บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การสร้างแบรนด์ สร้างตราสินค้า
3.6K
3 นาที
21 พฤศจิกายน 2559
5 กลยุทธ์ดีที่สุดคือชูจุดยืนในความเป็นตัวเอง

 

ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจหรือสิ่งอื่นใดก็แล้วแต่ความเป็นตัวของตัวเองนั้นสำคัญที่สุด

แต่ในทางธุรกิจคำว่าจุดยืนของตัวเองก็ต้องอิงหลักของการตลาดนั้นคือ ยืนอย่างไรให้ตัวเองโดดเด่นและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

ด้วยเหตุนี้วิชาทางเศรษฐศาสตร์จึงมีแขนงของคำว่า Marketing Positioning ที่แต่ละแบรนด์ควรโดดเด่นและมีจุดยืนที่ทำให้คนจำได้ มองดูอาจเป็นเรื่องง่ายแต่เอาเข้าจริงกว่าจะคิดเนื้อหาส่วนนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว
 
แต่อย่างไรก็ตามมีตัวอย่างของสินค้ามากมายที่เอาดีทางด้านชูจุดยืนได้อย่างน่าสนใจซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญและทาง www.ThaiFranchiseCenter.com เห็นว่าน่าจะเอากรณีศึกษานี้มาเป็นแนวทางให้คนที่อยากลงทุนทำธุรกิจมองเห็นภาพของการชูดจุดยืนทางการตลาดว่ามีประสิทธิภาพที่ทำให้คนรู้จักกันทั่วบ้านทั่วเมืองได้อย่างไร
 
มีสินค้าอะไรบ้างที่ชูจุดยืนให้คนรู้จักได้เป็นอย่างดี!

แม้จุดยืน (Positioning) จะเป็นเรื่องที่สำคัญแต่แบรนด์ก็ต้องกำหนดให้เหมาะสมด้วย หากทำแล้วไม่ดีไม่ตอบโจทย์ไม่เป็นอย่างที่คาดหวังเราสามารถ Re-Positioning ให้เหมาะสมได้ที่สำคัญคือควรรีบหาจุดยืนที่ดีเพื่อทำให้สินค้ามีโอกาสในการพัฒนาทางการตลาดต่อไป

สินค้าหลายอย่างของเมืองไทยที่เราเห็นความสำเร็จจากการชูจุดยืนที่ทุกวันนี้เราก็ยังนึกถึงพูดขึ้นมาเมื่อไหร่เราก็ยังรู้จักมีหลายตัวที่เป็นกรณีศึกษาได้เช่น ยาสีฟัน Salz กับ Brand positioning ที่จำกันได้ดี “ซอลส์ เค็ม… แต่ดี” หรือจะเอาเก่ากว่านั้นหน่อยเป็นโฆษณาในตำนานอย่างยาหม่องตราถ้วยทอง ที่มากับวลีเด็ดทางการตลาด “วิงเวียนศรีษะ คล้ายจะเป็นลม ทาถูด้วยยาหม่องตราถ้วยทอง”

ทุกวันนี้เราก็ยังรู้จักและพูดถึงกันอยู่ หรือแม้กระทั่งในธุรกิจเครื่องดื่มกาแฟ เบอร์ดี้ก็ได้เปรียบคู่แข่งทุกรายจนทุกวันนี้กับจุดยืนที่เป็นสโลแกนให้เราจดจำคือ “เบอร์ดี้ หนึ่งในใจคุณ”

ถ้าไปค้นหาจริงๆ ก็ยังพบว่ามีอีกหลายแบรนด์ที่จุดยืนนั้นไม่สามารถลบล้างได้ถึงทุกวันนี้ เช่น แฟ้บที่สมัยนั้นชูจุดยืนความเป็นผงซักฟอกที่แสนวิเศษทั้งซักผ้าและล้างจาน แค่ขยี้ บิด ตาก เสื้อผ้าก็จะขาวบริสุทธิ์เหมือนแฟ้บ แน่นอนว่านี่คือวลีที่ทำให้คนในยุคต่อมาเมื่อจะซื้อผักซักฟอกไม่ว่ายี่ห้อใดก็พูดถึงคำว่าขอซื้อแฟ้บกันแทบทุกคน
 
5แบรนด์ยุคใหม่กับจุดยืนทางการตลาดที่แข็งแกร่ง

ในสมัยนี้ด้วยพัฒนาการของการตลาดที่ก้าวล้ำไปกว่าอดีตมาก การคิดจุดยืนทางการตลาดก็ต้องพัฒนาให้เข้ากับกระแสสังคมซึ่งเราก็รวบรวมจุดยืนของ 5 ธุรกิจที่โดดเด่นมาเป็นตัวอย่างให้ศึกษาว่าจุดยืนที่แข็งแกร่งของแบรนด์นั้นเป็นอย่างไร

1.ธนาคารกรุงไทย กับจุดยืน “Convenience”
 
ธนาคารยุคปัจจุบันไม่ใช่แค่มีหน้าที่รับฝากเงินเท่านั้นแต่ต้องมีบริการที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้แคมเปญของธนาคารแทบทุกที่จึงมีจุดยืนไม่ต่างกันแต่ถ้าจะให้เด่นชัดในคำว่าบริการที่ครบวงจรธนาคารกรุงไทยดูจะโดดเด่นมากกับจุดยืนขององค์กรคือ Convenience (ความสะดวก)

ดังนั้นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของธนาคารที่ออกมาทุกประเภทไม่ว่าจะเงินกู้ เงินฝาก หรือบริการอะไรก็ตามแต่ จะไม่ให้หลุดไปจากจุดยืนเรื่อง Convenience

รวมถึงยังมีการเพิ่มเติมสิ่งอื่นๆไปเพื่อเพิ่มคำว่าสะดวกให้เด่นชัดยิ่งขึ้นเช่น KTB Netbank ที่เป็นผลิตภัณฑ์บริการทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ที่เป็นจุดยืนผลิตภัณฑ์ในเรื่อง “ความทันสมัย” เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ เป็นต้น
 
2. Pepsi จุดยืน “ดีที่สุด” 

คู่แข่งสำคัญของ Pepsi คือ Coke และก็ดูเหมือนว่าโอกาสแซงหน้าของ Pepsi นั้นเกิดขึ้นได้ยากมากแม้ในประเทศไทยจะรู้จักกับ Pepsi มากกว่าแต่เมื่อรวมตัวเลขในธุรกิจน้ำดำทั่วทั้งโลกแล้ว Coke ล้ำหน้าอยู่หลายช่วงตัวทีเดียว

ด้วยเหตุนี้ Pepsi จึงเร่งแนวทางการตลาดเน้นจุดยืนให้ตัวเองโดดเด่นกว่า Coke จุดยืนสำคัญคือชูรสชาติของคนรุ่นใหม่ และเน้นการทำตลาดที่เข้าถึงกลุ่มคนในวันเจนเนอเรชั่นทั้งหลายวิธีการตลาดที่เราเห็นมากมายเพื่อเสริมจุดยืนของ Pepsi ไม่ว่าจะเป็น Music Marketing หรือ Sports Marketing ที่แม้จะต้องใช้เวลาย้ำจุดยืนตัวเองอยู่นานแต่ก็ดูเหมือนจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจเมื่อผลประกอบในช่วง2-3 ปีหลัง

มูลค่าทางการตลาดของ Pepsi ใกล้เคียงกับ Coke มากขึ้นเรื่อยๆ และทุกผลิตภัณฑ์ที่ออกใหม่ภายใต้แบรนด์ Pepsi ก็ยังเน้นจุดยืนของคนรุ่นใหม่ไม่เสื่อมคลายจึงทำให้ตอนนี้พูดได้เน้นเลยว่า Pepsi นั้นดีที่สุดตามสโลแกนของแบรนด์นี้เลย
 
3.ไทยประกันชีวิต จุดยืน “ทุกชีวิตเพื่อคนไทย” 

การแข่งขันในธุรกิจประกันชีวิตเพิ่มสูงขึ้นมากในหลายปีที่ผ่านมา มีบริษัทประกันทั้งใหม่และเก่าที่เข้ามาทำการตลาดพร้อมเสนอรูปแบบการประกันชีวิตที่หลากหลายจนเราไม่รู้ว่าจะเลือกแบบไหนกันดี

แต่สำหรับ “ไทยประกันชีวิต” ถือเป็นเจ้าแรกๆของธุรกิจแนวนี้และทุกวันนี้ก็ยังยืนหยัดด้วยจุดยืนเดียวที่ยึดมั่นมาแต่ครั้งก่อตั้งกิจการคือ “ทุกชีวิตเพื่อคนไทย” นั้นทำให้รูปแบบการพัฒนาองค์กรต้องสอดคล้องกับแนวคิดนี้มาตลอดโดยกำหนดเป้าหมายให้ผู้บริหารฝ่ายขายระดับภาพ ต้องสร้างบุคลากรระดับหน่วยใหม่ 12 คนต่อปี

ส่วนกลยุทธ์การรักษาคน ได้ปรับโครงสร้างผลประโยชน์การขายใหม่ เพื่อรองรับการปรับเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

รวมถึงการที่ไทยประกันชีวิตไม่ได้แข่งขันด้านยอดขายแต่มุ่งเน้นด้านการสร้างภาพลักษณ์บริษัทคนไทยให้เข้าไปอยู่ในใจคนไทยด้วยกัน จึงเป็นวิธีการปูทางเพื่อการเติบโตในระยะยาว เพราะหัวใจหลักของ ธุรกิจประกันชีวิต นั่นคือ เป็นการทำธุรกิจในระยะยาว

4.McDonald’s ย้ำจุดยืน “รสชาติถูกปาก ราคาถูกใจ” 

เคยสงสัยว่าระหว่าง Burger King กับ McDonald’s ใครคือเจ้าของตลาดHamberger ตัวจริง เพราะทั้งคู่ต่างก็มีกลยุทธ์ที่ทำการตลาดได้น่าสนใจพอๆกันแต่ถ้าประเมินดูจากจุดยืนแล้วจะพบว่า McDonald’s ก้าวล้ำนำหน้า Burger King อยู่พอสมควรทีเดียว

โดยจุดยืนของ McDonald’s คือการให้ความสำคัญกับรสชาติที่ถูกปากและมีการปรับตัวตลอดเวลาเมื่อเข้าไปยังประเทศไหนก็ปรับเปลี่ยนรสชาติให้เข้ากับคนชาตินั้นๆเช่นประเทศไทยก็มีทั้งเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมู  เบอร์เกอร์รสลาบ

อีกจุดที่สำคัญคือ McDonald’s มีการจำหน่ายชุดของเล่นในลักษณะของHappy Meal เพื่อจูงใจให้พ่อแม่เด็กได้ซื้อเป็นชุดของฝากไปให้ลูกหลานตัวเอง

แต่ทาง Burger King มั่นใจในความเป็นสุดยอดเมนูตัวเองจึงไม่ได้มองเรื่องรอบตัวอย่างของเล่นหรือของแถม และเลือกเจาะกลุ่มคนอายุวัยทำงานเป็นหลักเราจึงไม่เห็น Burger King มีเมนูที่หลากหลายรวมถึงราคาสินค้าก็แพงกว่าทาง McDonald’s อีกด้วย
 
5. Starbucks จุดยืน “พรีเมี่ยม โปรดักส์”

สตาร์บัคส์ทำจุดยืนตัวเองให้เป็นจุดแข็ง (Strength) ชนิดที่เรียกว่าใครๆที่เข้ามาในธุรกิจนี้ก็ยังล้ม Starbucks ไม่ได้แม้ธุรกิจกาแฟจะมีฐานลูกค้าค่อนข้างกว้างแต่ Starbucks ก็ยึดมั่นกับคำว่า Premium นั้นคือการสร้างคุณภาพสินค้าให้มีคุณภาพสูงเหมาะสมกับราคาแตกต่างจากแบรนด์อื่นอย่างชัดเจนที่สำคัญมีการบริหารและควบคุมคุณภาพในทุกสาขาทั่วโลกเป็นแบบเดียวกัน

นอกจาก Starbucks ยังสร้างให้พนักงานมีความรักองค์กรมากที่สุดดูได้จากอัตราการเปลี่ยนพนักงานต่ำ เนื่องจาก สตาร์บัคส์ให้ผลประโยชน์และตอบแทนแก่พนักงานในฐานะหุ้นส่วน ทำให้องค์กรนั้นพัฒนาไปเร็วมากและเมื่อพูดถึงกาแฟแบรนด์แรกที่เรานึกถึงก็ยังเป็น Starbucks นั่นเอง
 
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของจุดยืนทางการตลาดที่ดีของสินค้าแต่ละประเภท ในฐานะของSMEsอาจจะนำเรื่องเหล่านี้มาปรับใช้ได้ไม่ว่าจะขายลูกชิ้น ขายอาหารตามสั่ง หรือใดๆก็ตาม หาจุดยืนตัวเองให้ได้ และพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับจุดยืนนั้นเมื่อตัวเราชัดเจน การตลาดเราก็จะชัดเจน ลูกค้าก็จะมั่นใจ กำไรก็จะเริ่มตามมามากขึ้นด้วยเช่นกัน
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด