแฟรนไชส์มาตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา  
 
สำหรับการเตรียมความพร้อมของเจ้าของแฟรนไชส์ ต้องเตรียมทีมงานให้แข็งแกร่งและระบบแฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐานคอยช่วยเหลือสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้อยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ รวมถึงปรับธุรกิจเข้าสู่ดิจิทัลและเดลิเวอรี่มากขึ้น เปิดตลาดใหม่ พัฒนาสินค้าและเมนูใหม่ๆ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า   
 
เทรนด์และแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ที่คาดว่ามาแรงและมีโอกาสเติบโตมากที่สุดในปี 2565 ไม่ว่ารัฐบาลจะมีการล็อกดาวน์หรือไม่ล็อกดาวน์ก็ตาม เชื่อว่าประชาชนทุกคนยังต้องกินต้องใช้ เพราะฉะนั้นธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มยังคงเป็นดาวรุ่งเสมอ อาทิ ร้านอาหารขนาดเล็ก ร้านเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ขนมหวาน ฯลฯ
 
ถัดมาเป็นแฟรนไชส์ที่เน้นบริการตัวเอง Self Service ไม่ว่าจะเป็นเวนดิ้ง แมชชีน ตู้หยอดเหรียญ ซักอบรีดเสื้อผ้า ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายของลูกค้าลงได้ ต่อมาเป็นแฟรนไชส์การศึกษาที่หลังจากปรับเรียนรูปแบบออนไลน์ ก็จะมาเป็นออฟไลน์มากขึ้น หลังจากระบบการเรียนออนไลน์ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก  
 
ส่วนแฟรนไชส์ด้านการขนส่ง โลจิสติกส์ หากเป็นผู้ประกอบการรายเล็กอาจแข่งขันกับรายใหญ่ๆ ได้ยาก โดยเฉพาะในเรื่องต้นทุนการบริหารจัดการที่จะสูงกว่าแบรนด์ใหญ่ๆ เพราะแบรนด์ที่ให้บริการในปัจจุบันล้วนเป็นแบรนด์ระดับโลกมีทีมงานและระบบที่ได้มาตรฐานสากล 
 
ส่วนแฟรนไชส์ดาวร่วงที่คาดว่าจะลดความนิยมในปี 2565 ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจ Full Service ที่ไม่ใช่อาหาร อาทิ ธุรกิจคาร์แคร์ที่ใช้คนจำนวนมาก, ธุรกิจการศึกษาที่สอนในห้อง และธุรกิจอื่นๆ ที่ใช้การรวมกลุ่มกันจำนวนมาก 
 
เจ้าของธุรกิจที่อยากขายแฟรนไชส์ ต้องสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง อย่าเอาสินค้ามาเป็นชื่อเพราะมีคนทำเยอะ ชื่อต้องแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ธุรกิจต้องมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ ความเป็นมาวัตถุดิบ เป็นต้น 
 
ธุรกิจใช้คนน้อย “ร้านสะดวกซัก, เดลิเวอรี่, Express, เวนดิ้ง เเมชชีน” ได้ไปต่อ 
 

“อ.พงศ์พันธ์ วีรพันธุ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิสิเนส โค้ช แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด เปิดเผยถึงภาพรวมแฟรนไชส์ในเมืองไทยตลอดทั้งปี 2564 เติบโตเพิ่มจากปีที่ผ่านมา 3-4% ธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยู่รอดได้เพราะมีการปรับตัวนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ทั้งแพลตฟอร์มอาหาร ร้านอาหารปรับไซส์เล็กลง สั่งออนไลน์ เดลิเวอรี่ เปลี่ยนทำเลออกนอกห้าง เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดห้าง และปรับเปลี่ยนรูปแบบเดลิเวอี่ได้สะดวกขึ้น ส่วนธุรกิจค้าปลีก สุภาพและความงาม อาหารเสริม ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคโควิด-19 น่าจะมีการเติบโตอยู่บ้างเช่นเดียวกัน 
 
สำหรับปี 2565 หากโอไมครอนไม่ระบาดหนัก คาดว่าประมาณไตรมาส 2 สถานการณ์ธุรกิจแฟรนไชส์น่าจะเริ่มดีขึ้นในภาพรวม โดยแฟรนไชส์ที่จะมาแรงต่อจากปีที่แล้ว อาทิ ร้านสะดวกซัก, เดลิเวอรี่, Express, เวนดิ้ง เมชชีน ธุรกิจที่ใช้คนน้อยจะไปต่อได้ ส่วนอาหารแนวสตรีทฟู้ด อาจารจานด่วน, เดลิเวอรี่, Grab & Go, แพลตฟอร์มออนไลน์ ก็จะโตต่อเนื่อง
 
ส่วนธุรกิจค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้บริโภคซื้อได้ง่ายและมีความสะดวกสบายขึ้นก็จะมีการเติบโต รวมถึงธุรกิจสุขภาพและความงาม นอกจากนี้ธุรกิจที่ทำแพ็คเกจจิ้งต่อเนื่องกับธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มก็จะได้รับอานิสงค์จากการเติบโตธุรกิจอาหาร ขณะที่ธุรกิจด้านการศึกษา การสอนติวเตอร์ ต้องปรับเป็นออนไลน์ให้น่าสนใจมากขึ้น 
 
เจ้าของธุรกิจที่อยากขายแฟรนไชส์ ทำแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ลงทุนน้อย จะเกิดได้ง่าย แต่ไม่ยั่งยืน เพราะคนตกงานอยากหารายได้เสริม แต่ถ้าคนมีความรู้จะเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่มีระบบมาตรฐาน ลงทุนอาจจะสูง แต่ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ แต่ถ้าจะขายแฟรนไชส์ในปีหน้าควรทำขนาดไซส์เล็กลง ออกนอกห้าง ลงทุนต่ำ จะดึงดูดผู้ลงทุนง่าย 
 
สำหรับคนอยากซื้อแฟรนไชส์ ต้องเลือกแฟรนไชส์ที่มีโอกาสอยู่รอด มียอดขายและกำไร สินค้าและบริการได้รับความนิยมจากผู้บริโภค รวมถึงธุรกิจที่มีระบบการสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา 
 
เทรนด์แฟรนไชส์ “สุขภาพ ความงาม ออนไลน์ โลจิสติกส์” มาแรง!!  
 

“อ.อมร อำไพรุ่งเรือง” ที่ปรึกษาธุรกิจแฟรนไชส์ เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์ไทยตลอดช่วงปี 2564 ถือว่าดีกว่าปี 2563 เพราะผู้ประกอบการแฟรนไชส์ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โควิด-19 ได้ แต่จะเห็นได้ว่ารูปแบบการทำธุรกิจต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ร้านอาหารเดิมให้นั่งทานในร้านได้ ก็เปลี่ยนมาเป็นบริการเดลิเวอรี่และซื้อกลับบ้านมากขึ้น ขณะเดียวกันทำเลที่ตั้งของร้านจะเป็นแบบ Stand Alone ขนาดของร้านอาหารจะเล็กลง และย้ายทำเลออกมาเปิดสาขานอกห้างมากขึ้น 
 
สำหรับเทรนด์ธุรกิจมาแรงในปี 2565 ก็ยังเป็นเรื่องของสุขภาพ ความงาม แพลตฟอร์มออนไลน์ การทำคอนเทนท์ ยูทูปเบอร์ ขนส่งและโลจิสติกส์ เดลิเวอรี่ ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่งที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2565 ก็ยังคงเป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มแต่ต้องมีคอนเซ็ปต์ มีช่องการขายมากกว่านั่งทานในร้าน นอกจากนั้นเป็นร้านสะดวกซัก ธุรกิจบริการ ค้าปลีก 
 
สำหรับคนที่สนใจลงทุนแฟรนไชส์ในปี 2565 อย่างแรกต้องศึกษาและดูว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจมีคอนเซ็ปต์และเอกลักษณ์ที่ชัดเจนหรือไม่ สินค้าและบริการแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด มีระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี และมีช่องทางการขายมากกว่าการนั่งทานในร้าน เพื่อจะไม่ได้รับผลกระทบหากมีการล็อกดาวน์หรือห้ามรับประทานในร้าน โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการซื้อแฟรนไชส์ควรเป็นช่วงหลังไตรมาสแรก ที่สำคัญต้องสำรวจเงินลงทุนและเงินทุนหมุนเวียนให้เพียงพอ 
 
ปี 65 ไม่ล็อกดาวน์ คาดธุรกิจแฟรนไชส์เติบโต 15-20%
 

“อ.สิทธิชัย ทรงอธิกมาศ” ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ เปิดเผยถึงภาพรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ตลอดช่วงปี 2564 ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ไม่ต่างจากธุรกิจทั่วๆ ไป โดยเฉพาะธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถสู้กับสภาวะเศรษฐกิจได้ก็ต้องปิดการ ลดจำนวนสาขา ส่วนแบรนด์แฟรนไชส์ที่อยู่รอดได้ ก็ไม่สามารถทำยอดยอดขายในช่วงล็อกดาวน์ได้ ขณะที่แฟรนไชส์ขนาดกลางไปถึงใหญ่ที่มีระบบมาตรฐาน จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าแฟรนไชส์ขนาดเล็ก แม้กิจการอยู่ได้แต่ยอดขายลดลง และมีการปรับลดจำนวนพนักงาน
 
สำหรับในปี 2565 คาดว่าธุรกิจแฟรนไชส์จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะการเรียนรู้และปรับตัวของสังคมไทย มีการฉีดวัคซี สวมหน้ากาป้องกัน เว้นระยะห่าง อีกทั้งธุรกิจแฟรนไชส์จะมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มีประสบการณ์มาตั้งแต่ปี 2563-2564 รู้จักปรับตัวอยู่คู่กับโรค หากไม่ล็อกดาวน์ ก็ทำให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้ 
 
แฟรนไชส์จะมีการเติบโตได้ดีกว่าธุรกิจปกติทั่วไปหากไม่ถูกล็อกดาวน์ เพราะแฟรนไชส์โอกาสให้กับคนตกงานที่อยากมีอาชีพและคนที่อยากหารายได้เพิ่ม ช่วงภาวะเศรษฐกิจไม่ดีธุรกิจแฟรนไชส์จะให้โอกาสกับคนจำนวนมาก ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีจะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโตประมาณ 10-15% แต่ถ้าในปี 2565 รัฐบาลไม่ล็อกดาวน์จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโต 15-20% แต่ถ้าโอไมครอนระบาดจนกระทบเศรษฐกิจจะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์โตอย่างน้อย 10% ไม่เกิน 15%   
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีมาแรงในปี 2565 ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม บริการ อุปโภค-บริโภค เบเกอรี่ แต่ถ้าแยกขนาดของแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ขนาดเล็กในช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงตอนแรก เพราะคนตกงานจะกลับมาลงทุน อีกทั้งมีเงินทุนน้อย จึงนิยมหาแฟรนไชส์ขนาดเล็กลงทุนก่อนเปิดร้านง่าย หารายได้เร็ว แต่จะได้รับผลกระทบและมีปัญหาในช่วงการขยายสาขาจำนวนมาก เพราะระบบการดูแลสาขาแฟรนไชส์ไม่ทั่วถึง ควบคุมมาตรฐานไม่ได้เพราะโตเร็ว
 
เพราะฉะนั้น แฟรนไชส์ที่จะอยู่รอดได้ต้องสามารถปรับตัวเข้ากับสภาวะเศรษฐกิจ และการระบาดโควิด-19 ได้ดี รวมถึงการพัฒนาโมเดลแฟรนไชส์ให้มีความทันสมัยรองรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะแฟรนไชส์ขนาดเล็กหากปรับตัวได้เร็วก็จะเกิดผลดี รู้จักนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะระบบการชำระเงินออนไลน์ 
 
“เวนดิ้ง แมชชีน – หยอดเหรียญ – ออนไลน์” เป็นที่หมายปองนักลงทุน
 

"คุณณรินณ์ทิพ วิริยะบัณฑิตกุล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเพิลมีเดีย กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดแฟรนไชส์ตลอดปี 2564 ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะเรื่องของยอดขายที่ลดลง เนื่องจากรัฐบาลออกมาตรการล็อกดาวน์ ห้ามนั่งในร้าน หรือห้างปิดชั่วคราว โดยแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ 40% เป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เมื่อห้ามนั่งในร้านหรือปิดร้านก็ทำให้ขายไม่ได้ บางแฟรนไชส์ถึงกับต้องปิดสาขา
 
แม้ธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์จะปิดสาขา แต่ภาพโดยรวมของตลาดแฟรนไชส์มีการขยายตัว เนื่องจากคนตกงานต้องการหาอาชีพใหม่ด้วยการซื้อแฟรนไชส์ ทำให้แฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์มีการขยายสาขาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะแฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม ค้าปลีก บริการ มีทั้งแฟรนไชส์ขยายสาขาเพิ่มและแฟรนไชส์เกิดใหม่ 
 
สำหรับเทรนด์แฟรนไชส์ที่เติบโตในปี 2564 ส่วนใหญ่เป็นร้านที่ใช้คนน้อย ไม่ว่าจะเป็น เวนดิ้ง แมชชีน ตู้หยอดเหรียญ ร้านสะดวกซัก ตู้กาแฟ ตู้เครื่องดื่มกัญชา ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ส่วนเทรนด์แฟรนไชส์ปี 2565 ธุรกิจเหล่านี้ก็ยังได้รับความสนใจจากนักลงทุน รวมถึงเทรนด์แฟรนไชส์ที่ออกเหรียญและรับชำระเงินด้วยเหรียญดิจิทัล และเทรนด์ออนไลน์ 
 
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากทำแฟรนไชส์ ควรจะมีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจน มีระบบบริหาร มีคู่มือธุรกิจที่ชัดเจน มีระบบสนับสนุนแฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐาน ในส่วนของผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ต้องดูความน่าเชื่อถือของเจ้าของแฟรนไชส์ ระบบการจัดการธุรกิจ การทำตลาด การสนับสนุนแฟรนไชส์ซี ไม่ใช่เก็บค่าแฟรนไชส์ไปแล้วแต่ไม่ทำการตลาด ปล่อยให้แฟรนไชส์ไปต่อสู้กันเอาเอง ถ้าธุรกิจไหนมีลักษณะแบบนี้ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะไปซื้อแฟรนไชส์ 
 
สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อแฟรนไชส์ ต้องเลือกธุรกิจที่ตัวเองชอบ มีความเชี่ยวชาญ มีตลาดรองรับ แม้จะไม่มีประสบการณ์ในธุรกิจนั้นๆ แต่สามารถเลือกแบรนด์แฟรนไชส์ที่มีระบบมาตรฐานและมีประสบการณ์ยาวนาน
 
นั่นคือ เทรนด์และแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ที่คาดว่าจะเป็นดาวรุ่งและได้รับความนิยมจากนักลงทุนในปี 2565
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,016
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,353
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,184
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,890
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,259
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,222
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด