บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การสร้างมูลค่าทางธุรกิจ
8.7K
2 นาที
10 สิงหาคม 2559
5 กลยุทธ์แต่งร้าน ให้เรียกเงิน “ล้าน” ได้ง่ายขึ้น


สิ่งหนึ่งที่เป็นกลยุทธ์สำคัญของการตลาดคือ วิธีการดึงดูดลูกค้าให้มาสนใจ แน่นอนว่าในเทคนิคการตลาดย่อมมีวิธีการมากมายที่ให้บรรลุเป้าหมายนั้น แต่ทว่าการ แต่งร้านให้ได้ผลดีที่สุดมีหลักสำคัญเพียงไม่กี่ประการ แต่ผลที่ได้จากการทำตามทฤษฏีเหล่านั้นให้ผลดีเป็นอย่างมาก
 
www.ThaiFranchiseCenter.com  ได้รวบรวมเอา 5 กลยุทธ์การแต่งร้านเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเรียกเงินล้านเข้ามาสู่ธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น บางครั้งการเรียนรู้ทฤษฏีที่ถูกต้องอาจทำให้เราไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากในการจ้างมัณฑนากรมาออกแบบเท่ากับเป็นการประหยัดต้นทุนทางหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใกล้เงินล้านได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย
 
ทฤษฏีที่สำคัญเกี่ยวกับการแต่งร้านให้ได้เงินล้านคือการคือใช้ “Brand Story” ซึ่งหมายถึงการเล่าเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปในอนาคตของตัวเราที่จะเชื้อเชิญให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกดีและมีส่วนร่วมไปกับวงจรชีวิตของธุรกิจเรา

หรือสรุปแบบย่อๆคือเอาแก่นแท้ของธุรกิจที่เราสร้างมาเป็นจุดดีไซน์ในการแต่งร้านนั่นเอง ซึ่งคำว่า Brand Story ประกอบไปด้วย 5 ส่วนสำคัญที่เราควรจะต้องเรียนรู้คือ
 
1.Brand Concept หรือ Brand Theme


หากจะให้เข้าใจง่ายขึ้นก็ใช้คำว่า “Shop Concept” หมายถึงรูปแบบแนวความคิดของร้านที่อยากจะเล่าผ่านการขายในองค์รวม ต้องเล่าให้ได้ก่อน ตีโจทย์ให้แตกว่าใครๆ ก็ตามที่ก้าวแรกเข้ามาควรเข้าใจได้เลยว่าร้านนี้ คืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร

พร้อมกับคำตอบว่า ขายอะไรในบัดดล! เพราะนี่คือหัวใจของร้านที่สืบเนื่องมาจากที่มาของการตั้งชื่อแบรนด์ และร้านค้า ยิ่งถ้าได้ตั้งชื่อร้านค้าให้มีความสมดุลต่อการเข้าใจในการถ่ายทอด Brand Story ได้ก็จะยิ่งดีต่อผู้เข้าร้านมากขึ้น
 
เช่นร้านอาหารอีสานแห่งหนึ่งแถวบางกะปิใช้ชื่อร้านว่า “เรื่องลาว” คอนเซปต์ของร้านคือความอบอุ่นในแบบฉบับของภาคอีสานจึงจัดวางร้านด้วยโทนสีส้ม เหลือง แดง ที่เป็นสีสันธรรมชาติ คนที่เข้ามาในร้านอาหารจะรับรู้ได้ถึง Concept ที่เจ้าของร้านต้องการสื่อสารถึงผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

2.Brand Decoration


คือการตกแต่ง จัดแต่ง ทุกองค์ประกอบ ทุกพื้นที่ของร้านให้มีภาพรวมพอเหมาะพอเจาะ ไม่หลงประเด็น หลงบุคลิก เพี้ยนรสนิยมในเชิงความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล คือความสวยงามที่เหมาะสมอย่างพอเพียงที่อยู่ในกรอบของ Brand Decoration ที่ทำให้คนเข้าใจจิตวิญญาณของแบรนด์ได้อย่างง่ายๆ เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีส่วนสัมพันธ์กันทั้ง ชื่อ ตราสัญลักษณ์ และความสวยงามของการตกแต่งร้าน
 
ยกตัวอย่างร้านกาแฟแนวอินดี้ทั้งหลายที่เน้นการใช้ทุกพื้นที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงการจัดวางอุปกรณ์ทุกอย่างที่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้สอยรวมถึงสีสันของร้านที่จะเน้นแบบเรียบง่ายแต่ว่าคลาสสิคเห็นแล้วสบายตาสบายใจเหมาะสำหรับนั่งชิลๆจิบกาแฟโดยแท้
 
3.Brand Senses หรือ Brand Feels
 

หมายถึง รูป รส กลิ่น เสียง และความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดี เมื่อพ้นออกจากการเยี่ยมร้านของเราไปแล้ว หากยังนึกไม่ออก ลองนึกเทียบกับตัวว่า เราเคยไปร้านไหน แล้วรู้สึกประทับใจอะไรบ้าง หรือชอบอะไรบ้าง นั่นจะเป็นข้อสอบในการประเมินผลให้กับเสน่ห์ของร้านเรา

ส่วนใหญ่สิ่งที่จะช่วยเสริมเติมแต่งให้ร้านเรียกเงินล้านได้ นอกจากของที่ขายจะต้องมีราคาสมเหตุสมผลตามคุณภาพแล้ว ก็คือ บรรยากาศว่าสามารถมัดใจ มัดความรู้สึกได้นานแค่ไหน ยิ่งตรึงลูกค้าได้นานเท่าไร เงินในกระเป๋า ก็จะหมุน เวียนมาที่ลิ้นชักได้มากขึ้นเท่านั้น

แต่การสร้างความรู้สึกในเชิงสัมผัสของร้านนั้น ต้องอยู่ในกรอบของ Brand Story นะครับ เช่น ร้านยามีบุคลิกดูน่าเชื่อถือ มีตำนานกว่า 50 ปี แต่พอก้าวเข้าไป กลับได้ยินเสียงเพลงป๊อปในปัจจุบัน ได้กลิ่นตะไคร้ที่สปาชอบใช้กัน แบบนี้ก็คงผิด ต่อความรู้สึก 
 
ร้านที่ทำแนวนี้แล้วได้ผลดีก็เช่น Sky Moon Bar & Bistro บริเวณดาดฟ้าของโครงการ Vanilla Moon ที่เป็นแหล่งแฮงค์เอ้าที่น่าสนใจใช้ภูมิทัศน์ของกรุงเทพฯมาเป็นตัวกระตุ้นรสชาติของอาหาร รวมถึงกลิ่นหอมเฉพาะในร้านที่น่าสนใจทำให้บรรยากาศรูป รส กลิ่น เสียง ส่งเสริมให้ร้านดูโดดเด่นเป็นอย่างมาก
 
4. Brand on Stage
 

ก็คือการโชว์ของโดยใช้ทฤษฎีร่วมกับ Brand Story ที่ว่า ของทุกชิ้นมีตัวตนที่แตกต่างน่าสนใจ ดูโดดเด่น และช่างสะดุดตาในทีแรกที่พบเห็น และสะดวกต่อการให้ถูกหยิบ ถูกจับ ถูกสัมผัส เข้าถึงง่าย ไม่ใช่ดูแต่ตา มือจับต้องไม่ได้ และที่สำคัญ การจัดวางสำหรับการโชว์ของนั้น ต้องมีระยะพอสมควร ให้รู้สึกสบายทั้ง 2 ฝ่าย

ไม่ว่าจะเป็นร้านแบบไหนก็ตาม และที่ขาดไม่ได้คือ ต้องคำนึงเสมอว่าอะไรคือจุดขาย อะไรคือตัวเด่นของร้าน อะไรที่ต้องอธิบาย ต้องอยู่ในสายตาของทุกคนแบบเป็นกันเอง เข้าใจง่าย ไม่ต้องผลักภาระให้ลูกค้าถาม ยิ่งถามมาก ลูกค้ายิ่งไม่มั่นใจ จุดนี้อยากให้จำไว้เป็นอย่างยิ่ง
 
ยกตัวอย่างง่ายเช่นร้านสินค้าต่างๆควรใช้พื้นที่หน้าเคาเตอร์ให้เกิดประโยชน์ด้วยการจัดวางสินค้าให้ดูโดดเด่นและสะดุดตา สินค้าตัวไหนที่อยากให้คนซื้อมากที่สุดก็มาจัดเรียงไว้ด้านหน้าให้ดูโดดเด่นที่สุด สิ่งที่ตามมาคือคนจะสนใจสิ่งที่เรานำเสนอเป็นอย่างมากทำให้โอกาสในการซื้อขายก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
 
5. Brand Host


คือการใช้อัธยาศัย กาลเทศะ ให้ถูกต้องตามกรอบที่วางไว้และเหมาะสมกับวัฒนธรรมหรือสังคมนั้นๆ อาจจะเป็นองค์ประกอบของ Brand Story ที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุแต่ต้องไม่ลืมว่าจัดวางทุกอย่างดีเพียงใดแต่คนขายก็ต้องสำคัญกว่าของทุกอย่างเสมอ ถ้าพูดดี อัธยาสัยดี ก็จะเอื้อหนุนให้ทุกสิ่งที่เราดีไซน์มาเป็นสุดยอดแห่งการแต่งร้านที่เรียกเงินล้านจากลูกค้าจำนวนมากได้แน่นอน
 
แท้ที่จริงการจัดร้านให้มีประสิทธิภาพทางการตลาดนั้นไม่ใช่เรื่องยาก องค์ประกอบอาจดูเหมือนมากแต่หัวใจจริงๆ คือสีสันและเสน่ห์ซึ่งแต่ละร้านจะมีสิ่งเหล่านี้ไม่เหมือนกันถ้าเรารู้และดึงสิ่งเหล่านั้นออกมาใช้ได้มากโอกาสสำเร็จเห็นเงินล้านก็อยู่ไม่ไกลเกินความสามารถของเราแต่อย่างใด
 
เรียบเรียงโดย ThaiFranchiseCenter.com
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด