บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
480
2 นาที
29 มีนาคม 2567
7 กับดักที่เจ้าของแฟรนไชส์ทำพลาด 
 

ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการขายระบบการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แต่ทำไมธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ถึงไปไม่รอด มีคนซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว แต่ขาดทุน หรือเกิดปัญหาขัดแย้ง ฟ้องร้องกันระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์ กับ ผู้ซื้อแฟรนไชส์
 
มาดูกันว่า เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ทำอะไรพลาด หรือติดกับดักในเรื่องอะไรบ้าง 
 
1. ใจอ่อนขายแฟรนไชส์ ตามที่คนร้องขอ
 

สินค้าขายดีมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด เจ้าของกิจการหลายคนใจอ่อน อยากรวยเร็ว ทั้งที่ไม่มีความรู้เรื่องการทำแฟรนไชส์ คิดเพียงอยากได้เงินเร็ว โดยไม่รู้ว่าคนซื้อแฟรนไชส์ไปจะขายได้หรือขาดทุน เพราะไม่ได้วิเคราะห์ทำเล วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เกิดคนซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดขายไม่ดี ไม่มีลูกค้า ไปไม่รอด สุดท้ายก็กลับมากระทบเจ้าของแฟรนไชส์
 
สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ https://bit.ly/3TQpKkt 
 
2. ไม่มีความรู้แฟรนไชส์อย่างแท้จริง
 

มีข่าวแฟรนไชส์หลายแบรนด์เกิดปัญหาระหว่างเจ้าของแบรนด์กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ทั้งเอาเปรียบ เจ้าของแบรนด์ไม่เหลียวแล อย่างกรณีแฟรนไชส์ลูกชิ้นเชฟอ้อย เกิดจากเจ้าของแบรนด์ไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ ไม่มีการดูแลและสนับสนุนสาขาแฟรนไชส์ ไม่ควบคุมคุณภาพมาตรฐานแฟรนไชส์ ไม่มีสัญญาแฟรนไชส์ชัดเจน จึงทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งกันขึ้น 
 
สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ https://bit.ly/3TQpKkt
 
3. ธุรกิจที่ทำยังไม่ได้กำไรมากพอ
 

ธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์ควรมีรายได้และกำไรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการันตีได้ว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดจะสามารถคืนทุนได้ตามระยะเวลาสัญญาแฟรนไชส์ และแต่ละสาขาต้องมีรายได้เท่าๆ กัน ไม่ใช่ร้านหนึ่งมีกำไร อีกร้านขาดทุน ถ้าธุรกิจยังมีกำไรไม่มากพอ หรือไม่สม่ำเสมอ อย่าพึ่งขายแฟรนไชส์ ควรปรับจูนระบบธุรกิจให้เข้าที่เข้าทางลงตัวเสียก่อน   
 
4. มีสาขาต่างทำเลน้อยเกินไป
 

หลายแบรนด์แฟรนไชส์ไปไม่รอด เกิดจากเจ้าของแฟรนไชส์ขายแฟรนไชส์เร็วเกินไป มีแค่ร้านต้นแบบสาขาเดียวแค่นั้นเอง เมื่อมีสาขาเดียวก็ไม่สามารถวัดอะไรได้ว่า หากเปิดอีกสาขาในทำเลต่างกันจะขายได้ไหม หรือเปิดอีกทำเลหนึ่งจะมีรายได้แค่ไหน อย่าลืมว่าบางธุรกิจไม่ได้ขายดีในทุกทำเล ดังนั้น ก่อนขายแฟรนไชส์ควรเปิดร้าน 4-5 สาขาในทำเลต่างกัน เพื่อจะได้รู้ยอดขายและรายได้ของแต่ละสาขาว่าเท่ากันหรือแตกต่างกันหรือไม่ เพื่อการันตีได้ว่าหากเปิดอีกที่ขายได้แน่นอน   
 
5. คิดคำนวณต้นทุนวัตถุดิบไม่แม่นยำ
 

เจ้าของแฟรนไชส์หลายคนไม่คำนวณต้นทุน หรือคำนวณต้นทุนวัตถุดิบไม่แม่ยำ ทำให้วิเคราะห์โครงสร้างทางการเงิน และต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายในร้านผิดพลาด ส่งผลต่อการคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ รวมถึง Royalty Fee อีกด้วย แทนที่จะได้ราคาสูงกลับต่ำ แทนที่จะราคาต่ำกลับสูง ถ้าคำนวณผิดอาจส่งผลต่อรายได้เจ้าของแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้
 
6. ลงทุนต่ำคนซื้อเยอะดูแลไม่ทั่วถึง
 

แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ หลักพัน หลักหมื่น ทำให้คนแห่ซื้อเยอะ เพราะเจ้าของแฟรนไชส์เอาแค่ค่าแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว ไม่เก็บค่า Royalty Fee เมื่อมีสาขามากทำให้เจ้าของแฟรนไชส์ดูแลไม่ทั่วถึง ควบคุมคุณภาพมาตรฐานไม่ได้ เพราะเงินบริหารจัดการไม่มี พอสาขาหนึ่งไม่รอด เกิดปัญหาการร้องเรียนตามมา สุดท้ายระบบแฟรนไชส์ก็ล้มไปตามกัน
 
 7. ยังไม่มีทีมงานสนับสนุน
 

เปิดร้านขายคนเดียวยังพอทำได้ แต่ถ้าขายแฟรนไชส์เมื่อไหร่ หากไม่มีทีมงานสนับสนุนในการช่วยเหลือผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นทีมการตลาด วิเคราะห์ทำเล ฝ่ายอบรม ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายเทคโนโลยี ไอที และอื่นๆ เจ้าของร้านอย่าพึ่งขายแฟรนไชส์อย่างเด็ดขาด เพราะคุณคนเดียวไม่มีทางที่จะจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบให้สาขาได้ทั่วถึงได้   
 
สรุปก็คือ ก่อนขายแฟรนไชส์ เจ้าของกิจการต้องศึกษาหาความรู้เรื่องแฟรนไชส์ เปิดสาขาต้นแบบอย่างน้อย 4-5 สาขาในทำเลต่างกัน คำนวณต้นทุนให้แม่นยำเพื่อนำไปคิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจและค่าแฟรนไชส์ได้ถูกต้อง ธุรกิจควรมีกำไรอย่างสม่ำเสมอเหมือนกันทุกสาขาต้นแบบ อย่าทำแฟรนไชส์ราคาถูกเกินไปจะไม่มีเงินสนับสนุนสาขาแฟรนไชส์ สุดท้ายที่ขาดไม่ได้ ต้องมีทีมงานช่วยเหลือและสนับสนุนธุรกิจคุณ และผู้ซื้อแฟรนไชส์    
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
7 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567
6,154
รวม 10 แฟรนไชส์ขายดี หน้าร้อน เป็นเจ้าของร้านได้..
856
แฟรนไชส์ธุรกิจยานยนต์ ยอดขายโต ยอดบริการโตกว่า!
528
เจาะใจ! แฟรนไชส์ซี “คาเฟ่ อเมซอน” พร้อมเทคนิคสมั..
494
จริงมั้ย? ลงทุนแฟรนไชส์ ไก่ย่าง 5 ดาว ได้ไม่คุ้ม..
487
แฉ! ทุกข์แฟรนไชส์ซี ทำไมเลิกสัญญาแฟรนไชส์ ยากกว่..
476
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด