บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
5.4K
3 นาที
11 สิงหาคม 2557
การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise)


แฟรนไชส์เป็นช่องทางการทำธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารธุรกิจตามระบบแฟรนไชส์ซึ่งกำหนดโดยเจ้าของแฟรนไชน์ เจ้าของแฟรนไชน์จะให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการใช้เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า ข้อมูลลับ และทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของแฟรนไชส์

เจ้าของแฟรนไชส์จะคอยให้ความช่วยเหลือผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการบริหารธุรกิจและเก็บค่าธรรมเนียมบางอย่างสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิประโยชน์จากผู้ซื้อแฟรนไชส์

แฟรนไชส์เป็นระบบธุรกิจซึ่งเจ้าของแฟรนไชน์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องความซื่อสัตย์และปฏิบัติตามจริยธรรมของระบบแฟรนไชส์ เจ้าของของแฟรนไชส์จะต้องปกป้องและดูแลเอาใจใส่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ของเขา เช่น การรับรองความสำเร็จของระบบ

ตามสภาแฟรนไชส์ของยุโรป แฟรนไชส์ คือ ระบบการทำการตลาดของสินค้า บริการ และ/ หรือ เทคโนโลยีซึ่งขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ ทั้งทางด้านการแยกส่วนทางกฏหมาย, การเงิน และความเป็นอิสระของกิจการ เจ้าของแฟรนไชส์จะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชน์ใช้สิทธิประโยชน์จากธุรกิจ แต่จะกำหนดพันธกรณีเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปตามแนวคิดที่เจ้าของแฟรนไชส์ได้วางไว้

ผู้ซื้อแฟรนไชส์แต่ละรายจะถูกกำหนดให้ใช้ ชื่อ/ เครื่องหมายการค้า/ เครื่องหมายการบริการของเจ้าของแฟรนไชส์ ต้องรู้ระบบการทำงาน วิธีการทางธุรกิจและเทคนิค ระบบขั้นตอน สิทธิของอุตสาหกรรมอื่นและทรัพย์สินทางปัญญา ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องโดยข้อกำหนดทางพาณิชย์และการช่วยเหลือทางเทคนิค อยู่ภายในกรอบและระยะเวลาของสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร การสรุปผลของคู่กรณีสำหรับเป้าประสงค์

ประเภทของแฟรนไชส์


เจ้าของแฟรนไชส์จะมีความสัมพันธ์กับการกระจายการค้าผ่านผู้ซื้อแฟรนไชส์ตามข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้ระหว่างพวกเขา ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมีความสัมพันธ์กับการกระจายสินค้าตามข้อตกลงกับเจ้าของแฟรนไชส์ขึ้นอยู่กับห่วงโซ่อุปทาน

การออกใบอนุญาตและการลงทะเบียน

1.บริษัทในประเทศ

ธุรกิจแฟรนไชส์กับตราสารทุนต่างประเทศทั้งหมดจะต้องรวมตัวกันในประเทศภายใต้ พ.ร.บ. ของบริษัท 1965 เงื่อนไขนี้ก็จะนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจภายใต้ธุรกิจสาขาต่างประเทศ


2.การลงทะเบียนภายใต้ พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998

การจัดการแฟรนไชส์ในมาเลเซียถูกกำหนด พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998 แฟรนไชส์หมายถึงข้อตกลงหรือสัญญา ชัดเจนหรือส่อแสดงถึง ด้วยวาจาหรือเขียน ระหว่างสองหรือมากกว่าสองคน พ.ร.บ นี้จะถูกปรับใช้กับการขายแฟรนไชส์ในทั่วมาเลเซีย การยินยอมโดย พ.ร.บ และความต้องการที่จะลงทะเบียนจะครอบคลุมการลงทะเบียนครั้งก่อนของบริษัทภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรีหรือ MDTTCC

การขายแฟรนไชส์ในมาเลเซียจะถือว่าเกิดขึ้นที่
  • มีการเสนอซื้อและขายแฟรนไชส์
  • ทำขึ้นในมาเลเซียและได้รับการยอมรับทั้งในและนอกมาเลเซีย
  • ทำขึ้นนอกมาเลเซียและยอมรับในมาเลเซีย
  • ธุรกิจแฟรนไชส์มี/ จะมีการดำเนินการในมาเลเซีย
ภายใต้ พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998 การลงทะเบียนมี 3 ประเภท


3. การยื่นคำร้องการลงทะเบียนของแฟรนไชส์

เจ้าของแฟรนไชส์ต้องทำการยื่นคำร้องการลงทะเบียนให้กับแฟรนไชส์ของเขากับนายทะเบียนด้านแฟรนไชส์ภายใต้ MDTCC โดนการยื่นคำร้องพร้อมกับเอกสารและข้อมูลต่างๆ การลงทะเบียนก็สามารถทำผ่านระบบ MyFEX ออนไลน์ ที่ www.myfex.gov.my
  1. การลงทะเบียนภายใต้มาตรา 6, พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998 เอกสารที่ต้องยื่น มีดังนี้
    • เอกสารการเปิดเผยข้อมูล (แบบฟอร์ BAF1)
    • แบบฟอร์ม BAF2
    • ตัวอย่างสัญญาแฟรนไชส์ ทั้งภาษามาเลย์และอังกฤษ
    • สำเนาการคู่มือการดำเนินธุรกิจ ทั้งภาษามาเลย์และอังกฤษ
    • สำเนาคู่มือการอบรม ทั้งภาษามาเลย์และอังกฤษ
    • การตรวจสอบบัญชีของธุรกิจใน 3 ปีล่าสุด
    • การคาดการณ์กระแสเงินสดของธุรกิจภายใน 5 ปี
    • รูปถ่ายสาขาที่ทำการดำเนินการใน 6 เดือนล่าสุด
    • สำเนาใบรับรองการจดทะเบียนรับรองบริษัท (แบบฟอร์ม 9/13, 24, 44 และ 49) หรือ การลงทะเบียนธุรกิจ
    • รายละเอียดของบริษัทหรือธุรกิจ จาก the Companies Commission of Malaysia (CCM)
    • สำเนาใบรับรองเอกสาร/ ใบรับรองของเครื่องหมายทางการค้าพร้อมการ.....
    • โบรชัวร์ของบริษัท
    • รายงานประจำปีของบริษัท
    • ค้นหาประวัติการล้มละลายของแต่ละผู้บริหารโดย Department of Insolvency, Malaysia
    • จำนวนสาขาพร้อมกับรายละเอียวันเวลาการเปิดปิด
    • ต้นทุนแรกเริ่มสำหรับแฟรนไชส์จากประเภทของสาขา (กำหนดทำเลที่ตั้งและเวลาของการเปิด)
    • การตรวจสอบบัญชี หรือรูปภาพของสาขา การจัดการบัญชีตลอดระยะเวลาการดำเนินการ (การจัดการบัญชีต้องได้รับการรับรอง)
    • รายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุนแรกเริ่มต้นในธุรกิจแฟรนไชส์ (ตัวอย่างเช่น รายการต้นทุนองค์ประกอบ เช่น เครื่องมือ ติดตั้งและอุปกรณ์ สินค้าคงคลังเริ่มต้น เงินทุนหมุนเวียน และต้นทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)
    • การคำนวณและการให้เหตุผลสำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ เช่น ค่าธรรมเนียมสำหรับแฟรนไชส์ เงินส่วนแบ่งและค่าโฆษณา และค่าอื่นๆ
  2. การลงทะเบียนภายใต้มาตรา 54, พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998 เอกสารที่ต้องยื่น มีดังนี้
    • หนังสือแสดงเจตนา
      • วันที่จดทะเบียนและดำเนินการของบริษัท
      • ประวัติและแนวคิดของบริษัท
      • ประสบการณ์ด้านแฟรนไชส์
      • ผู้ซื้อ/ ผู้ซื้อต้นแบบซึ่งได้รับการระบุชื่อในมาเลเซีย
    • สำเนาใบรับรองการรวมตัวของบริษัท
    • สำเนาใบรับรองเอกสาร/ ใบรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
    • โบรชัวร์ของบริษัท
    • รูปถ่ายสาขา
  3. การลงทะเบียนภายใต้มาตรา 55, พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998 เอกสารที่ต้องยื่น มีดังนี้
    • แบบฟอร์ม 2
    • สำเนาใบรับรองการจดทะเบียนรับรองบริษัท (แบบฟอร์ม 9/13, 24, 44 และ 49)
    • สำเนาใบรับรองเอกสาร/ ใบรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
    • โบรชัวร์ของบริษัท/ รายงานประจำปีของบริษัท * ใบรับรองฉบับจริงจะต้องทำขึ้นโดย ทนายความ/ ผู้พิพากษา/ ตุลาการ/ ผู้บัญชาการคำสาบาน/ ศาลในมาเลเซีย
  4. สัญญาสำหรับแฟรนไชส์ สัญญาจะต้องเขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบด้วย (แต่ไม่จำกัดเพียงเท่านี้)
    • ชื่อและลักษณะของสินค้าหรือธุรกิจภายใต้แฟรนไชส์
    • การอนุญาตการใช้พื้นที่สำหรับแฟรนไชส์
    • ค่าธรรมเนียมที่อาจจะเกิดขึ้น
    • ข้อผูกพันสำหรับผู้ขายแฟรนไชส์
    • ข้อผูกพันสำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์
    • สิทธิสำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการใช้เครื่องหมายและทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ
    • เงื่อนไขต่างๆ ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจจะระบุ
    • ระยะเวลา cooling-off ของคำสั่ง
    • ลักษณะที่เกี่ยวกัยเครื่องหมายหรือทรัยย์สินทางปัญญาใดๆ เป็นเจ้าของโดย/ เกี่ยวข้องกับเจ้าของฟรนไชส์
    • หากมีสัญญาที่เกี่ยวข้องกับผู้ซื้อต้นแบบ สถานะและสิทธิที่ผู้ซื้อต้นแบบจะได้รับจากเจ้าของแฟรนไชส์
    • ประเภทและความช่วยเหลือเฉพาะที่ผู้ขายแฟรนไชส์เตรียมการให้
    • ระยะเวลาของแฟรนไชส์และระยะเวลาการต่ออายุ
    • ผลการสิ้นสุดและหมดอายุของสัญญาแฟรนไชส์
  5. รายงานประจำปี ผู้ขายแฟรนไชส์จะส่งรายงานประจำปีให้กับนายทะเบียนภายใน 30 วัน จากวันครบรอบการลงทะเบียน รายงานประจำจะต้องถูกจัดส่งโดยใช้แบบฟอร์ม BAF6 และประกอบด้วยข้อมูลและเอกสารดังต่อไปนี้
    • เลขที่/ ชื่อ/ ที่อยู่ ของสาขาแฟรนไชส์ดังนี้
      • บริษัทซึ่งเป็นเจ้าของสาขา
      • ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในประเทศซึ่งเป็นเจ้าของสาขา
      • ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของสาขา
    • ผลประกอบการรายปี
    • เอกสารเปิดเผยล่าสุด
    • การตรวจสอบงบการเงินล่าสุด รายงานที่จะส่งนั้นต้องได้รับลายเซ็นและการประทับตราจากบริษัทค่าธรรมสำหรับการดำเนินการ 50 ริงกิต และค่าธรรมเนียมสำหรับการลงทะเบียน 1,000 ริงกิต ค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถทำได้ผ่านตั๋วแลกเงินไปรษณีย์หรือธนาคารในชื่อของนายทะเบียนของแฟรนไชส์หลักฐานการสมัครทั้งหมดสามารถส่งที่ MDTCC
  6. การยื่นคำร้องสำหรับใบอนุญาตภาษีบริการ ธุรกิจฟรนไชสรวมถึงสถานประกอบอาหารจะต้องมีใบอนุญาตสำหรับภาษีบริการ พ.ร.บ 1975 และกฎระเบียบภาษี 1975 โดยทั่วไป ภาษีบริการเริ่มต้นจะเจาะจงขึ้นอยู่กับผลประกอบการรายปี ซึ่งอยู่ระหว่าง 150,000 ถึง 500,000 ริงกิต ซึ่งกำหนดอยู่ใน พ.ร.บ ภาษีบริการ อัตราภาษีบริการจะอยู่ที่ 6% ของมูลค่าการให้บริการ การยื่นคำร้องสำหรับการขอใบอนุญาตภาษีบริการจะต้องทำขึ้น ณ กรมศุลกากร ที่ใกล้ที่สุดกับบริษัทที่กำลังดำเนินการ
  7. เงินทุนขั้นต่ำ เงินทุนขั้นต่ำสำหรับผู้ถือหุ้น (รวมเงินทุนที่ชำระแล้วและเงินทุนสำรอง) จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของ แต่ละกรณี
  8. นโยบายส่วนผู้ถือหุ้น  ไม่มีเงื่อนไขที่เจาะจงสำหรับบริษัทที่อยู่ภายใต้ธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสนับสนุนให้มีการร่วมหุ้นระหว่างนักลงทุนมาเลเซียและต่างชาติ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมภายในประเทศในธุรกิจนี้
  9. เงื่อนไขการดำเนินการ  สามารถอ้างอิงจาก พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998
  10. เงื่อนไขเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความสนใจของสาธารณะ  สามารถอ้างอิงจาก พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998
อ้างอิงจาก  thaibizmalay
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,351
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,505
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,254
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,228
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด