บทความทั้งหมด    บทความค้าขาย    ขายตรง เครือข่าย    การขาย และการหาลูกค้าในธุรกิจขายตรง
3.7K
2 นาที
28 ตุลาคม 2557
มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการขายตรง

การควบคุมการขายตรงในสหรัฐอเมริกาใช้กฎหมายระดับสหพันธรัฐได้จัดทำขึ้นใน ค.ศ.1914 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในการแข่งขันที่เป็นธรรม และการถูกหลอกลวงต่อผู้บริโภค โดยให้การควบคุมเรื่องสำเนาใบเสร็จรับเงิน สำเนาสัญญาซื้อขาย หนังสือแบบการเลิกสัญญา

การควบคุมการขายตรงในประเทศอังกฤษ มีสาระสำคัญของบทบัญญัติ ดังนี้
  1. บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการขายตรงว่าด้วยการขายแบบปิรามิด ได้กำหนดองค์ประกอบของแผนการค้า คือ การส่งเสริมการขายสินค้าหรือบริการ การจัดหาบุคคลผู้มีส่วนในแผนการขาย การจัดทำสัญญา
  2. บทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยความผิด ถ้าบุคคลละเมิดกฎระเบียบภายใต้มาตรา 119 ต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
  3. บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับแผนการค้า จัดทำโดยเลขาธิการของมลรัฐ โดยให้อยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องแผนการค้า
การควบคุมการขายตรงในประเทศมาเลเซีย กฎหมายที่ใช้ในการกำกับ ดูแลธุรกิจการขายตรง คือขอบเขตของธุรกิจการขายตรง ลักษณะของการประกอบธุรกิจการขายตรง การให้ระยะเวลาในการใช้สิทธิเลิกสัญญา และบทกำหนดโทษต่อบุคคลที่กฎหมายระบุไว้

การวิเคราะห์ทางกฎหมายและการปรับใช้กฎหมายกับธุรกิจการขายตรง

การวิเคราะห์ทั่วไปของรูปแบบนิติกรรมสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีที่มาจากประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมนีเพื่อประสงค์ไม่ให้นิติกรรมที่จะผูกพันไม่ให้ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการปรับใช้กฎหมายกับสัญญาขายตรง ที่ผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคต้องทำสัญญาผูกพัน ปัญหาในการทำสัญญา คือ ผู้ขายจะเป็นผู้กำหนดรายละเอียดในสัญญา

โดยผู้ซื้อจะไม่มีอำนาจในการเจรจาต่อรองที่แท้จริง ส่วนปัญหาว่าด้วยการเลิกสัญญา กฎหมายต่างประเทศให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาตามระยะเวลาที่กำหนด ในประเทศไทยได้พิจารณาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แยกกรณีการใช้สิทธิเลิกสัญญาเป็น 2 กรณี คือ
  1. กรณีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ตาม มาตรา 387 ถึง มาตรา 388
  2. กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย มาตรา 389บทบัญญัติของประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 ถึง มาตรา 389 ยังไม่เพียงพอในการคุ้มครองผู้ซื้อในการเลิกสัญญา

การวิเคราะห์ทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มีอยู่ 3 มาตรา คือ
  1. ความรับผิดฐานขายของโดยหลอกลวง มาตรา 271
  2. ความรับผิดฐานฉ้อโกง มาตรา 341
  3. ความรับผิดฐานฉ้อโกงประชาชน มาตรา 343
โดยสรุปประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้จะนำมาใช้กับการขายตรงที่เป็นการหลอกลวงกันยังเป็นการยากที่จะใช้ให้ได้ผลดีอยู่นั่นเอง

บทบัญญัติของกฎหมายอาหารและยาที่เกี่ยวกับการขายตรง

การควบคุมการโฆษณายาจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องยื่นขออนุญาตก่อนที่จะทำการโฆษณา โดยทั่วไปการเผยแพร่ข้อมูลไม่ให้เกิดความสับสนและสำคัญผิดในคุณภาพของสินค้าตลอดจนการแนะนำการใช้ต่อผู้บริโภค ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของการดำเนินการในความหมายของการขายตรงแต่อย่างใด เนื่องจากไม่มีการแนะนำการขายสินค้า หรือสาธิตการใช้สินค้าโดยตรงต่อผู้บริโภคการควบคุมการโฆษณาอาหารในลักษณะทั่วไป ที่ต้องยื่นขออนุญาต

โดยข้อความที่ใช้ในการโฆษณานั้นจะต้องไม่เป็นการสร้างความสับสนและสำคัญผิดในคุณภาพ ประโยชน์ สรรพคุณอาหาร โดยลักษณะการควบคุมจะเป็นการควบคุมต่อการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยทั่วไป ก็ถือได้ว่าแนวทางการโฆษณาก็เป็นส่วนหนึ่งของการจัดจำหน่ายสินค้าโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะรวมถึงการขายตรงด้วย แต่ไม่ใช่กฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการโฆษณาในการขายตรง

มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการขายสินค้าระบบขายตรง

ความจำเป็นในการประกอบธุรกิจขายสินค้าระบบขายตรงเป็นธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ เป็นปัญหาที่เกิดจากการขาดแนวทางกฎหมายที่ชัดเจนและเหมาะสม รัฐต้องเพิ่มบทบาทในการเพิ่มมาตรการที่จะทำหน้าที่ควบคุม ดูแลการดำเนินธุรกิจและผลประโยชน์ของประชาชนกลไกลทางกฎหมายในส่วนของการขายตรง ในการปรับใช้กฎหมายยังไม่สามารถที่จะคุ้มครองผู้บริโภคเพียงพอต่อระบบการขายตรง

แนวทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการขายตรง คือ มาตรการขออนุญาตในการประกอบธุรกิจให้อยู่ภายใต้กฎหมาย กำหนดรายละเอียดการเปิดเผยข้อมูล ให้มีกฎระเบียบในการโฆษณา กำหนดรายละเอียดในการจัดตั้งบริษัทผู้ประกอบการ

อ้างอิงจาก  mlmtalkcenter.blogspot.com
บทความค้าขายยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ทีมไหน! หา"ทำเล"ก่อนทำธุรกิจ vs เลือก "ธุรกิจ" ก..
409
บทความค้าขายมาใหม่
บทความอื่นในหมวด