บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    เรื่องราวความสำเร็จ
4.2K
2 นาที
25 เมษายน 2552
ต้นฉบับกับแฟรนไชส์
  
เมื่อไม่นานมานี้ ดิฉันได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ที่สนใจอยากทำธุรกิจแฟรนไชส์สองราย รายหนึ่งยังไม่ได้เริ่มทำธุรกิจ แต่มีสินค้าประเภทเครื่องแกง สำเร็จรูปหลากหลาย ที่มีจุดเด่นในตัวสินค้าตรงที่มีรสชาติเข้มข้นกลมกล่อมโดยไม่ต้องปรุงรสเพิ่มเติม

ไม่เหมือนเครื่องแกงที่ขายกันอยู่ทั่วไปใน ท้องตลาดที่ติดฉลากว่าให้เติมรสชาติตามต้องการ และไม่ต้องใส่วัตถุกันเสียก็สามารถเก็บไว้ได้นาน สินค้าตัวที่ว่านี้ได้ทำการคิดค้นและทดลอง ตลาดจนได้รับการยอมรับในรสชาติจากบุคคลทั้งที่ใกล้ชิดและไม่ใกล้ชิด จนน่าจะสรุปได้ว่าของเขา “อร่อยนะ” รายที่สองทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องประดับ ขายส่งมานานกว่าสิบปี

หลังจากที่ได้รับฟังและพูดคุยกับเจ้าของธุรกิจรายนี้แล้ว ดิฉันรู้สึกว่าเขาเป็น คนที่ไม่อยู่นิ่ง อยากจะขยายตลาดของตัวเองออกไปอีก ทั้งๆที่ธุรกิจมีความมั่นคงอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นเราๆท่านๆหลายคนก็คงก็ค่อยทำไปเรื่อยๆ เพราะตลาดมันไปได้ แต่ผู้ประกอบการท่านนี้ดูเหมือนจะค่อยๆทำไม่เป็น ขวนขวายค้นคว้าหาข้อมูลจนเริ่มทำธุรกิจในรูปค้าปลีก และก็ยอมรับ กับตัวเองว่ามันไม่ง่ายเหมือนค้าส่ง รายละเอียดของงานมาก ความรับผิดชอบก็เพิ่มมากขึ้นด้วย แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ผู้ประกอบการท่านนี้ท้อถอย กลับทำให้เริ่มคิดที่จะขยายธุรกิจในรูปแบบอื่นๆอีก

เล่ามาถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้อ่านคงพอจะจับใจความได้แล้วว่า ทั้งสองรายมีความแตกต่างกันตรงที่ รายหนึ่งยังไม่ได้เริ่มลงมือเปิดตัวอย่างเป็น เรื่องเป็นราว อีกรายหนึ่งมีธุรกิจที่มั่นคงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในตลาดมานานจนน่าจะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ และทั้งสองราย มีความเหมือนกันตรงที่อยากจะทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์เหมือนกัน

เมื่อถามว่ามีความเป็นไปได้ไหม ที่ทั้งสองรายจะทำแฟรนไชส์ คำตอบ คือเป็นไปได้ทั้งสองราย

แต่พอถามต่อไปอีกว่าจะเริ่มทำได้เลยหรือเปล่า คำตอบก็คือยังไม่ได้ทั้งคู่ อ้าว...ทำไมหล่ะ อย่างน้อยรายหลังน่าจะมีภาษีดี ว่านะ เพราะธุรกิจของเขาติดตลาดอยู่แล้ว น่าจะเริ่มได้เลย แต่ความจริงก็คือ ทั้งคู่ยังขาดความรู้เข้าใจในแก่นของการทำแฟรนไชส์ ไม่ใช่ว่า เอาสินค้ามาให้คนอื่นขาย เก็บค่าธรรมเนียมบ้าง ไม่เก็บบ้าง แล้วจะมาเรียกว่า แฟรนไชส์ อย่างนั้นมันคงไม่ใช่ แฟรนไชส์มันมีลักษณะพิเศษ เฉพาะโดนเด่นอย่างหนึ่งที่เขามักจะเปรียบเปรยว่า เป็นการทำธุรกิจแบบโคลนนิ่ง---Cloning หลักการโคลนนิ่งที่ว่านี้ มันคือ การคัดลอกหรือการทำซ้ำจากต้นฉบับนั่นเอง
 
ซึ่งทั้งสองรายที่ดิฉันยกมาเป็นตัวอย่างวันนี้ยังไม่มีต้นแบบธุรกิจ ของตนเองที่มีความชัดเจนที่จะนำเสนอเข้าสู่ตลาดในรูปแบบของแฟรนไชส์ ซึ่งแนวคิดในการทำธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีธุรกิจที่เป็นตัวต้น แบบก่อนแล้วจึงค่อยเพิ่มจำนวนของธุรกิจโดยสร้างหน่วยของธุรกิจหรือสาขา ด้วยวิธีการลอกเลียนแบบจากต้นแบบ พูดง่ายๆเหมือนการ ถ่ายเอกสาร ถ้าต้นฉบับขาดความคมชัด ก็จะได้สำเนาที่ไม่ชัดเจน

เปรียบกับธุรกิจ ถ้าเราสร้างธุรกิจต้นแบบไว้ไม่ดี แล้วนำต้นแบบไปขายเพื่อ ขยายสาขา แทนที่จะเป็นการขยายธุรกิจ กลับกลายเป็นการขยายปัญหาออกไปให้กับคนอื่น สุดท้ายปัญหาก็ย้อนกลับมาที่เราเจ้าของต้นฉบับ โดนเขาชี้หน้าด่าว่าธุรกิจเรามันไม่ดี ยิ่งขยายสาขาออกไปมากเท่าไหร่ มันก็จะกลายเป็นปัญหาย้อนกลับมากขึ้นเท่านั้น แทนที่จะเดินหน้าทำการ วางแผนเพื่อรับมือกับคู่แข่งขัน สุดท้ายต้องวางแผนเพื่อรับศึกกับแฟรนไชส์ซีของตัวเองที่เคยเป็นหวานใจกันเมื่อวันวาน แล้วก็จะมาบอกว่า แฟรนไชส์มันไม่ดีอย่าทำเลย ทำให้เสียวงการซะเปล่าๆ

ท้ายนี้ ก็อยากจะฝากข้อคิดสำหรับผู้ที่สนใจจะเข้าวงการคนอื่นๆซะนิดนึงว่า วันนี้ท่านมีต้นฉบับดีๆ แล้วหรือยัง? 


ที่มา : ดร.สุนันทา ไชยสระแก้ว  
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,032
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,507
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,636
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,578
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด