บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
1.1K
2 นาที
19 เมษายน 2566
10 เหตุผล ทำไมใครๆ ก็อยากขายแฟรนไชส์
 

หลายคนอาจไม่รู้ว่าจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันมีจำนวนราวๆ 640 กิจการ ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม อยากรู้หรือไม่ว่าทำไมใครๆ ถึงขายแฟรนไชส์กันมากขึ้น ทำไมไม่ขยายกิจการด้วยตัวเอง วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้ทราบครับ    

1. ขยายธุรกิจได้รวดเร็ว ลงทุนต่ำ
 
ภาพจาก ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว

การขายแฟรนไชส์สามารถช่วยให้เจ้าของธุรกิจขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ใช้เงินลงทุนต่ำ ผู้ขายแฟรนไชส์แทบจะไม่ต้องใช้เงินทุนของตัวเองด้วยซ้ำ ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงเงินลงทุนสำหรับการขยายสาขานั้น ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเป็นผู้รับผิดชอบเกือบทั้งหมด ปัจจุบันมีหลายแบรนด์แฟรนไชส์ในเมืองไทยมีมากกว่าพันสาขา เช่น แฟรนไชส์ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว 4,829 สาขา, ลูกชิ้นปลาระเบิด 2,510 สาขา, ธุรกิจห้าดาว 5,000 สาขา, 7-Eleven 13,400 สาขา เป็นต้น

2. มีรายได้รวดเร็วหลากหลายช่องทาง 
 

การขายแฟรนไชส์นอกจากจะขยายสาขาได้อย่างรวดเร็วแล้ว ผู้ขายแฟรนไชส์ยังจะมีรายได้จากหลากหลายช่องทางจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า ค่าการตลาด ค่าโฆษณา ค่าต่อสัญญาแฟรนไชส์ ค่าจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบ ค่าฝึกอบรม รวมถึงค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายและบริหารจัดการร้าน

3. กระจายสินค้าและบริการได้กว้างมากขึ้น
 

ผู้ขายแฟรนไชส์จะสามารถกระจายสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ของตัวเองได้กว้างมากขึ้น แม้แต่ในพื้นที่ที่ตัวเองไม่ค่อยชำนาญ ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารสาขาในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ยกตัวอย่างกรณีแฟรนไชส์ “ธุรกิจห้าดาว” ปัจจุบันขยายสาขาและกระจายสินค้าภายใต้แบรนด์ไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นธุรกิจแฟรนไชส์อาหารที่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นอย่างมาก

4. ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วยทำการตลาดในพื้นที่
 

การขายแฟรนไชส์นอกจากจะกระจายสินค้าและบริการได้กว้างขวางทั่วประเทศ ผู้ขายแฟรนไชส์ยังไม่ต้องทำการตลาดหรือบริหารธุรกิจในพื้นที่ที่ตัวเองไม่ชำนาญอีกด้วย ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะทำหน้าที่บริหารจัดการธุรกิจแทนเอง ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ไก่ทอดเคเอฟซีของสหรัฐอเมริกาขายแฟรนไชส์ไปทั่วโลก ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในแต่ละประเทศจะเป็นผู้ทำการตลาดเอง  

5. ลดปัญหาการบริหารจัดการบุคลากร
 

คนขายแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซอร์ต้องการทีมงานที่เป็นแค่ทีมงานสนับสนุนสาขาแฟรนไชส์ โดยไม่ต้องการลงมือทำธุรกิจเองด้วยตัวเองทั้งหมด การออกแบบธุรกิจดังกล่าวทำให้ลดขนาดทีมงานและบุคลากรด้วยการกระจายธุรกิจสู่ผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ ทำให้สามารถจัดคนที่เป็นทีมงานในด้านการสนับสนุนดูแลสาขาทั้งหมดเท่านั้น

6. ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการธุรกิจ

 

คนขายแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์จะไม่ต้องกังวลในเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการธุรกิจ แม้จะมีสาขาจำนวนมาก ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่เปิดร้าน รวมถึงตัดปัญหาเรื่องการบริหารพนักงานจำนวนมาก ค่าจ้างพนักงาน การจัดสวัสดิการ ประกันสังคม ข้อบังคับด้านการทำงานต่างๆ เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นคนรับผิดชอบแทนทั้งหมด 

7. มีคนท้องถิ่นในพื้นที่ช่วยบริหารธุรกิจ
.

หากลงทุนขยายกิจการด้วยตัวเองอาจจะไม่สามารถดูแลกิจการที่มีหลายสาขาได้อย่างทั่วถึง แต่ถ้าขายแฟรนไชส์จะลดภาระลงไป เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ในแต่ละพื้นที่จะช่วยบริหารจัดการธุรกิจแทนเราได้ เสมือนกับว่ามีผู้ลงทุนและผู้บริหารที่ดีของแฟรนไชส์ซีแต่ละสาขามาช่วยบริหารธุรกิจให้ฟรีๆ เพียงแต่ต้องวางระบบและจัดทำคู่มือให้แฟรนไชส์ซีปฏิบัติตาม
 
8. มีอำนาจในการต่อรองซื้อสินค้าราคาถูก
 

ผู้ขายแฟรนไชส์จะมีกำลังในการจัดซื้อจากจำนวนการขายที่เพิ่มมากขึ้น และแฟรนไชส์ซีต้องสั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบผ่านแฟรนไชส์ซอร์ ทำให้แฟรนไชส์ซอร์มีอำนาจต่อรองในการสั่งซื้อสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของแฟรนไชส์ซอร์ถูกลง
 
9. ลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจด้วยตัวเอง
 

ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีจะเป็นคนบริหารสาขาเอง ย่อมเป็นคนรับผิดชอบในเรื่องการลงทุนและค่าใช้จ่ายมากกว่า ช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจด้วยตนเองหากธุรกิจมีปัญหาหรือขากทุน เจ้าของแบรนด์รับผิดชอบเพียงคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ และสร้างระบบการฝึกอบรม การสนับสนุนทีมงานกลางแทนเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จมากขึ้น 
 
10. ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วยหาทำเลขยายสาขา


ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเป็นคนรับผิดชอบและช่วยหาทำเลการค้าสำหรับเปิดร้าน ซึ่งการขายแฟรนไชส์ทำให้เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์สามารถขยายกิจการไปยังทำเลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว เจ้าของแฟรนไชส์เพียงแค่พิจารณาความเหมาะสมของทำเลเท่านั้น หากอยู่ในแผนงานก็สามารถดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องออกไปหาทำเลหรือไปลงทุนซื้อหรือเช่าที่ดิน
 
การสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ทำให้เกิดอัตราการขยายตัวได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เจ้าของแบรนด์ไม่ชำนาญ หากรอการขยายกิจการด้วยการสะสมทุนของธุรกิจนั้นจะเป็นไปได้ช้ามาก ยิ่งเมื่อต้องแข่งขันกับคู่ต่อสู้ที่มีกำลังทุนมากกว่าอาจจะทำให้เกิดข้อเสียเปรียบได้ หรือถ้ามองในแง่การสร้าง ทีมงานที่เข้มแข็งก็คงไม่มีอะไรดีเท่า การเอาเถ้าแก่ที่ตั้งใจจริงมาเป็นสมาชิกที่ร่วมทำงานสร้างองค์กรด้วยกัน

#สนใจสมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3GUA1Fw  
 
#รับคำปรึกษาการขายแฟรนไชส์ คลิก https://www.thaifranchisecenter.com/consult/ 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
  
หลายคนถามว่าระหว่างเปิดร้านเองกับซื้อแฟรนไชส์ แบบไหนดีกว่ากัน ซึ่งทั้งสองอย่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ถ้าใครไม่อยากเสียเวลาในการสร้างธุรกิจ ซึ่งบางธุรกิจอาจใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าสินค้าจะติดตลาด ขอแนะนำให้ซื้อแฟรนไชส์ดีกว่าเปิดร้านเอง อยากรู้หรือไม่ว่าเหตุผลอื่นๆ ที่หลายๆ คนหันมาซื้อแฟรนไช..
18months ago   1,825  4 นาที
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)