บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
3.2K
4 นาที
31 มีนาคม 2558
เศรษฐกิจมาเลเซียปี 2556

ภาพรวมเศรษฐกิจมาเลเซีย  ปี2556

- มาเลเซียคงมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคง โดยในปี2555 เศรษฐกิจมาเลเซียเติบโตร้อยละ 5.6 ซึ่งสูงกว่าที่ คาดการณ์ไว้(ร้อยละ4.5 - 5.5) อันเนื่องมาจากปัจจัยสําคัญ  คือ การเติบโตของอุปสงค์ภายในประเทศที่ เติบโตสูงสุดในรอบ10 ปี นอกจากนี้ยังมาจากปัจจัยด้านการลงทุนทั้งภาครัฐ (เพิ่มขึ้ นร้อยละ17.1) และภาคเอกชน(เพิ่มชึ้นร้อยละ22 คิดเป็นร้อยละ15.5 ของGDP ซึ่งสูงสุดนับตั้ งแต่ปี 2541) ส่วนอุปทานมวลรวมมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคก่อสร้างซึ่งเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2538 ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ1.6 (อัตราร้อยละ3.2 ในปี2554) อันเป็นผลจากการชะลอตัวการขึ้นราคาสินค้าประเทศอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มี แอลกอฮอล์

ทั้งนี้  ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การพัฒนาประเทศตามEconomic Transformation Program ของมาเลเซียซึ่งมีโครงการลงทุนมูลค่าหลายพันล้านริงกิตมีส่วนสําคัญที่ทําให้ ภาคการก่อสร้างเติบโตอย่างมากและส่งผลไปยังภาคส่วนอื่นในระบบเศรษฐกิจทั้งที่ เศรษฐกิจโลกยังมีความผันผวน

-  ช่วงไตรมาสแรกของปี2556 เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวในระดับปานกลาง คือ ร้อยละ4.1 มีปัจจัยบวกจากความต้องการภายในประเทศที่ยังแข็งแกร่ง  มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นและการลงทุนยังขยายตัว (การลงทุนในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ13.2 และในภาครัฐจะมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานในระยะ2-3 ปีข้างหน้าจํานวนมาก) ดังนั้น  ทางการมาเลเซียจึงเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในปี2556 จะเติบโตร้อยละ 5-6 ตามที่ คาดการณ์ไว้

- มาเลเซียมุ่งพัฒนาสู่ การเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี ค.ศ. 2020 (รายได้ประชากรต่อหัว15,000 เหรียญ สรอ./ปี) และเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว จึงได้ให้ความสําคัญใน6 ประเด็น ได้แก่

(1) Economic Transformation Programme (ETP) ซึ่งประกอบด้วย2 ส่วน คือ Focus และ Competitiveness
       Focus:  การขยายการเติบโตด้านการลงทุน  โดยต่อยอดโครงการสําคัญต่างๆ ภายใต้ National Key Economic Areas 12 สาขา (12 NKEAs) ได้แก่
       - Oil, Gas and Energy
       - Palm Oil and Rubber
       - Financial Services
       - Wholesale & Retail
       - Tourism
       - Communication Content and Infrastructure
       - Education
       - Business Service
       - Private Healthcare
       - Electrical & Electronics
       - Agriculture
       - Greater Kuala Lumpur/Klang Valley
     Competitiveness : เพื่ อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศที่ เอื้ อต่อการแข่งขัน  รัฐบาลมาเลเซีย ได้กําหนด6 ยุทธศาสตร์การปฏิรูป / Strategic Reform Initiatives (SRIs) ดังนี้
      - Competition, Standards and Liberalisation
      - Human Capital Development
      - Reducing Government’s Role in Business
      - Public Finance Reform
      - Public Service Delivery
      - Narrowing Disparity

(2) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ จัดตั้งและพัฒนา5 ระเบียงเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนา5 เมืองหลัก  เพื่อกระจายการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ทั่วถึงทั้งประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและความร่วมมือในสาขาต่างๆ ที่ถนัด  ซึ่งจะเป็นสาขาที่ สอดคล้องกับ 12NKEAs ดังนี้
      - ISKANDAR Malaysia กับ Johor Bahru
      - Northern Corridor Economic Region (NCER) กับ Georgetown
      - East Coast Economic Region (ECER) กับ Kuantan
      - Sarawak Corridor of Renewable Energy (SCORE) กับ Kuching

(3) การพัฒนาระบบศึกษาและการพัฒนาฝีมือบุคลากร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาครูในภาควิชาหลัก อาทิ ภาษามาเลย์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์  และคณิตศาสตร์ เป็นต้น  รวมทั้งการปรับปรุงด้านโครงสร้างของอาคารห้องเรียนของโรงเรียนทุกประเภท ไม่ว่ าจะเป็นโรงเรียนชาวจีน โรงเรียนชาวอินเดีย  โรงเรียนชาวมาเลย์ และโรงเรียนสอนศาสนา ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ ของเด็กเล็ก  (Pre-School) สําหรับการพัฒนาฝีมือ  นั้น รัฐบาลสนับสนุนเงินงปม.ในการฝึกอบรมเพื่ อพัฒนาฝีมือนักศึกษาจใหม่ในลักษณะ on-the-job-training กับบริษัทเอกชนต่างๆ โดยบริษัทเหล่านี้ สามารถที่ จะหักภาษีรายจ่ายจากการฝึกอบรมได้จนถึงสิ้ นปี ค.ศ. 2016

(4)  การเพิ่ม ผลผลิต ผ่านนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้มี การใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มและการขยายกิจการของธุรกิจ  SMEs นอกจากนี้  จะสนับสนุนกิจกรรมภาคการวิจัยและพัฒนา(R&D) ด้านต่างๆ อาทิ นาโเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอวกาศ รวมถึงการพัฒนา Green เทคโนโลยี เป็นต้น

(5)  การปรับสภาวะการคลังให้สมดุล  รัฐบาลเน้นการรักษาวินัยการเงินการคลังมากขึ้น  โดยคาดว่าการขาดดุลงบประมาณจะลดลงจากร้อยละ  4.5 ของ GDP ในปี 2555 เหลือร้อยละ  4 ของ GDP ในปี2556 และจะลดลงเหลือร้อยละ 3 ในปี 2558 รวมทั้งประกาศว่าหนี้ สาธารณะจะไม่สูงกว่า ร้อยละ  55 ของ GDP นอกจากนี้  จะเสริมสร้างมาตรการจัดเก็บภาษี และเน้นย้ำให้ทุกกระทรวงคํานึงถึงความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณมากขึ้น 

(6) การเสริมสร้างความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการสาธารณสุขระบบสาธารณูปโภค การคมนาคม การศึกษา การกีฬา สภาพแวดล้อมของที่พั กอาศัย /สังคม และการพัฒนาสตรีและสถาบันครอบครัว

- ความท้าทายต่อนโยบายเศรษฐกิจมาเลเซีย(long-term competitiveness) ที่สําคัญ  ได้แก่
     (1) การครอบครองตลาดการผลิตปาล์มน้ำมันและยางพาราของอินโดนีเซียและไทย
     (2) การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของeconomic clusters
     (3) การเพิ่มขึ้นของนักลงทุนต่างประเทศและการไหลออกของเงินลงทุนภายในประเทศ
     (4) การขาดแคลนผู้มีความสามารถพิเศษ
     (5) ต้นทุนการทําธุรกิจที่สูงขึ้น
     (6) อัตราการว่างงานที่ เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มแงงานไร้ฝีมือและแรงงานกลุ่มที่ จบปริญญาตรี
     (7) คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์และแนวโน้มของปัญหาในเรื่องการขาดความเป็นเอกภาพ/ความสามัคคีภายในชาติ ขาดขีดความสามารถในการบริหารและติดตามตรวจสอบของหน่วยงานภาครัฐ  ขาดการบูรณาการระหว่างภาควิชาการ ภาคธุรกิจและภาครัฐ  ปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลระดับรัฐ  ปัญหาการพึ่งพาexternal factor มากเกินไป  การเสริมสร้างภาพลักษณ์ ของประเทศ ฯลฯ ความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย  ปี2556

-  ความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซียโดยรวมมีความใกล้ชิดและดําเนินไปอย่างราบรื่น และไม่มีปัญหาสําคัญที่ อาจลุกลามกลายเป็นข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีการประชุมของกลไกความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ทั้งในด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และการพัฒนา เพื่อติดตามและผลักดันความร่วมมือที่มีศักยภาพที่สําคัญ  ได้แก่การประชุมหารือประจําปีระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย-มาเลเซีย ครั้ งที่ 5 (28 กุมภาพันธ์2556) การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-มาเลเซีย(JC) ครั้ งที่ 12 และการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสําหรับพื้นที่ ชายแดนไทย-มาเลเซีย(JDS) ครั้ งที่ 3 (13-15 ธันวาคม2555 ที่ จ.ภูเก็ต ) การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่ วไป(GBC) ครั้ งที่ 51 (14-15 ธันวาคม2555 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์) ซึ่งสะท้อนถึงความสําคัญที่ทั้งสองฝ่ายให้แก่กัน

- แนวทางสําคัญของความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทย-มาเลเซีย ได้แก่(1) Comprehensive Partnership (2) ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน-ประชาชน (3) ความร่วมมืออยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและความสัมพันธ์สองทาง (4) ไทย-มาเลเซีย มีศักยภาพในการร่วมกันนําร่อง หรือมีบทบาทนําในอาเซียนได้ในหลายสาขาความร่วมมือและควรขยายความร่วมมือกันทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลกในเรื่องที่มี ความสนใจและผลประโยชน์ร่วมกัน

- สถานการณ์ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้(จชต.) เป็นประเด็นสําคัญในความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มาเลเซียซึ่งปัจจุบันมีพัฒนาการในที่ดี ตามลําดับ  ทั้งสองฝ่ายได้มี การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อร่วมมือกันแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบใน จชต. ซึ่งได้ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน

ไทยและมาเลเซียให้ความสําคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อพัฒนาพื้นที่ ชายแดนเพื่อส่งเสริมความกินดีอยู่ดี ของประชาชน และเพื่อเสริมสร้ างเสถียรภาพและความมั่นคงในพื้นที่  พัฒนาการที่สําคัญ  ได้แก่

  (ก) การอํานวยความสะดวกด้านการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ชายแดน: ได้มี การลงนามความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนฉบับปรับปรุงจากฉบับปี2483 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2556 ในช่วงการประชุมหารือประจําปีระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 5 เพื่อให้การสัญจรไปมาระหว่างประชาชนสองฝ่ายมีความสะดวกยิ่งขึ้น

  (ข) ความมั่นคงในพื้นที่ : นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้รื้อฟื้นความร่วมมือด้านการแก้ไขปัญหาบุคคลสองสัญชาติ โดยฝ่ายมาเลเซียกําหนดจะจัดการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการตรวจคนเข้าเมืองเพื่อแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลเพื่อนํา biometric border pass system และMalaysia Automated Clearance System (MACS) มาปรับใช้ในการพิสูจน์บุคคลสองสัญชาติ ระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน2556 ณ เมืองยะโฮร์บารู รัฐยะโฮร์ แต่ได้เลื่อนออกไปเนื่องจากสถานการณ์หมอกควั นและมลพิษทางอากาศในมาเลเซีย

  (ค) การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน: ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้เร่งรัดการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก2 แห่ง  เพื่อเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดนราธิวาสกับรัฐกลันตัน ได้แก่(1) ตากใบ-เปิงกาลันกุโบร์และ(2) สุไหงโก-ลก– รันเตาปันยัง / การเปิดด่านศุลกากร ตรวจคนเข้าเมืองและกันกันสินค้า (CIQ) อย่างเป็นทางการที่บ้ านประกอบ จังหวัดสงขลากับดุเรียนบุหรง รัฐเกดะห์/ การขยายด่านสะเดา-บูกิตกายูฮิ ตัม  เพื่อรองรับการจราจรขนส่งและการเดินทางข้ามแดนของประชาชนที่ เพิ่มขึ้น/ การร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ การเชื่อมโยงแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย(Southern Development Plan – SDP) กับเขตพัฒนาเศรษฐกิจทางเหนือ(Northern Corridor Economic Region – NCER) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจทางตะวันออก(East Coast Economic Region – ECER) ของมาเลเซีย/ และในช่วงการประชุมหารือประจําปีระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2556 นายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซียได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่ ด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาของภาคเอกชนในพื้นที่ชายแดนครอบคลุมความร่วมมือ6 สาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ อุตสาหกรรมพลังงานและพลังงานทางเลือกอุตสาหกรรมยางและน้ำมันปาล์ม  อุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)

  (ง) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: ไทยกับมาเลเซียมีความร่วมมือด้านการศึกษาและอุดมศึกษาอย่างใกล้ชิด  มีการแลกเปลี่ยนครูและนักเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยมาเลเซียได้มีส่วนช่วยไทยในการพัฒนาสองหลักสูตร(วิชาสามัญและวิชาศาสนา) ในโรงเรียน จชต. และได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนใน จชต.ให้ไปศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่ มาเลเซียปีละ60 ทุนเป็นระยะเวลา5 ปี(2551-2556) เนื่องในโอกาสครบรอบ50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซียเมื่อปี2550

อ้างอิงจาก  thaibizmalay
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,355
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,521
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,262
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,229
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด