บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    สัญญาแฟรนไชส์
2.2K
2 นาที
1 มีนาคม 2566
สัญญาแฟรนไชส์และภาระภาษีที่แฟรนไชส์ซีต้องรู้

 

องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของระบบแฟรนไชส์ ที่เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ต้องจัดทำขึ้นมาเพื่อแจ้งให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ทราบ นั่นคือ สัญญาแฟรนไชส์ เป็นการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ในสัญญาแฟรนไชส์มีการกำหนดและเงื่อนไขอะไรบ้าง วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ


รายละเอียดที่ระบุชัดเจนในสัญญาแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่จะมีข้อตกลงและข้อกำหนดเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนให้กับแฟรนไชส์ซอร์ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise Fee) และ ค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty Fee) รวมถึง Marketing Fee กำหนดให้แฟรนไชส์ซีจ่ายเป็นรายเดือน หรือรายปี โดยจะคิดอัตรา 3-5% ของยอดขายในแต่ละเดือน
 
นอกจากนี้ ในสัญญาแฟรนไชส์ยังต้องระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขกรณีต่างๆ ที่จะนำไปสู่การผิดสัญญา และการยกเลิกสัญญาในที่สุด เช่น แฟรนไชส์ซีนำสินค้าจากที่อื่นวางขายในร้านสาขาแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซีไม่ซื้อวัตถุดิบบางส่วน ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่สร้างความเป็นมาตรฐานจากแฟรนไชส์ซอร์ เป็นต้น

ภาระภาษีของผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) 


ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  1. ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) เป็นรายจ่ายในด้านการลงทุนต้องทยอยหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ได้แก่
    • สัญญาแฟรนไชส์ไม่จำกัดระยะเวลา หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารอบระยะเวลาบัญชีละไม่เกินอัตราร้อยละ 10 (10 ปี)
    • สัญญาแฟรนไชส์ระบุระยะเวลา หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารอบระยะเวลาบัญชีละไม่เกินอัตราร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการใช้สิทธิแฟรนไชส์ (กำหนด 5 ปี ไม่เกินร้อยละ 20) กรณีที่รอบระยะเวลาใดไม่เต็ม 12 เดือน ต้องเฉลี่ยตามสัดส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
  2. ค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty Fee) เป็นรายจ่ายที่แฟรนไชส์ซีสามารถนำไปหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี (ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม)
ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย


แฟรนไชส์ซีมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายใน 7 วัน นับจากวันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการจ่ายเงินได้ตามสัญญาแฟรนไชส์ (เงินได้ประเภท 3) ให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งเป็น
  • นิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แฟรนไชส์ซีต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินที่จ่าย
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แฟรนไชส์ซีต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม


สัญญาแฟรนไชส์ ถือเป็นการให้บริการ กรณีแฟรนไชส์ซอร์อยู่ต่างประเทศ แฟรนไชส์ซีเป็นมาสเตอร์รับสิทธิในประเทศไทย จะเข้าลักษณะเป็นการจ่าย "ค่าบริการ" ให้กับแฟรนไชส์ซอร์ที่อยู่ต่างประเทศ และแฟรนไชส์ซอร์ที่อยู่ต่างประเทศได้ให้มีการใช้บริการนั้นๆ ในประเทศของผู้รับสิทธิ โดยแฟรนไชส์ซี (ผู้รับบริการ) มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 83/6 (2) (แบบ ภ.พ.36) 

นั่นคือ สัญญาแฟรนไชส์และภาระภาษีที่แฟรนไชส์ซีต้องรู้

เจ้าของธุรกิจสนใจขอรับคำปรึกษาธุรกิจแฟรนไชส์ คลิก https://www.thaifranchisecenter.com/consult/

เจ้าของธุรกิจสนใจสมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบ คลิก https://bit.ly/3Zwg6U3
  
รวมบริการ #ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ (Service of ThaiFranchiseCenter)

 


 
  • รับจดเครื่องหมายการค้า
  • รับเขียนแผนธุรกิจ
  • รับร่างสัญญาแฟรนไชส์
  • รับสร้างระบบแฟรนไชส์
  • รับปรึกษาแฟรนไชส์
  • รับบริหาร Social Media
  • รับทำ Proposal แฟรนไชส์
สนใจรับคำปรึกษาโทร.02-1019187, Line : @thaifranchise

 
อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/3ZsaTgi
เชื่อว่าหลายคนรู้อยู่แล้วว่าการทำธุรกิจใดๆ ก็ตาม เจ้าของกิจการจะต้องเสียภาษีเป็นประจำทุกปี ไม่ว่าธุรกิจจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ แต่ถ้าถามว่าในส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีอะไรบ้าง แตกต่างจากธุรกิจทั่วไปหรือไม่ วันนี้ 
เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบการนอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการก่อสร้าง การตกแต่งร้าน อุปกรณ์ วัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน ยังต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของภาษีที่เกิดจากรายได้และอื่นๆ ถ้าถามว่ามีภาษีอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการจะต้องจ่าย วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลมานำเส..
16months ago   878  4 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
23,221
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,112
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,998
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,852
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,246
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,196
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด