บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.4K
2 นาที
6 มีนาคม 2560
สะเทือนวงการ “ไก่ทอด” เมื่อ KFC ปรับสู่โหมดระบบแฟรนไชส์

 
ภาพจาก goo.gl/B8SUiA
 
ในเวลานี้แน่นอนว่าไม่มีใครเลยที่ไม่รู้จัก “KFC” เพราะเป็นแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องของการตลาด เรียกได้ว่าไม่ว่าร้านจะตั้งอยู่ที่ไหน ก็มีคนเข้าใช้บริการและซื้อรับประทานอยู่ตลอดเวลา ด้วยรสชาติอร่อย ร้อนๆ เป่าปาก กรอบ นุ่ม ทำให้กลายเป็นจุดเด่นของ “ไก่ทอด KFC” ที่ดึงดูดผู้บริโภคให้เข้าใช้บริการจนทุกวันนี้ 
 
ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2560 บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารแบรนด์ KFC ได้ประกาศขายกิจการ หรือสาขาร้าน KFC ให้กับ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด (RD) จำนวน 244 สาขา 
 
โดยบทบาทของ บริษัท เรสเทอรองตส์ฯ จะกลายเป็นแฟรนไชส์ซีผู้รับสิทธิบริหารและขยายสาขา หรือ พันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่ของยัมฯ ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยจะเข้าร่วมบริหารและปรับโฉมร้าน KFC 130 สาขาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงภาคใต้ พร้อมเตรียมเปิดเพิ่มอีก 100 สาขาในประเทศไทย
 
พันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่อย่าง RD เป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจอาหารจานด่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ นับเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์สร้างการเติบโตของแบรนด์ ด้วยการขยายสาขาให้ครบ 800 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 2563 หรือขยายเพิ่ม 215 สาขาจากปี 2559 ทั้งนี้ ในปัจจุบันสาขา KFC ในประเทศไทยรวมแล้วมีทั้งสิ้น 586 สาขา 
 
การขายกิจการสาขา KFC ของยัมฯ ประเทศไทยในครั้งนี้ ไม่ถือเป็นเรื่องใหม่ เพราะหลายๆ แบรนด์ทั่วโลกก็เดินตามเส้นทางเดียวกันทั้งนั้น เพราะธรรมชาติของธุรกิจ เมื่อไหร่ที่แบรนด์ธุรกิจมีความแข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ก็ย่อมที่ปรับโหมดรูปแบบการบริหารธุรกิจใหม่ เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน และสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอย่างยั่งยืน 
 
อีกทั้งระบบการค้าสมัยใหม่นี้ จะเน้นในเรื่องของความแตกต่าง หรือจุดเด่น ที่สร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะขึ้นมา เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งรูปแบบธุรกิจที่เป็นที่นิยมกัน คือ การให้สิทธิหรือการขายสิทธิ หรือระบบ “แฟรนไชส์” 
 
ระบแฟรนไซส์เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนกระบวนการขยายงาน โดยใช้เหตุและผลทางการตลาดเข้ามากลั่นกรอง มองเรื่องของการกระจายต้นทุน และการบริหารควบคุมคุณภาพเป็นการเฉพาะ โดยตัวระบบจะเน้นที่ประโยชน์ร่วมกันของทั้งผู้ให้และผู้รับสิทธินั้นๆ ธุรกิจประเภทนี้จะมีความผูกพันร่วมกันทั้งเชิงการปฏิบัติและภาพลักษณ์
 
การปรับรูปแบบการบริหารธุรกิจของ KFC ในวันนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก และรูปแบบการให้สิทธิ หรือขายแฟรนไชส์ให้คนอื่นบริหารจัดการ ก็ประสบความสำเร็จมาแล้วในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา แอฟริกาใต้ 
 
แต่การประกาศขายกิจการสาขา KFC ของยัมฯ ประเทศไทยในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก เพราะหลายคนอาจมองว่าธุรกิจร้านไก่ทอดรายใหญ่อย่าง KFC ไปไม่รอด หมดหน้าตักไปแล้ว ซึ่งทุกคนที่ติดตามและเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ KFC ย่อมที่จะมีความคิดแบบนี้เกิดขึ้นได้ 
 
แต่พอมารู้ว่า วิธีการขายกิจการทั้งหมดของ KFC ในรูปแบบแฟรนไชส์ ด้วยการให้สิทธิแฟรนไชส์ซีเป็นผู้บริหารจัดการและขยายสาขาเอง เป็นรูปแบบและแนวทางการบริหารธุรกิจของบริษัทแม่ในต่างประเทศ ที่ทำมาแล้วในต่างประเทศ ประสบความสำเร็จมาแล้วด้วย และก็กำลังจะใช้รูปแบบและแนวทางนี้ในอีกหลายๆ ประเทศ 
 
อย่างล่าสุด ในเดือนกันยายน 2559 ก็ประกาศขายกิจการสาขาในประเทศจีน ซึ่งยัมฯ เคยถือครองอยู่ถึง 90% ให้แก่บริษัทไพรมาเวลา แคปปิทัล และบริษัทแอนท์จินหรง ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจการเงินการลงทุนภายใต้อาณาจักรอาลีบาบาของ “แจ็ค หม่า” ด้วยมูลค่า 460 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมูลค่าราว 15,000 ล้านบาท 
 
ทำให้บริษัททั้ง 2 กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทยัม แบรนด์สประเทศจีน ด้วยหุ้นจำนวน 4 เปอร์เซ็นต์และ 6 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ โดยต้องจ่ายรายได้จำนวน 3 เปอร์เซ็นต์ให้แก่ยัม แบรนด์ส เป็นค่าลิขสิทธิ์ในทุกๆ ปี โดยในแต่ละประเทศมีเป้าหมายให้ร้านไก่ทอด KFC เป็นระบบแฟรนไชส์ 98% เหลือไว้ 2% ในการเป็นเจ้าของเพื่อเป็นร้านต้นแบบ 
 
ภาพจาก goo.gl/Y9rhuU
 
แต่ในประเทศไทย เป้าหมายของยัมฯ ประเทศไทย ต้องการเป็นแฟรนไชส์ 100% หน้าที่ของยัมฯ คือ เป็นผู้สนับสนุนแฟรนไชส์ด้านการสร้างแบรนด์ ปกป้องชื่อเสียงแบรนด์ ทำการตลาด ดูแลตรวจสอบสาขาให้เป็นไปตามมาตรฐาน ออกแบบสาขารูปแบบใหม่ ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เน้นสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้ลูกค้า 
 
หน้าที่ของแฟรนไชส์ซีจะเป็นผู้ลงทุนขยายสาขา ส่วนงบการทำตลาดนั้น จะมาจากการหักเปอร์เซ็นต์มาจากยอดขายของแต่ละรายเพื่อเข้ากองกลาง โดยมีทีมการตลาดของยัมฯ เป็นผู้ดูแลบริหารทั้งหมด เรียกได้ว่าปรับธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบ ทำให้ขยายสาขาได้รวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนของตัวเอง 
 
ต่อจากนี้เราก็ต้องจับตามองว่า รูปแบบและแนวทางการทำธุรกิจของ “ไก่ทอด KFC” จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ระบบแฟรนไชส์จะช่วยให้เจ้าของแบรนด์ KFC อย่างยัมฯ ประเทศไทย ไม่ต้องใช้เงินทุนของตัวเองในการขยายสาขาให้ได้ตามเป้าหมาย แต่ยังมีรายได้เป็นเปอร์เซ็นต์จากจากยอดขายของแฟรนไชส์ซีเข้ามาต่อเนื่อง
 
 

KFC Tips
  1. เป็นเจ้าของแบรนด์
  2. เป็นผู้สนับสนุนแฟรนไชส์ด้านการสร้างแบรนด์ 
  3. ปกป้องชื่อเสียงแบรนด์ 
  4. บริหารจัดการด้านการตลาด 
  5. ดูแลตรวจสอบสาขาให้เป็นไปตามมาตรฐาน 
  6. ออกแบบสาขารูปแบบใหม่ 
  7. ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ 
  8. มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้ลูกค้า
  9. รายได้จากค่าธรรมเนียมและเปอร์เซ็นต์จากยอดขายของแฟรนไชส์ซี 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,002
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,485
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,634
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,572
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด