บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
493
2 นาที
5 สิงหาคม 2567
แฟรนไชส์จีน บุกไทย ทำไมดราม่า!
 

กระแสทุนจีนบุกตลาดในไทยกลายเป็นดราม่าทุกที ตั้งแต่ Mixue แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากจีน เข้ามาในไทยเมื่อช่วงกลางปี 2565 ขายสินค้าราคาถูก กลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ ไม่ต้องโฆษณาใดๆ ลูกค้ากระจายข่าวให้แบบฟรีๆ 
 
ไม่ทันข้ามปี ก็มี Ai-Cha แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากอินโดนีเซียอีกรายเข้ามาสมทบ ไม่พอยังมี Wedrink แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาน้องใหม่จากจีนตามเข้ามาอีก กลายเป็นดราม่าหนักขึ้นไปอีก 

 
กระแสดราม่าทุนจีนบุกไทยยังไม่ทันจางดีเลย เมื่อช่วงต้นปี 2567 ก็มีแฟรนไชส์ไก่ทอดและเบอร์เกอร์ Zhendxin Chicken (ไก่ทอดเจิ้งซิน) จากจีนบุกตลาดในไทยอีกแบรนด์ ยิ่งกลายเป็นประเด็นดราม่าหนักขึ้นอีก เพราะแบรนด์จากจีนทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งไอศกรีม ชา ไก่ทอด ใช้กลยุทธ์เดียวกัน ขายราคาถูก 15-50 บาท สงบคู่แข่งแทบไปต่อไม่ได้   

ภาพจาก https://bit.ly/3SbCbWT
  
แน่นอนว่าการที่ธุรกิจจากจีนเข้ามาเปิดในไทยเป็นเรื่องดี เพราะรัฐบาลจะได้เงินการลงทุนจากต่างประเทศ มีการจ้างงานคนไทยเพิ่ม แต่ในมุมมองกลับกัน ทุนจีนหรือแฟรนไชส์จากจีนที่มีการหลั่งไหลเข้ามามากๆ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจรายเล็กรายน้อย หรือ SME ในประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ จะขายแพงก็เจ๊ง ขายถูกก็เจ๊ง  
 
อย่างกรณี Mixue ขายแฟรนไชส์ราคาถูก รวมๆ แล้วหลักล้านบาทต้นๆ ทำให้ขยายสาขาได้เร็วมากกว่า 200 สาขาแล้วในตอนนี้ เมื่อขยายสาขาได้มาก ครอบคลุมไปทุกพื้นที่ ก็กระทบธุรกิจประเภทเดียวกันที่ตั้งอยู่ในพื้นที่หรือท้องถิ่นนั้นก่อน เพราะเรารู้ดีอยู่แล้วว่าลูกค้าก็ต้องอยากซื้อของราคาถูก อีกทั้งรสชาติอาหารของจีนในสมัยนี้ก็ดีอีกต่างหาก 

ปัจจัยเกิดดราม่า...แบรนด์จีน 
1.การแข่งขันในตลาด


แฟรนไชส์จีนบุกตลาดไทยทำให้เกิดการแข่งขันรุนแรงกับธุรกิจท้องถิ่น เพราะแบรนด์จีนขายราคาถูก โมเดลธุรกิจดึงดูดลูกค้าได้ดี ทำให้ธุรกิจท้องถิ่นแข่งขันไม่ได้
 
2. คุณภาพสินค้าและบริการ
 

ประเด็นดราม่าเมื่อแฟรนไชส์หรือธุรกิจจีนบุกไทยอีกอย่าง คือ คนไทยมีความกังวลในเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการที่นำเข้าจากจีน อาจเกี่ยวกับมาตรฐานและความปลอดภัย

3. ความแตกต่างทางวัฒนธรรม 
 

แบรนด์จีนอาจมีการทำธุรกิจหรือใช้กลยุทธ์การตลาดที่ต่างจากไทย ทำให้เกิดความไม่เข้าใจของลูกค้าหรือคู่แข่งในไทย

4. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
 

เมื่อแฟรนไชส์หรือธุรกิจจีนเข้ามาเปิดในไทย ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจท้องถิ่น เช่น ปิดกิจการ เลิกจ้างงาน รวมไปถึงการย้ายฐานการผลิตของคู่แข่งในท้องถิ่น ทำให้เงินไหลออกต่างประเทศ
 
5. ปัญหาทางกฎหมายและกฎระเบียบ
 

อาจมีความกังวลเกี่ยวกับการละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับตามกฎหมายของประเทศไทย รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่ไม่โปร่งใส 

6. ความรู้สึกเกี่ยวชาติพันธุ์ 
 

คนไทยอาจรู้สึกว่าการเข้ามาของแบรนด์จีน หรือนักธุรกิจจีน เป็นการฉาบฉวย เอารัดเอาเปรียบคนไทยและธุรกิจไทย 
 
สรุปก็คือ การจัดการปัญหาดราม่าต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเข้ามาบุกตลาดในไทยของแบรนด์จีน จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวัง และสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน ทั้งนักลงทุนจีน นักลงทุนท้องถิ่น สังคมท้องถิ่น เพื่อให้การลงทุนจากแบรนด์จีนในไทยเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันทั้ง 2 ประเทศในระยะยาว

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
โกลเด้นเบรน (Golden Brain) คว้ารางวัล “MOST POPU..
4,652
บุกไทยแล้ว! Zhengxin Chicken แฟรนไชส์ไก่ทอดจีน ส..
3,844
ซื้อแฟรนไชส์ คาเฟ่ อเมซอน (Shop) วันนี้ คืนทุนเม..
3,501
6 อันดับแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดส์ ที่มีสาขามากสุด..
1,811
Bingxue (บิงเสวีย) ท้าชน Mixue (มี่เสวี่ย) ในไทย..
1,599
5 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนกรกฏาคม 2567
1,323
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด