บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
769
1 นาที
12 มิถุนายน 2567
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
 

สำนวนสุภาษิต "ยืมจมูกคนอื่นหายใจ" หมายถึงการต้องอาศัยความช่วยเหลือจากคนอื่น เพื่อให้ตัวเองยู่รอดต่อไปได้ แต่ถ้าหยุดการช่วยเหลือ อาจทำให้ตัวเองต้องประสบปัญหาได้ 
 
 
หลายคนนำสำนวนสุภาษิตดังกล่าว มาเปรียบเทียบกับการซื้อแฟรนไชส์ เหมือนเป็นการยืมจมูกคนอื่นหายใจ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องอาศัยความรู้ความสามารถของเจ้าของแฟรนไชส์ ในการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ แล้วส่งต่อความสำเร็จและองค์ความรู้ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ หลังจากนั้นผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จทุกอย่างจากเจ้าของแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา 
 
ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม การจัดส่งวัตถุดิบ การทำการตลาด การโปรโมทธุรกิจ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การตรวจสอบมาตรฐานสาขา การสนับสนุนระบบการขายหน้าร้าน การทำบัญชี การเงิน ระบบไอที การพัฒนาสินค้าต่อเนื่อง และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ช่วยส่งเสริมให้สาขาของแฟรนไชส์ซีอยู่รอดและเติบโตไปด้วยกัน 
 
 
การซื้อแฟรนไชส์เหมือนเป็นการยืมจมูกคนอื่นหายใจก็จริง แต่บางครั้งก็รู้สึกอึดอัดใจ ขาดความเป็นตัวของตัวเอง มีความเป็นอิสระน้อย ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเจ้าของแฟรนไชส์อย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังต้องแบ่งรายได้ (Royalty Fee, Marketing Fee) ให้เจ้าของแฟรนไชส์ส์อีก เหมือนเป็นการช่วยเจ้าของแฟรนไชส์บริหารธุรกิจ เจ้าของแฟรนไชส์รวยอยู่ฝ่ายเดียว
 
จริงๆ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่เห็นกันในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ Product Franchise ส่วนใหญ่เป็นพวกรถเข็น เคาน์เตอร์ เช่น ลูกชิ้นทอด หมูปิ้ง ก๋วยเตี๋ยว ชานมไข่มุก ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องซื้อวัตถุดิบบางส่วนจากเจ้าของแฟรนไชส์แล้วมาทำขายภายใต้สินค้าเดียวกัน และ Business Format Franchise เป็นพวกร้านใหญ่ๆ เช่น 7-Eleven ห้าดาว คาเฟ่อเมซอน อินทนิล เชสเตอร์ เคเอฟซี มิสเตอร์โดนัท แดรี่ควีน ฯลฯ   
 
 
เปรียบเทียบระหว่าง Product Franchise กับ Business Format Franchise แฟรนไชส์แบบหลังเป็นลักษณะใช้จมูกคนอื่นหายใจมากกว่า ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการทำธุรกิจทุกอย่างจากเจ้าของแฟรนไชส์ ยกเว้นอย่างเดียว คือ เจ้าของแฟรนไชส์ไม่ได้มาช่วยดูแลบริหารร้านให้ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องดูแลจัดการร้านเอง โดยต้องปฏิบัติงานตามคู่มือแฟรนไชส์อย่างเคร่งครัด ได้รับการตรวจสอบจากเจ้าของแฟรนไชส์เป็นระยะๆ เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา 
 
สรุปก็คือ ถ้าใครจะซื้อแฟรนไชส์แบบอยากใช้จมูกคนอื่นหายใจช่วย ขอแนะนำให้เลือกแฟรนไชส์แบบ Business Format Franchise แต่ต้องเป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่งพอสมควร คนรู้จักเป็นวงกว้าง สินค้าตอบโจทย์ ขายได้ง่าย ระบบแฟรนไชส์แน่น มีความพร้อมครบทุกด้าน ทั้งทีมการตลาด จัดส่งวัตถุดิบ ทีมซอฟต์แวร์ ไอที ทีมดีไซน์ เป็นต้น เปิดร้านแล้วจะได้ไม่เหนื่อย ไม่ยุ่งยาก เพราะระบบช่วยทำงานแทนเราอยู่แล้ว เหมือนให้คนอื่นช่วยเราหายใจนั่นเอง 

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
22,546
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
2,929
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,834
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,781
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,233
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,181
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด