บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
4.3K
2 นาที
12 กันยายน 2557
Franchise เขาทำกันอย่างไร?

สวัสดีครับ จากสัปดาห์ก่อนที่ผมได้นำเสนอถึงวิธีการออกแบบการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) โดยมีแนวทางการออกแบบการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เบื้องต้น 3 วิธีการนั้น

ในสัปดาห์นี้ผมจะยกตัวอย่างการออกแบบการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ เป็นตัวอย่าง 1 วิธีการ คือ วีธีบวกเพิ่มจากต้นทุนค่าใช้จ่าย ซึ่งจากที่กล่าวไปครั้งที่แล้ว  ว่าวิธีบวกเพิ่มให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายเป็นวิธีการหนึ่งที่กำหนดอัตราขั้นต่ำไว้เป็น “ฐาน” ในการกำหนดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ โดยแฟรนไชส์ซอร์คำนวณจากค่าใช้จ่ายการตลาดทั้งหมด ค่าฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายสนับสนุนในระยะแรกที่เกี่ยวกับการขายแฟรนไชส์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สมเหตุสมผล โดยผมขอนำปัจจัยเบื้องต้นในการพิจารณาประกอบได้แก่

1.ต้นทุนเกี่ยวกับการที่จะได้มาซึ่งแฟรนไชส์ซี กล่าวคือ ในการที่แฟรนไชส์ซอร์จะให้สิทธิแฟรนไชส์แก่แฟรนไชส์ซีแต่ละรายนั้น แฟรนไชส์ซอร์จะต้องมีงบประมาณในด้านต่างๆ เช่น การสัมมนา การออกงานแสดงธุรกิจ และการฝึกอบรม เป็นต้น โดยสมมติว่าเราใช้งบประมาณทั้งสิ้น 500,000 บาท ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ข้างต้น แล้วได้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมเหล่านี้ ทำให้เราได้มาซึ่งแฟรนไชส์ซีจำนวน 5 ราย

นั้นแสดงว่าเรามีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการได้มาซึ่งแฟรนไชส์ซี 1 ราย เป็นมูลค่าเงินจำนวน 100,000 บาท หรือสามารถวิเคราะห์ได้จากสมการ ต้นทุน = งบประมาณที่ใชในการหาแฟรนไชส์ซี ÷ จำนวนแฟรนไชส์ซีที่ได้

2.ต้นทุนเกี่ยวกับค่าฝึกอบรม การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ในการดำเนินธุรกิจให้กับแฟรนไชส์ซีนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากในระบบแฟรนไชส์ ดังนั้นปัจจัยนี้จึงมีความสำคัญมากเช่นกันที่จะต้องพิจารณาถึง ยกตัวอย่างเช่น แฟรนไชส์ซีจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมกับแฟรนไชส์ซอร์ 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนเปิดดำเนินกิจการ  จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมที่สำนักงานของแฟรนไชส์ซอร์จำนวน 30 วัน

โดยให้สิทธิ์แฟรนไชส์ซีส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 5 คน และช่วงที่เริ่มเปิดดำเนินกิจการจำนวน 15 วัน มีบุคลากรของแฟรนไชส์ซอร์จำนวน 2 คนเป็นผู้ให้การฝึกอบรม จากตัวอย่างข้างต้นนั้นสามารถคิดคำนวณต้นทุนที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ (ยกตัวอย่าง)

• ต้นทุนการฝึกอบรมที่สำนักงานของแฟรนไชส์ซอร์จำนวน 30 วัน แฟรนไชส์ซอร์มีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากค่าวิทยากรวันละ 5,000 บาท ค่าอาหารวันละ 300 บาท/คน ค่าเอกสารคนละ 2,000 บาท ดังนั้นแฟรนไชส์ซอร์จะมีต้นทุนที่เกิดขึ้นคือ ค่าวิทยากร = 5,000 x 30 = 150,000 บาท , ค่าอาหาร = 300 x 30 x 5 = 45,000 บาท และค่าเอกสาร = 2,000 x 5 = 10,000 บาท รวมเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมที่สำนักงานของแฟรนไชส์ซอร์จำนวน 30 วัน เท่ากับ 150,000 + 45,000 + 10,000 = 205,000 บาท

• ต้นทุนการฝึกอบรมที่ร้านสาขาของแฟรนไชส์ซีจำนวน 15 วัน แฟรนไชส์ซอร์มีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการส่งบุคลากรจำนวน 2 คน ระยะเวลา 15 วัน มีค่าใช้จ่ายจากค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าที่พัก เบื้องต้นรวม 20,000 บาท

3. ต้นทุนเกี่ยวกับการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีในระยะเริ่มต้น กล่าวได้คือ ในระยะเริ่มต้นธุรกิจของแฟรนชส์ซีในช่วงเริ่มต้นนั้นจะต้องมีการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าแฟรนไชส์ซีจะได้รับการฝึกอบรมแล้วก็ตาม ดังนั้นเราจึงคำนวณต้นทุนที่จะเกิดขึ้นไว้ในอัตรา 5-10% ของค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เราต้องส่งบุคลากรไปช่วยให้คำปรึกษา แนะนำ รวมถึงการช่วยสนับสนุนในด้านต่างๆ

เมื่อพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ข้างต้นแล้วนั้นจะเห็นได้ว่าอัตราค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ที่เกิดขึ้นจากตัวอย่างข้างต้นโดยวิธีการบวกเพิ่มจากต้นทุนค่าใช้จ่าย นั้นมีอัตราเท่ากับ (100,000 + 205,000 + 20,000) x 5% = 341,500 บาท

สรุปการคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ฟี

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ = ค่าใช้จ่ายทางการตลาด + ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม + ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนระยะเริ่มต้น + ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

นี้คือแนวคิดเบื้องต้นเท่านั้นนะครับ สำหรับการออกแบบการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ซึ่งยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาถึง เช่น ระยะเวลาของสัญญา ผลตอบแทนของแฟรนไชส์ซี และอื่นๆ อีกมากที่ยังไม่ได้กล่าวถึง ณ ที่นี้

และที่สำคัญมากคือค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์นั้น ไม่ควรมีการจัดทำโปรโมชั่นน่ะครับ เช่น จองสิทธิ์แฟรนไชส์ช่วงนี้ลดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 50% หรือไม่เรียกเก็บ เพราะถ้าไม่มีการเรียกเก็บแล้ว แฟรนไชส์ซอร์เหล่านั้นจะไม่สามารถให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีได้เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็นสัปดาห์ต่อไปจะกล่าวถึงเรื่องการออกแบบการเก็บค่าสิทธิ์แฟรนไชส์ในรูปแบบต่างๆ
 
ซึ่งประกอบไปด้วย ค่าสิทธิ (Royalty Fee) ค่ากองทุนการตลาด (Marketing Fee) ค่าการตลาดท้องถิ่น (Local Store Marketing Fee) และค่าสิทธิ์อื่นๆ ในระบบแฟรนไชส์  ซึ่งถือว่าเป็นหัวข้อที่สำคัญอีกหัวข้อหนึ่งของการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Strategic Planning)

ขอบคุณและสวัสดีครับ

อ้างอิงจาก อาจารย์อรรถวุฒิ จริงไธสง


 
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,679
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,803
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด