บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
956
2 นาที
5 มิถุนายน 2567
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองที่มีระบบวางไว้
 

ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายคนตกเป็นทาสในระบบแฟรนไชส์ ซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดแล้ว ถูกเจ้าของแฟรนไชส์เอาเปรียบต่างๆ นานา ไม่ว่าจะเป็น การวางเงื่อนไขจ่ายเงินมัดจำในการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ ซื้อวัตถุดิบจากเจ้าของแฟรนไชส์ราคาแพงกว่าตลาดใกล้บ้าน หรือร่างสัญญาทาสถ้าเลิกทำแฟรนไชส์ก่อนกำหนดโดนปรับเงิน หรือห้ามทำธุรกิจเดียวกันตลอดชีวิต 
 
ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายคนยังเจอปัญหาซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดแล้ว แฟรนไชส์ไม่ตรงปก เปิดร้านขายไปแล้วไม่ได้กำไร หักต้นทุนวัตถุดิบไม่เหลืออะไร ขายไปวันๆ เท่านั้น จ่ายแต่ค่าวัตถุดิบอย่างเดียว เหมือนเปิดร้านขายให้เจ้าของแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์รวยอย่างเดียว หลายๆ รายเจ๊งเพราะซื้อแฟรนไชส์ บางรายกู้หนี้มาซื้อแฟรนไชส์อีกต่างหาก กว่าจะคืนทุนก็ช้า หรือซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วไม่ได้รับการดูแลจากเจ้าของแฟรนไชส์เลย ปล่อยให้ขายและแก้ปัญหาธุรกิจตามมีตามเกิด 
 
มีกรณีผู้ซื้อแฟรนไชส์ชานมไข่มุกแบรนด์หนึ่ง โพสต์ใน Pantip เล่าว่า ตอนเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์ให้โอนเงินเพื่อเป็นเครดิตซื้อวัตถุดิบล่วงหน้า 100,000 บาท โดยเงินจำนวนดังกล่าวจะถูกหักไปเรื่อยๆ ในการซื้อวัตถุดิบแต่ละครั้งจนหมด พอหมดก็ต้องโอนให้เจ้าของแฟรนไชส์อีก เหมือนให้เงินเจ้าของแฟรนไชส์ไปหมุนใช้ก่อน 
 
อีกหนึ่งกรณีล่าสุดมีผู้เสียหายร้องทุกข์ทนายเดชา ซื้อแฟรนไชส์ชานมไข่มุกแบรนด์หนึ่งเช่นกัน ซื้อไปเปิดแล้วขาดทุน ไม่อยากทำต่อ อยากเลิกสัญญาก่อนกำหนดก็ไม่ได้ เพราะในสัญญาแฟรนไชส์กำหนดว่า ถ้าเลิกก่อนต้องเสียค่าปรับเดือนละ 50,000 บาท ไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาในสัญญา รวมเป็นเงินนับล้านบาท     
 
 
สำหรับคนที่คิดจะซื้อแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจ มาดูวิธีป้องกันไม่ให้ตกเป็นทาสของการซื้อแฟรนไชส์ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดการทุน และสูญเสียความเป็นอิสระในการดำเนินธุรกิจ
 
1. ศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจ วิเคราะห์รายละเอียดธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณสนใจอย่างละเอียด เปรียบเทียบหลายๆ แบรนด์ รวมถึงระบบการทำงาน ค่าใช้จ่าย สัญญาแฟรนไชส์ และอื่นๆ 
 
2. สอบถามข้อมูลจากผู้ซื้อแฟรนไชส์รายอื่นๆ ที่เปิดกิจการอยู่ในปัจจุบัน และที่เคยซื้อแฟรนไชส์เจ้านั้นมาแล้ว เพื่อจะได้รู้ว่าแฟรนไชส์แบรนด์นั้นน่าซื้อหรือไม่ ขายดีหรือไม่ดี ยอดขายต่อเดือนมากแค่ไหน เจ้าของแฟรนไชส์ช่วยเหบืออะไรบ้าง
 
3. ตรวจสอบสัญญาแฟรนไชส์ อ่านให้เข้าใจอย่างละเอียด ทำความเข้าใจเงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ ในสัญญาแฟรนไชส์อย่างรอบคอบ ก่อนเซ็นสัญญาคุณต้องแน่ใจว่าไม่มีข้อบังคับที่ทำให้คุณตกเป็นทาสของแฟรนไชส์
 

4. พิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อแฟรนไชส์ ค่าแฟรนไชส์ งบการลงทุนก่อสร้างและตกแต่งร้าน ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียน ค่าใช้จ่ายแต่ละวัน

5. ตรวจสอบว่าแฟรนไชส์ที่สนใจมีระบบการสนับสนุนที่เพียงพอจากเจ้าของแฟรนไชส์หรือไม่ เช่น การวิเคราะห์ทำเลเปิดร้าน การฝึกอบรม การสนับสนุนทางการตลาด การจัดกิจกรรมเปิดร้าน การบริการลูกค้า การสั่งซื้อ-จัดส่งวัตถุดิบ การตรวจสอบมาตรฐานร้าน และอื่นๆ      
 
สรุปก็คือ การเลือกซื้อแฟรนไชส์ไม่ให้ตกเป็นทาส ควรเลือกแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับตัวเอง ชอบแฟรนไชส์นั้นด้วย จะได้ตั้งใจและทุ่มเทอย่างเต็มที่ ทำแล้วมีความสุข และควรเลือกแฟรนไชส์ที่มีระบบเข้มแข็งมั่นคง จำพวก Business Format Franchise แบรนด์ดัง แบรนด์ใหญ่ ที่ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จให้เห็นแล้ว อาจช่วยให้คุณเป็นนายตัวเองได้

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
โกลเด้นเบรน (Golden Brain) คว้ารางวัล “MOST POPU..
4,876
บุกไทยแล้ว! Zhengxin Chicken แฟรนไชส์ไก่ทอดจีน ส..
4,605
ซื้อแฟรนไชส์ คาเฟ่ อเมซอน (Shop) วันนี้ คืนทุนเม..
3,946
6 อันดับแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดส์ ที่มีสาขามากสุด..
1,871
Bingxue (บิงเสวีย) ท้าชน Mixue (มี่เสวี่ย) ในไทย..
1,790
5 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนกรกฏาคม 2567
1,595
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด