บทความทั้งหมด    บทความค้าขาย    การบริหารจัดการร้านค้า    การเช่าพื้นที่ หาทำเล เปิดร้าน
4.6K
7 นาที
15 มีนาคม 2558
อบต. กับการจัดการปัญหาสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย บทที่ 9 การจัดการ เรื่อง ตลาด สถานที่จำหน่าย หรือสะสมอาหาร

ตลาด สถานที่จำหน่าย หรือสะสมอาหาร เป็นสถานประกอบกิจการประเภทหนึ่ง ที่มีอยู่ในชุมชน ทั้งเขตเมือง และเขตชนบทมากมาย นับได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน แต่โดยที่สถานประกอบการดังกล่าว อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ของประชาชนได้โดยง่าย

ทั้งนี้เพราะเป็นสถานประกอบการ ที่นำเอาอาหารนานาชนิดมาจำหน่าย แก่ประชาชนผู้บริโภค โดยเฉพาะสถานที่จำหน่าย และสะสมอาหารที่มีขั้นตอน การทำการปรุง การประกอบอาหาร การวาง หรือเก็บเพื่อจำหน่าย ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ ล้วนแต่อาจทำให้อาหารที่ให้บริการประชาชน เกิดความสกปรก หรือปนเปื้อนเชื้อโรค พยาธิ หรือสารเคมีที่เป็นพิษ

อันเนื่องมาจากความสกปรกของตัวอาหารดิบ สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปรุง ผู้เสิร์ฟไม่ถูกต้อง ความสกปรกของภาชนะอุปกรณ์ น้ำใช้ รวมทั้งอาจเกิดจากความสกปรกของสถานที่ ห้องน้ำห้องส้วม เป็นต้น ซึ่งเมื่อประชาชนรับประทานอาหารนั้นเข้าไป ย่อมก่อให้เกิดการเจ็บป่วย และเป็นอันตรายต่อสุขภาพในทันที

ด้วยความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนดังกล่าวข้างต้น จึงมีพระราชบัญญัติที่ให้อำนาจ แก่ราชการส่วนท้องถิ่น ในการควบคุมดูแลด้านสุขลักษณะ ของสถานประกอบกิจการดังกล่าว ที่สำคัญคือ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ส่วนพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 จะมีบทบัญญัติบางส่วนที่ให้อำนาจในการควบคุมดูแล ซึ่งจะขอกล่าวรายละเอียดเป็น 2 เรื่อง ดังต่อไปนี้

เรื่อง การควบคุมกิจการตลาด

1. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535

ความหมายและขอบเขต

"ตลาด" หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้า ใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้า ประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหาร อันมีสภาพเป็นของสด ประกอบ หรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วย หรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้ สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุม เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าว เป็นประจำ หรือเป็นครั้งคราว หรือตามวันกำหนด

ตลาดในความหมายตามพระราชบัญญัติฯ นี้ จึงครอบคลุมตลาดที่จัดขึ้นเป็นประจำ หรือเป็นครั้งคราว หรือตามวันนัด ไม่ว่าจะเป็นการจัดในสถานที่ของเอกชน หรือในที่ หรือทางสาธารณะ และไม่ว่าจะมีโครงสร้างอาคาร หรือจะเป็นบริเวณที่ไม่มีอาคารก็ตาม ที่สำคัญจะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้คือ 1) เป็นการชุมนุมผู้ค้า ผู้ขายสินค้าร่วมกัน 2) สินค้านั้นต้องเป็นสินค้าประเภทอาหารสด ได้แก่ ผักสด ผลไม้ สัตว์เป็น หรือเนื้อสัตว์ที่ชำแหละแล้วเป็นสำคัญ ส่วนจะมีสินค้าอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม

ดังนั้น ตลาดนัดที่จัดให้มีการจำหน่ายสินค้า ประเภทเครื่องไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า เสื้อผ้า อุปกรณ์ของใช้อื่นๆ เป็นสำคัญ โดยอาจจะมีร้านค้าอาหารขาย ให้ผู้บริโภคอยู่บ้าง ลักษณะการประกอบกิจการนี้ จึงมิใช่การประกอบกิจการตลาด ตามความหมายในพระราชบัญญัตินี้ หากแต่เป็นการจำหน่ายสินค้า ในที่ หรือทางสาธารณะ ตามบทบัญญัติในหมวด 9 ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ 5

1.2 การควบคุมกิจการตลาดของ อบต.


   1. ตามบทบัญญัติมาตรา 34 กำหนดให้ ผู้ที่ประกอบกิจการคลาดในที่ใดๆ ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในเขตที่เป็นที่ตั้งของตลาดนั้น รวมทั้งเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ภายหลังต้องการเปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลดสถานที่ หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดนั้น ก็ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นหนังสือก่อน จึงจะดำเนินการได้ (ดูแผนภูมิที่ 14)

    ส่วนกรณีที่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การของรัฐ ที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ กฎหมายกำหนดว่า ไม่ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ได้รับอนุญาต ในเรื่องที่เกี่ยวกับสุขลักษณะในการประกอบกิจการด้วย (มาตรา 34 วรรค 3) ซึ่งนอกจากนี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ยังอาจกำหนดเงื่อนไขด้านสุขลักษณะ เป็นหนังสือให้กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐนั้น ต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายอีกก็ได้ (มาตรา 34 วรรค 3)

    ตัวอย่างเช่น กรณีที่กระทรวงเกษตรฯ หรือจังหวัด จัดกิจกรรม "ธนาคารโค กระบือ" ซึ่งจำเป็นต้องนำโค กระบือ มาจำนวนมาก เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ซึ่งการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว เข้าข่ายกิจการตลาดประเภทหนึ่ง และอาจเกิดมูลโค กระบือ เลอะเทอะอยู่ทั่วไปในบริเวณนั้น กรณีเช่นนี้ อบต. ที่มีอำนาจหน้าที่ในเขตพื้นที่นั้น อาจมีหนังสือถึงจังหวัด เพื่อกำหนดให้จังหวัดที่จัดกิจกรรมธนาคารโค กระบือ ดำเนินการเก็บกวาดมูลสัตว์ ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย เมื่อเสร็จกิจกรรมดังกล่าวแล้ว หรือกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการอื่นๆ เพื่อการป้องกันเหตุรำคาญ อันเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมนั้นด้วยก็ได้

    สำหรับ อบต. ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 68 (10) อาจจัดให้มีตลาด ในเขตพื้นที่ อบต. เพื่อประโยชน์ในการค้าขายสินค้าอาหาร ของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น อบต. ได้ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 กล่าวคือ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับตำบล ที่ อบต. ตั้งขึ้น บังคับเรื่องตลาดด้วย

    2.การพิจารณาอนุญาตของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (ประธานกรรมการบริการ อบต.) ต้องอาศัยเจ้าพนักงานสาธารณสุข (เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล หรือสาธารณสุขอำเภอ) ในการพิจารณาเกี่ยวกับสุขลักษณะของโครงสร้างอาคาร ได้แก่ สุขลักษณะของส้วม แผงจำหน่ายอาหาร ระบบระบายน้ำเสีย น้ำใช้ แสงสว่าง การระบายอากาศ รวมทั้งที่พักมูลฝอย เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนการพิจารณาเป็นเช่นเดียวกับกิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ บทที่ 7 ในข้อ 2.2

    ผู้ใดประกอบกิจการตลาด โดยไม่มีใบอนุญาต จะมีความผิดตามมาตรา 71 อาจได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    3.การตราข้อบังคับตำบล เพื่อควบคุมผู้ประกอบกิจการตลาด ทั้งตลาดที่เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือของเอกชน ที่ได้รับอนุญาตแล้ว ซึ่ง อบต. มีอำนาจตามมาตรา 35 มาตรา 37 ในการตราข้อบังคับตำบลเกี่ยวกับ
  1. ที่ตั้ง เนื้อที่ แผนผัง และหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง และสุขลักษณะ ซึ่งหมายถึง การกำหนดให้การจัดตั้งตลาด ต้องห่างจากแหล่งสกปรกที่อาจทำให้ เกิดการปนเปื้อนได้ หรือห่างจากสถานที่ที่ต้องการความสงบ เช่น สถานการศึกษา สถานพยาบาล เป็นต้น สำหรับการประกอบกิจการตลาด รวมทั้งกำหนดสุขลักษณะของสิ่งปลูกสร้างนั้น เช่น ลักษณะแผงจำหน่ายอาหาร โครงสร้างอาคาร ห้องส้วม ที่พักมูลฝอย รางระบายน้ำเสีย เป็นต้น
  2. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสถานที่ การวางสิ่งของ และการอื่นที่เกี่ยวกับการดำเนินการกิจการตลาด หมายถึง การกำหนดให้มีการจัดวางสินค้า อย่างเป็นสัดส่วน ตามประเภทของอาหาร และลักษณะการจำหน่าย หรือประกอบอาหาร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน และความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้น
  3. การกำหนดเวลาเปิด และปิดตลาด หมายถึง การกำหนดระยะเวลาสำหรับการประกอบกิจการในตลาด โดยทั่วไปของท้องถิ่นนั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความจำเป็น เพื่อให้มีช่วงเวลาสำหรับการทำความสะอาด หรือล้างตลาด แต่หากเห็นว่า ไม่กำหนดเวลา ก็สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดเวลาเปิดและปิดก็ได้
  4. หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติ เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อย ภายในตลาดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ และอนามัย การจัดให้มีที่รวบรวม หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอย การระบายน้ำทิ้ง การระบายอากาศ การจัดให้มีการป้องกันการระบาดของโรค ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่บังคับให้ผู้ประกอบกิจการ ในฐานะเจ้าของ ต้องดำเนินการดูแลรักษาความสะอาด ของสถานที่ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งบำรุงรักษาให้อุปกรณ์ เครื่องใช้ ระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี ตลอดระยะเวลาที่ประกอบกิจการนั้น
  5. หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อให้ผู้ขาย หรือผู้ช่วยขายของในตลาด ปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด บริเวณที่ขายขจอง สุขลักษณะส่วนบุคคล และสุขลักษณะในการใช้ กรรมวิธีการจำหน่าย ทำประกอบ ปรุง เก็บ หรือสะสมอาหาร หรือสินค้าอื่น รวมทั้งการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้ และของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับผู้ขายของ หรือผู้ช่วยขายของในตลาดโดยเฉพาะ ที่ต้องปฏิบัติ เพื่อการป้องกันมิให้เกิดการปนเปื้อน อันเกิดจากผู้ขายของ รวมทั้งเพื่อการรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของแต่ละแผงจำหน่ายอาหาร

    การฝ่าฝืนข้อบังคับตำบลดังกล่าวข้างต้น จะมีความผิดตามบทบัญญัติกฎหมาย ได้แก่ กรณีที่ฝ่าฝืนข้อ 1) และ 4) จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีที่ฝ่าฝืนข้อ 2) และ 3) จะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท (มาตรา 73) ส่วนกรณีฝ่าฝืนข้อ 5) จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

    แผนภูมิที่ 14 แสดงกระบวนการควบคุมกิจการตลาดของราชการส่วนท้องถิ่น (อบต.)

พระราชบัญญัติรักษาความสะอาก และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535

ในบทบัญญัติตาามพระราชบัญญัติฯ นี้ ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าของตลาดว่า "ในกรณีที่เป็นตลาด ไม่ว่าจะเป็นตลาดที่ขายอาหาร หรือสินค้าประจำทุกวัน หรือเฉพาะคราว ให้เจ้าของตลาดมีหน้าที่ดูแล รักษาความสะอาดทางเท้าที่อยู่ติดกับตลาด และให้ผู้ที่ครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใด ของตลาด มีหน้าที่รักษาความสะอาด บริเวณตลาดที่ตนครอบครอง" (มาตรา 6 วรรค 2)

ดังนั้น เจ้าของตลาด หรือผู้ครอบครอง (ผู้เช่าตลาด หรือผู้ที่เข้าขายของในตลาด) จึงมีหน้าที่ดูแลความสะอาด บริเวณทางเท้าที่ติดกับตลาด ส่วนในบริเวณตลาด หรือที่ขายของนั้น ผู้ครอบครองมีหน้าที่ดูแล รักษาความสะอาด ซึ่งในการนี้ เจ้าของ หรือผู้ครอบครองจะมอบหมายบุคคลอื่น ดำเนินการให้ (จะโดยการจ้าง หรือโดยวิธีอื่นใด) ก็ได้ แต่หากพบว่า มีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติการดังกล่าว และพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาผู้ได้รับมอบหมายได้ กฎหมายให้ถือว่า ไม่มีการมอบหมาย ให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองรับผิดชอบความผิดนั้น (มาตรา 6 วรรค 3) ซึ่งจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

3. พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการตลาด คือ ตลาดที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีระบบน้ำเสีย ที่สามารถบำบัดให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งขระนี้ ในร่างกฎกระทรวง ซึ่งออกตามความใน พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด ซึ่งได้กำหนกเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งของตลาดไว้ เช่นเดียวกับประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ แล้ว (ดูแผนภูมิที่ 15)

    แผนภูมิที่ 15 แสดงการควบคุมสถานที่จำหน่าย หรือสะสมอาหารของราชการส่วนท้องถิ่น (อบต.)
 
ข้อสังเกต

ในการพิจารณาอนุญาตกิจการตลาด เจ้าพนักงานท้องถิ่นควรจะพิจารณาควบคู่ไปกับ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ด้วย ในกรณีที่พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีผลบังคับในเขตพื้นที่ อบต. ใด ประธานกรรมการ อบต. ควรแนะนำให้ผู้ประกอบกิจการตลาด ที่มายื่นคำขอใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ให้ดำเนินการขออนุญาตตามกฎหมาย ควบคุมอาคารพร้อมไปด้วย โดยอาจมอบให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธาธิการ ไปพิจารณาในส่ววนของความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร โครงสร้างตามกฎหมายควบคุมอาคาร เพื่อมิให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง และสะดวกต่อผู้ประกอบการ

เรื่อง การควบคุมสภานที่จำหน่าย หรือสะสมอาหาร

1. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535

1.1 ความหมายและขอบเขต


    1."สถานที่จำหย่ายอาหาร" หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใดๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหาร หรือปรุงอาหารจนสำเร็จ และจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้ สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม

    จากนิยมในบทบัญญัติข้างต้น กำหนดให้ สถานที่จำหน่ายอาหาร มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) เป็นสถานที่ใดๆ ที่เป็นของเอกชน มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะ (หมายถึง สถานยที่ที่มิใช่ของเอกชน และประชาชน สามารถเข้าใช้สอย และสัญจรได้) ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นอาคาร หรือไม่ก็ตาม 2) มีการปรุงประกอบอาหารจนสำเร็จ และ 3) มีการจำหน่ายอาหาร ณ ที่นั้น ซึ่งผู้ซื้อสามารถใช้บริโภคได้ทันที ทั้งนี้ไม่ว่า จะจัดให้มีที่รับประทานหรือไม่ก็ตาม

    ดังนั้น สถานที่จำหน่ายอาหาร จึงครอบคลุมกิจการร้านอาหาร ที่เป็นลักษณะอาหาร ร้านภัตตาคาร สวนอาหาร ร้านข้าวแกง ร้ายก๋วยเตี๋ยว ร้านข้าวขาหมู หมูแดง ข้าวมันไก่ ร้านขายขนมจีน รวมทั้งร้านกาแฟ เครื่องดื่มชนิดต่างๆ ด้วย หรือร้านอาหารในลักษณะอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ฯลฯ ทั้งนี้ ต้องเป็นการจำหน่ายในสถานที่เอกชน

    2."สถานที่สะสมอาหาร" หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใดๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหาร อันมีสภาพเป็นของสด หรือของแห้ง หรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง

    ในความหมายดังกล่าวข้างต้น สถานที่สะสมอาหาร จึงหมายถึงการประกอบกิจการ ที่มีองค์ประกอบ ดังนั้ 1) เป็นสถานที่ของเอกชน มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นอาคารหรือไม่ก็ตาม 2) มีการจำหน่ายอาหารประเภทต่างๆ ทั้งที่เป็นของสด ของแห่ง หรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด เช่น อาหารกระป๋อง เครื่องปรุงรส และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ 3) ไม่มีการปรุงประกอบอาหาร ณ บริเวณนั้นๆ ซึ่งผู้ซื้อจะต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุง เพื่อบริโภคภายหลัง ซึ่งได้แก่ กิจการร้านขายของชำ มินิมาร์ท ซุเปอร์มาเกต เป็นต้น

    3.การควบคุมสถานที่จำหน่าย หรือสะสมอาหารของ อบต.
  1. กฎหมายการสาธารณสุข กำหนดมาตรการการควบคุมดูแลการประกอบกิจการ สถานที่จำหน่าย หรือสะสมอาหาร เป็น 1 มาตรการ ขึ้นอยู่กับขนาดของการประกอบกิจการ คือ (ดูแผนภูมิที่ 15)
    • มาตรการควบคุมโดยการอนุญาต กล่าวคือ ผู้ที่ประสงค์จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร ที่มีขนาดพื้นที่เกินกว่า 200 ตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาด ต้องขออนุญาต ต่อ "เจ้าพนักงานท้องถิ่น" หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการไม่มีอิสระในการประกอบการ ต้องได้รับการอนุญาตเสียก่อน จึงจะประกอบการได้
    • มาตรการกำกับดูแลโดยการแจ้ง เป็นมาตรการสำหรับการกำกับดูแลสถานที่ จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร มีขนาดพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาดกล่าวคือ ผู้ประสงค์จัดตั้งสถานที่ดังกล่าว ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้ง ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อแจ้งแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ก็สามารถดำเนินกิจการได้ โดยไม่ต้องรอผลการพิจารณา ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้แก่ผู้ประกอบการ ไว้เป็นหลักฐานภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอใบอนุญาตที่ถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งเป็นมาตรการที่ต้องการให้ผู้ประกอบการ แจ้งเพื่อประโยชน์ในการจัดทำทะเบียนร้านอาหาร ในเขตพื้นที่ของท้องถิ่นนั้น ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข จะได้ใช้ในการตรวจตรา หรือกำกับดูแลด้านสุขลักษณะตามข้อกำหนดของท้องถิ่น ต่อไป มาตรการนี้จึงถือว่า เป็นมาตรการกำกับดูแล
การพิจารณาอนุญาต (กรณีมีขนาดเกิน 200 ตารางเมตร)

        ในการพิจารณาอนุญาตสถานที่จำหน่าย หรือสะสมอาหาร กรณีที่มีขนาดพื้นที่ 200 ตารางเมตร ซึ่งโดยทั่วไป เจ้าพนักงานท้องถิ่น (ประธานกรรมการ อบต.) จะขอให้ เจ้าหนักงานสาธารณสุข (หัวหน้าสถานีอนามัยตำบล) เป็นผู้ตรวจสอบสภาพการสุขาภิบาลอาหาร ของสถานประกอบการ แล้วให้ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ว่าสมควรอนุญาตหรือไม่ ด้วยเหตุผลทางวิชาการ ด้านสุขลักษณะ

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาด้านสุขลักษณะ ของสถานที่จำหน่าย หรือสะสมอาหาร ที่น่าจะพิจารณา เช่น
  1. สถานที่จำหน่ายอาหารต้องตั้งห่างจากแหล่งที่น่ารังเกียจ และหรือแหล่งก่อให้เกิดมลพิษ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีองค์ประกอบที่จำเป็นครบถ้วน เช่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องครัว สถานที่ปรุงประกอบอาหาร สถานที่ล้างภาชนะอุปกรณ์ และระบบระบายน้ำเสียที่ถูกต้อง พื้นผนังเพดาน ต้องใช้วัสดุที่ถาวร แข็งแรง เรียบ ทำความสะอาดง่าย เป็นต้น
  2. สถานที่จำหน่ายอาหาร ต้องมีน้ำใช้ที่เพียงพอ และคุณภาพเทียบเท่าน้ำประปา โดยจ่ายระบบท่อน้ำ ต้องมีอ่างล้างมือ และห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และมีจำนวนตามเกณฑ์ใน พรบ. รักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
     
การออกข้อกำหนดของท้องถิ่น (ข้อบังคับระดับตำบล)

        เพื่อประโยชน์ในการควบคุม หรือกำกับดูแลสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสะสมอาหาร ทั้งที่มีขนาดพื้นที่เกินกว่า 200 ตารางเมตร และไม่เกิน 200 ตารางเมตร กฎหมายกำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่น (รวมทั้ง อบต.) มีอำนาจออกข้อกำหนดของท้องถิ่น (ข้อบังคับตำบล) เกี่ยวกับสุขลักษณะของการประกอบกิจการจำหน่าย หรือสะสมอาหารที่ผู้ประกอบกิจการต้องปฎิบัติ (มาตรา 40) ได้แก่
  1. การกำหนดประเภทของสถานที่จำหน่าย หรือสะสมอาหาร ตามประเภทของอาหาร หรือลักษณะของการประกอบกิจการ หรือวิธีการจำหน่าย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำทะเบียน การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้ง รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐาน
  2. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้ง ใช้ และการดูแลรักษาความสะอาด และสุขลักษณะสถานที่ที่ใช้จำหน่าย จัดไว้สำหรับบริโภคอาหาร หรือที่ใช้เป็นที่ทำประกอบปรุง หรือสะสมอาหาร เช่น มีแสงสว่างภายในไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์ ณ จัดที่ทำการปรุงประกอบ และจำหน่ายอาหาร ต้องมีการระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ห้อง หรือต้องจัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิง ที่เกิดจากก๊าซได้ติดตั้ง ในที่ที่หยิบง่าย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ และต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงทุกปี เป็นต้น
  3. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกัน มิให้เกิดเหตุรำคาญ และการป้องกันโรคติดต่อ เช่น ห้องรับประทานอาหาร ที่มีเครื่องปรับอากาศ ต้องมีเครื่องดูดอากาศ รวมทั้งติดเครื่องหมาย "ห้ามสูบบุหรี่" ไว้ด้วย บริเวณที่ปรุงอาหาร ต้องมีเครื่องดูดควัน และปล่องระบายควัน ซึ่งสูงเพียงพอ ไม่เกิดเหตุรำคาญ หรือต้องมีระบบการระบายน้ำเสีย ที่ถูกหลักสุขาภิบาล มีที่ดักมูลฝอย และบ่อดักไขมัน และมีที่รองรับสิ่งปฏิกูลมูลฝอยที่ถูกต้อง เป็นต้น
  4. กำหนดเวลาจำหน่ายอาหาร ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมมิให้เกิดเหตุรำคาญ โดยเฉพาะสถานที่จำหน่ายอาหาร ที่มีการแสดงดนตรีร่วมด้วย เป็นต้น
  5. หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคล ของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุง และผู้ให้บริการอาหาร เช่น กำหนดให้ผู้ประกอบการ ต้องผ่านการตรวจสุขภาพว่า ไม่เป็นโรคติดต่อที่น่ารังเกียจ เช่น โรคพยาธิ โรคไวรัสตับอักเสบ เอ โรควัณโรค เป็นต้น เมื่อเจ็บป่วยต้องรักษาให้หาย เป็นปกติก่อนที่จะปรึง ประกอบอาหาร ต้องแต่งกายสะอาด ต้องไม่ใช้มือหยิบจับอาหาร ขณะที่ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร มือ และเล็บต้องสะอาด ไม่เป็นแผล ฝีหนองที่อาจแพร่เชื้อโรคได้ ห้ามสูบบุหรี่ในระหว่างการปรุง ประกอบ จำหน่าย หรือเสิร์ฟอาหาร และอาจกำหนดให้ต้องผ่านการทดสอบความรู้ ด้านสุขาภิบาลอาหารด้วย เป็นต้น
  6. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษา หรือสะสมอาหาร รวมทั้งการรักษาความสะอาดของภาชนะน้ำใช้ และของใช้ต่างๆ เช่น การจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บสะสมอาหาร และการล้างภาชนะอุปกรณ์ ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 ซ.ม. อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ต้องมีเลขทะเบียนตำรับอาหาร อาหารสดประเภทเนื้อ ต้องเก็บในภาชนะที่ผิดสนิท ณ อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 7.2 องศาเซลเซียส ส่วนอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว ต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด ภาชนะที่บรรจุอาหาร หรือใส่เครื่องปรุงรสต่างๆ ต้องใช้วัสดุที่มีการออกแบบ ที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร และปลอดภัย ภาชนะที่ใช้แล้วต้องล้าง และเก็บให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ส่วนภาชนะประเภทใช้แล้วทิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น
        เมื่อข้อบังคับตำบล ที่ อบต. ตราขึ้นตามข้อ 1-6 มีผลบังคับใช้แล้ว จะทำให้ผู้ประกอบกิจการสถานที่จำหน่าย หรือสะสมอาหาร ทั้งที่มีขนาดไม่เกิน หรือเกินกว่า 200 ตารางเมตร ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว หากไม่ปฏิบัติ หรือฝ่าฝืนข้อกำหนดตามข้อ 2 และ 3 จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดข้อ 1, 4, 5 และ 6 จะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

2. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535

พระราชบัญญัตินี้ มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ สถานที่จำหน่ายอาหาร คือ กำหนด "ให้เจ้าของร้านจำหน่ายอาหาร และหรือ เครื่องดื่ม ซึ่งจัดสถานที่ไว้ สำหรับบริการลูกค้าไดเ ในขณะเดียวกันไม่ต่ำกว่า 20 คน ต้องจัดให้มีส้วมที่ต้องด้วยสุขลักษณะ ตามที่กำหนดในกฎหกระทรวง เพื่อให้ลูกค้าใช้ในระหว่างเปิดทำการค้า (มาตรา 24)

ซึ่งปัจจุบันนี้ ได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง พ.ศ.2535 กำหนดสุขลักษณะของส้วมสำหรับร้านอาหาร ไว้ดังนี้

2.1 ส้วมที่ต้องด้วยสุขลักษณะ หมายความว่า ส้วมที่มีระบบการขับเคลื่อนอุจจาระ และปัสสาวะลงสูาที่เก็บกัก ซึ่งจะต้องป้องกันสัตว์ แมลงพาหะนำโรคได้ และไม่ปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติ และน้ำใต้ดินทุกขั้นตอน ซึ่งต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
  1. สร้างด้วยวัสดุทนทาน ทำความสะอาดง่าย มีเนื้อที่ภายในไม่น้อยกว่า 0.9 เมตร ถ้ามีห้องอาบน้ำด้วย ต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1.50 ตารางเมตร พื้นมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า 1:100 และมีจุดระบายน้ำทิ้ง ที่จุดต่ำสุดของพื้นห้อง
  2. ต้องมีระยะดิ่งจากเพดานถึงพื้น ไม้น้อยกว่า 2 เมตร มีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของพื้นที่ห้อง และมีแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 ลักซ
  3. ต้องจัดให้มีกระดาษชำระอย่างเพียงพอทุกห้อง และมีการทำความสะอาดเป็นประจำ
    โถส้วมเป็นชนิดคอห่าน สูงจากพื้นห้องไม่น้อยกว่า 20 เซนตเมตร มีท่อระบายอุจจาระลงถังเก็บกัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า 1:10 และมีท่อระบายก๊าซ เส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร สูงเหนือหลังคาส้วม หรือสูงจนกลิ่นเหม็นของก๊าซไม่รบกวนผู้อื่น

2.2 เจ้าของร้านอาหารต้องจัดให้มีจำนวนส้วมตามจำนวนที่นั่ง สำหรับลูกค้า ดังนี้

ตารางแสดงจำนวนส้วมที่ร้านอาหาร ต้องจัดให้มีตามจำนวนที่นั่งลูกค้า

ดังนั้น ผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร ไม่ว่าจะมีพื้นที่ขนาดเกินกว่า หรือไม่เกินกว่า 200 ตารางเมตร หากจัดให้มีที่นั่งตั้งแต่ 20 ที่นั่งขึ้นไป จะต้องจัดให้มีห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และมีจำนวนส้วมตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวงดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานที่สะสมอาหาร

3.พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535


พระราชบัญญัติฯ มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง คือ กรณีที่สถานจำหน่ายอาหารประเภทภัตตาคาร ร้านอาหาร ที่มีพื้นที่ให้บริการรวมกัน ทุกชั้นของอาคาร หรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องจัดให้ระบบบำบัดน้ำเสีย ที่สามารถบำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐาน น้ำทิ้ง ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (ดูแผนภูมิที่ 15)

ดังนั้น ผู้ประกอบการกิจการสถานที่จำหน่ายอาหาร ที่มีพื้นที่ขนาดดังกล่าว นอกจากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายการสาธารณสุข กฎหมายรักษาความสะอาดฯ ยังต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามกฎหมายส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย

อ้างอิงจาก   advisor.anamai.moph.go.th
บทความค้าขายยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ทีมไหน! หา"ทำเล"ก่อนทำธุรกิจ vs เลือก "ธุรกิจ" ก..
408
บทความค้าขายมาใหม่
บทความอื่นในหมวด