บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    บัญชี ภาษี
885
2 นาที
2 มีนาคม 2566
อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
 

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบการนอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการก่อสร้าง การตกแต่งร้าน อุปกรณ์ วัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน ยังต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของภาษีที่เกิดจากรายได้และอื่นๆ ถ้าถามว่ามีภาษีอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการจะต้องจ่าย วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

1. ภาษีที่ต้องเสียทุกคน 
 
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 

เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการใดๆ ที่มีรายได้จากการทำธุรกิจ ต้องยื่นภาษีอากรประมวลรัษฎากร มีอัตราเสียภาษีสูงสุด 20% โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลจะมี 2 แบบ ได้แก่ แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 (ภาษีสำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วัน หลังจากวันที่ปิดระบบบัญชี) และแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต้องยื่นภายใน 2 เดือน หลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปี)

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
 

เจ้าของธุรกิจต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถือเป็นภาษีที่ถูกหักไว้ล่วงหน้า สามารถขอคืนได้ โดยกฎหมายกำหนดให้เจ้าของธุรกิจที่จ่ายเงินให้คู่ค้าที่ซื้อสินค้าจากเรา หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย เป็นไปตามประเภทของเงินได้ และตามอัตราภาษีที่กำหนด กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย เป็นไปตามประเภทของเงินได้และอัตราภาษีที่กำหนด อาทิ 1% สำหรับค่าขนส่ง, 2% สำหรับค่าโฆษณา, หรือ 3% สำหรับค่าบริการ คนที่หักภาษีไว้นั้นต้องนำส่งแบบ ภ.ง.ด. 3 กรณีหักบุคคลธรรมดา และ ภ.ง.ด. 53 กรณีหักนิติบุคคล ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 
 

เจ้าของธุรกิจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายสินค้าและบริการ โดยในปัจจุบันมีการเก็บอัตราคงที่อยู่ที่ 7% ผู้ประกอบการมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการและออกใบกำกับภาษี เพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนทุกเดือนภาษี โดยต้องมีรายได้ต่อปี ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม)

อากรแสตมป์
 

อีกหนึ่งภาษีที่เจ้าของธุรกิจต้องเสีย ก็คืออากรแสตมป์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก แต่ก็จัดเป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง ส่วนมากจะเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอากรแสตมป์ โดยจะใช้การขีดฆ่าแสดงถึงการใช้แสตมป์ดังกล่าว รายละเอียดสามารถเข้าไปอ่านแบบเจาะลึกได้ที่เว็บของสรรพากร 
 

2. ภาษีเพิ่มเติม

ภาษีธุรกิจเฉพาะ
 

เจ้าของธุรกิจหลายคนอาจไม่รู้ว่าต้องเสียภาษีแบบนี้ด้วย โดยภาษีธุรกิจเฉพาะจะถูกจัดเก็บในธุรกิจที่เป็นแบบเฉพาะเจาะจงจริงๆ อาทิ กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะภายใน 30 วันนับตั้งแต่เริ่มกิจการ และต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีโดยใช้แบบ ภ.ธ.40  เป็นรายเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้นหรือไม่ก็ตาม

ภาษีบำรุงท้องที่ 
 

เจ้าของธุรกิจ เจ้าของที่ดิน หรือผู้ที่เช่าพื้นที่ดินนั้นๆ ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ด้วย ซึ่งภาษีนี้จะเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือผู้เช่าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นที่ดินว่างเปล่า หรือพื้นที่ที่มีสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเจ้าของที่ดินหรือผู้เช่าจะต้องมีหน้าที่เสียภาษี โดยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ภ.บ.ท.5 ที่ผลประโยชน์กองคลังเทศบาลทุกรอบระยะเวลา 4 ปี หรือภายใน 30 วัน กรณีที่ได้กรรมสิทธิ์ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
 
ภาษีป้าย
 

เจ้าของธุรกิจที่มีหน้าร้านที่ทำป้ายโลโก้ หรือป้ายโฆษณาต่างๆ จะต้องเสียภาษีป้ายด้วย ไม่ว่าจะเป็นป้ายร้าน ป้ายโฆษณา ป้ายประชาสัมพันธ์ โดยจะต้องยื่นประเมินเพื่อเสียภาษี ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคมของปีนั้นๆ และจะคิดอัตราภาษีตามขนาดของป้าย หากไม่แจ้งหรือไม่แสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายอาจถูกปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท 
 
นั่นคือ ภาษีที่คนอยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้ 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงข้อมูล
 
 
เชื่อว่าหลายคนรู้อยู่แล้วว่าการทำธุรกิจใดๆ ก็ตาม เจ้าของกิจการจะต้องเสียภาษีเป็นประจำทุกปี ไม่ว่าธุรกิจจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ แต่ถ้าถามว่าในส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีอะไรบ้าง แตกต่างจากธุรกิจทั่วไปหรือไม่ วันนี้ 
องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของระบบแฟรนไชส์ ที่เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ต้องจัดทำขึ้นมาเพื่อแจ้งให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ทราบ นั่นคือ สัญญาแฟรนไชส์ เป็นการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ในสัญญาแฟรนไชส์มีการกำหนดและเงื่อนไขอะไรบ้าง วันนี้ 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
794
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
422
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด