บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
6.2K
2 นาที
11 พฤษภาคม 2560
วิธีการสำรวจและเลือกทำเลที่ตั้งแฟรนไชส์

 
การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์ซอร์หรือแฟรนไชส์ซี ถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ เพราะการเลือกทำเลที่ดีเหมือนมีชัยไปกว่าครึ่ง อาจคำนึงถึงกำไร ค่าใช้จ่าย พนักงาน ความสัมพันธ์กับลูกค้า ความสะดวก ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ดี ตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจนั้น
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ได้มีเทคนิค วิธีการสำรวจ และเลือกทำเลที่ตั้งธุรกิจแฟรนไชส์ มาฝากผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงผู้ที่กำลังอยากมีธุรกิจของตัวเอง ด้วยการซื้อแฟรนไชส์ครับ
 
ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งแฟรนไชส์
 
 
การเลือกทำเลที่ตั้งประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ มีความสำคัญต่อความสำเร็จของระบบแฟรนไชส์ หากเลือกทำเลที่ไม่เหมาะสม จะทำให้แฟรนไชส์ประสบปัญหาตามมา เช่น ขายไม่ได้ ไม่มีลูกค้า ค่าขนส่งสูง เสียงรบกวน ฝุ่นละออง เป็นต้น 
 
อีกทั้งอาจขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ ขาดแคลนวัตถุดิบ รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการผลิต และการปฏิบัติงานขององค์การธุรกิจ โดยทั่วไปลักษณะของทำเล จะไม่มีลักษณะใดที่ดีกว่ากันอย่างชัดเจน 
 
แต่จะเกิดจากการพิจารณาลักษณะดีของแต่ละทำเล นำมาประกอบกัน เพื่อการตัดสินใจเลือกที่ใช้ตั้งแฟรนไชส์ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตให้น้อยที่สุด เช่น อยู่ใกล้ชุมชนหรือออฟฟิศ
 
การเลือกทำเลที่ตั้งแฟรนไชส์ โดยทั่วไปมักหาแหล่งหรือทำเล ที่ทำให้ต้นทุนรวมของการผลิตสินค้า และบริการที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ลักษณะของการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ย่อมแตกต่างกันในเรื่องของชนิดสินค้า ค่าใช้จ่าย และการลงทุนในการเปิดร้านหรือทำธุรกิจ 

ปัจจัยที่ใช้ประกอบการเลือกทำเลที่ตั้งแฟรนไชส์
 
  1. จำนวนประชากร ความหนาแน่นของประชากร ถ้ามีความหนาแน่นมาก จุดผู้คนสัญจรผ่าน จะได้เปรียบ เช่น 7-11 จะใช้ปัจจัยเหล่านี้เป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจเปิดสาขาในแต่ละพื้นที่ 
  2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้ของประชากรในแต่ละพื้นที่ 
  3. อำนาจการซื้อของผู้บริโภคบริเวณนั้น เช่น ทำเลในเมืองจะมีอำนาจการซื้อที่ดีกว่าย่านชานเมือง อำนาจซื้อของประชากรในอาณาบริเวณนั้น เป็นผู้มีงานทำ มีรายได้เป็นส่วนมาก ทั้งหญิงชาย อาจเป็นย่านที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากจะมีอำนาจซื้อมาก
  4. พฤติกรรมการซื้อผู้บริโภคอยู่ในเมือง หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ จะมีความต้องการซื้อสินค้ามาก 
  5. โครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวก แก่ประชากรในพื้นที่นั้นๆ เช่น รถไฟฟ้า ถนนหนทาง สิ่งเหล่าจะบ่งบอกถึงความเจริญของเมืองว่ามีมากน้อยเพียงใด เช่น เซ็นทรัลไปตั้งศูนย์การค้าย่านบางใหญ่ นนทบุรี ที่รถไฟฟ้าไปถึง
  6. คู่แข่งขันธุรกิจค้าปลีกประเภทเดียวกัน หรือคล้ายกันในบริเวณนั้น ถ้ามีคู่แข่งมาก อาจต้องเหนื่อยหน่อย แต่ต้องรู้จักสร้างความแตกต่างที่โดดเด่น ให้กับร้านค้า สินค้า การบริการ เพื่อดึงดูดลูกค้า
ทฤษฎีการวิเคราะห์เลือกทำเลที่ตั้งแฟรนไชส์
 
  1. การคำนวณระยะทาง และระยะเวลา ที่ลูกค้าเดินทางมาจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งศูนย์การค้าขนาดใหญ่มักใช้ทฤษฎีนี้ผสมผสานในการเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์การค้า ส่วนใหญ่จะใกล้ชุมชน จังหวัด เป็นต้น 
  2. การวิเคราะห์ผู้ใช้บริการจากระยะทางในรัศมีรอบๆ กิจการค้าปลีก โดยใช้แผนที่กำหนดให้ศูนย์การค้าของเราเป็นศูนย์กลาง เช่น 7-11 ตั้งในชุมชน อาคาร ริมถนน ปั้มน้ำมัน ที่ผู้คนสัญจรผ่าน
  3. ใช้หลักการวิเคราะห์ การคาดการณ์แนวโน้ม และความเป็นไปได้ของตลาด คือ การประมาณการยอดขายรวมของตลาดค้าปลีกทั้งตลาดในแต่ละพื้นที่ ถ้าทำเลพื้นที่ไหนมียอดการขายสูง โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในพื้นที่นั้นๆ สูง การ
  4. ประเมินความเป็นไปได้ของยอดขาย จะมีผลในการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงาน ตรงนี้จะเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณเอง ถ้าสาขาแรกมีการเติบโต ยอดขายเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ตัดสินใจเลือกทำเลขยายสาขาได้ง่ายขึ้น 
  5. ดัชนีความอิ่มตัวของธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ หรือต้องเลิกกิจการ คือมีผู้ประกอบการแฟรนไชส์เข้ามาในตลาดมากจนเกินไป ทำให้เกิดการแข่งขันกันสูง ต้องมีกลยุทธ์ต่างๆ เข้ามาช่วย บางครั้งอาจต้องลดราคาแข่งขันกัน ซึ่งกลยุทธ์ราคาอาจทำให้ธุรกิจไปไม่รอด ส่งผลต่อตลาดธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละกลุ่มโดยรวมต้องพัง
  6. การออกไปจับจ่ายนอกพื้นที่ มักจะเป็นการซื้อสินค้าหรือบริการพิเศษเฉพาะอย่าง ซึ่งผู้ซื้อเชื่อว่าต้องไปซื้อจากแหล่งที่ดีที่สุด หรือจากร้านที่เชื่อถือได้ เช่น การซื้อเครื่องเสียง ผู้ซื้อจะเข้าไปซื้อในเมือง เพื่อซื้อจากโชว์รูมของบริษัทโดยตรง หรือธุรกิจขายอุปกรณ์ตกแต่ง สร้างบ้าน ส่วนใหญ่จะเลือกทำเลที่ตั้งย่านชานเมือง รอบๆ ตัวเมือง
ลักษณะทำเลที่ตั้งของธุรกิจแฟรนไชส์

  1. ย่านการค้าในเมือง เช่น ตลาดสด ตลาดนัด พื้นที่ให้เช่าตามออฟฟิศต่างๆ เหมาะสำหรับธุรกิจค้าปลีก การศึกษา อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ แต่ละประเภท 
  2. ย่านการค้าชานเมือง เป็นสถานที่ผู้คนชอบสัญจรผ่านไปมาเป็นประจำ เช่น ศูนย์การค้าต่างๆ มักนิยมไปตั้ง 
  3. ย่านการค้าที่อยู่ใกล้ที่อยู่อาศัย จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ในการเดินทาง หาซื้อง่าย เช่น ร้านสะดวกซื้อต่างๆ ธุรกิจบริการ อาหาร เครื่องดื่ม การศึกษา เป็นต้น 
  4. ย่านการค้าตามแนวถนน ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว ผู้ที่สัญจรผ่านไปมาถนนนั้นๆ เป็นประจำ เหมาะสำหรับธุรกิจค้าปลีก อาหาร เครื่องดื่ม บริการ ร้านค้าในปั้มน้ำมัน 
  5. ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ทำเลนี้แม้จะมีศักยภาพ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายสูง ต้องทำการศึกษาค่าเช่าพื้นที่ในแต่ละศูนย์การค้า จำนวนลูกค้าเข้าใช้บริการในแต่ละวัน เหมาะกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีหน้าร้านครับ 
ทั้งหมดเป็นวิธีการสำรวจและเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้ประกอบการแฟรนไชส์สามารถนำเอาไปเป็นแนวทางทางในการสำรวจทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองได้ครับ 

อ่านบทความทั้งหมดเกี่ยวกับแฟรนไชส์ คลิก goo.gl/VyJ92n
หรือสนใจลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ คลิก goo.gl/8pzn7i
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,101
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,421
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,893
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด