บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    การวางแผนธุรกิจ
5.5K
2 นาที
28 มิถุนายน 2560
ธุรกิจโรงพิมพ์ ทำอย่างไรให้อยู่รอด

 
การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีไปสู่โลกดิจิตอล ทำให้องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์หลายๆ ต้องปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ แม้แต่หนังสือพิมพ์แจกฟรี “New 108” (ออกฉบับสุดท้าย 30 มิ.ย.60) ที่ช่วง 2-3 ปี ฟันค่าโฆษณาเป็นกอบเป็นกำ มาบัดนี้ต้องปิดตัวลงเช่นกัน และคาดกันว่าสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่อยู่ในภาวะประคองตัว ก็ต้องปิดตัวลงอย่างแน่นอน ขณะที่นักข่าวจำนวนไม่น้อย มีโอกาสสูงที่จะตกงาน หนึ่งในทางรอดก็คือการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงนี้ให้ได้
 
นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศได้รับการตอบรับจากหลายฝ่าย เพราะเข้ากับยุคสมัยที่ทุกอย่างมุ่งสู่โลกดิจิตอล แต่ในเวลาเดียวกัน สื่อมวลชนที่อยู่มานานในประเทศไทยอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ กลับต้องเผชิญกับความท้าทายในยุค 4.0 เมื่อสื่อออนไลน์กลายมาเป็นภัยคุกคามต่อสื่อกระดาษ ทำให้คนอ่านและยอดเงินโฆษณาลดลง จนหลายบริษัทตัดสินใจปรับโครงสร้าง เลิกจ้างพนักงาน ซึ่งรวมถึงตัวนักข่าว
 
 
รายงานจากสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่า งบโฆษณาโดยภาพรวมของปี 2560 น่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 10% จากปี 2559 มาเป็น 133,666 ล้านบาท แต่ก็ยังถือว่าต่ำกว่างบโฆษณาในปี 2558 ซึ่งมีอยู่ 136,770 ล้านบาท

ดังนั้น องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวด้วยการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน  เลือกใช้วิธีการในการเข้าถึงอย่างถูกต้อง จะทำให้ผ่านวิกฤตการณ์ไปได้ด้วยดี นอกจากนี้ควรสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคผ่านสื่อดิจิตอลให้มากขึ้น ก็จะช่วยให้การทำตลาดสำเร็จได้ง่ายขึ้น
 
จากการปิดตัวลงอย่างต่อเนื่องของสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ แน่นอนว่าธุรกิจที่จะได้รับผลประทบตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือ “ธุรกิจโรงพิมพ์” เพราะไม่มีใครมาจ้างผลิตหนังสือพิมพ์ และนิตยสารอีกต่อไป อีกทั้งกระดาษก็ราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขอนำเสนอแนะวิธีการปรับตัวของ “ธุรกิจโรงพิมพ์” ให้อยู่รอด ท่ามกลางวิกฤตสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ทยอยปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากพฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์มากขึ้น 
 
1.เลือกให้บริการงานพิมพ์เฉพาะที่ถนัด

 
ไม่ว่าจะเป็น งานโบรชัวร์ งานพิมพ์แพ็คเกจจิ้ง ปฏิทิน แคตาล็อก หนังสือ วารสาร กระดาษห่อของขวัญ เพราะการจะรับงานพิมพ์ได้ครบ จำเป็นต้องใช้เครื่องพิมพ์ เครื่องจักรจำนวนมาก ส่งผลให้มีต้นทุนดำเนินการสูง
 
2.เลือกทำเลที่ตั้งใกล้กับลูกค้าเป้าหมาย
 
พื้นที่ซึ่งมีการขยายตัวของความเป็นเมือง ซึ่งมีกำลังซื้อรวมทั้งมีธุรกรรมทางเศรษฐกิจจำนวนมาก จึงเป็นทำเลที่มีศักยภาพมีความต้องการงานด้านสิ่งพิมพ์สูง โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในธุรกิจต่างๆ เช่น งานบิล ใบเสร็จ ใบกำกับภาษี ฟอร์มใบส่งสินค้า หัวจดหมาย ซองจดหมาย ซองเอกสาร รวมไปถึงงานสิ่งพิมพ์เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ 
 
ในขณะเดียวกัน พื้นที่ในต่างจังหวัดที่มีเขตแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกลุ่ม CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม) ก็ถือเป็นแหล่งทำเลที่น่าลงทุนสำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์ ทั้งนี้ เพื่อรองรับงานพิมพ์จากประเทศเพื่อนบ้าน ที่เริ่มมีเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ประเทศเหล่านี้ยังขาดแคลนเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัยรองรับ
 
3.ควบคุมคุณภาพงานพิมพ์

 
สิ่งพิมพ์เป็นงานที่มีการแข่งขันสูง ลูกค้ามีความต้องการงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน ตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการพิมพ์ ระหว่างการพิมพ์ และหลังงานพิมพ์ สี หมึก ต้องไม่เลอะ ภาพชัดเจน เพื่อให้งานเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า และเกิดการบอกต่อหรือใช้บริการซ้ำ
 
4.บริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ
 
ในการดำเนินธุรกิจสิ่งพิมพ์ จะพบว่า ต้นทุนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 40-50 จะเป็นกระดาษ ซึ่งราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยทางเศรษฐกิจ ราคาซื้อขายในตลาดโลก รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น การบริหารและสั่งซื้อสินค้าให้ได้รับราคาที่เหมาะสมจากแหล่งผลิต รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องจักร เพื่อลดการสูญเสียกระดาษในกระบวนการผลิตให้เกิดน้อยที่สุด จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับลดต้นทุนลงได้

5.บริหารบุคลากรให้เหมาะสม 

 
ปัจจุบันธุรกิจสิ่งพิมพ์มีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน หรือเปลี่ยนงานบ่อย โดยเฉพาะแรงงานฝีมือ ช่างเทคนิค พนักงานเรียงพิมพ์คอมพิวเตอร์ พนักงานอาร์ตเวิร์ก รวมถึงพนักงานที่มีความรู้ทางด้านเครื่องพิมพ์ที่มีความทันสมัย ทำให้เกิดปัญหาการแย่งแรงงานฝีมือในธุรกิจการพิมพ์ 
 
ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจ ผู้ประกอบการอาจใช้วิธีแก้ไขปัญหา โดยหันมาใช้เครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ๆ ที่ช่วยลดการใช้แรงงานฝีมือลง ในขณะเดียวกัน ยังสามารถควบคุมคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐานเดียวกันได้อีกทางหนึ่ง
 
6.ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ เพื่อดึงดูดลูกค้า
 
แม้ว่าโรงพิมพ์ในปัจจุบันจะมีจำนวนมาก ตั้งแต่ขนาดเล็ก กลาง จนถึงใหญ่มาก แต่การพิจารณาเลือกใช้บริการโรงพิมพ์ของผู้บริโภคยุคใหม่ จะครอบคลุมประเด็นหลักๆ 4 ประการ ได้แก่ คุณภาพของงาน (โดยเฉพาะงานพิมพ์ที่มีภาพโฆษณา) การให้บริการต้องดี (มีเครดิตให้ลูกค้าในการชำระเงิน ยืดหยุ่นได้) ส่งมอบงานตรงเวลา บริการขนส่งให้ลูกค้า และราคาต้องไม่แพงจนเกินไป รู้จักบริหารต้นทุนโรงพิมพ์เพื่อให้บริการลูกค้าในราคาที่ไม่สูงมาก ให้ส่วนลดลูกค้า เวลาส่งมอบงานแล้วติดต่อสอบถารม หรือเข้าไปสอบถามงานพิมพ์เกี่ยวกับความพึงพอใจลูกค้า 

7.พัฒนาการบริหารงานลูกค้าในเชิงรุก


 
ธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่จะอยู่รอดในระยะยาวได้ คือ การวิธีทำให้ธุรกิจมีงานป้อนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องมีบุคลากรทางด้านการตลาด เพื่อติดต่อรับงานตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งราชการ ห้างร้าน บริษัทเอกชน สถาบันการศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่มีจำนวนมาก และต้องการรูปแบบการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าอย่างเป็นระบบ เจาะลึกเข้าไปพูดคุยกับลูกค้าโดยตรง นำเสนองานบริการงานพิมพ์อย่างตรงไปตรงมา 
 
ทั้งหมดเป็นวิธีการบริหารจัดการธุรกิจโรงพิมพ์ให้อยู่รอด แม้ว่าสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ จะปิดตัว มุ่งหน้าสู่ดิจิตอลมากขึ้น แต่ก็อย่างลืมว่า สื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ก็ยังมีความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียน โบว์ชัวร์ นามบัตร ซองจดหมาย พ็อคเก็จบุ๊ค รวมไปถึงงานพิมพ์ในรูปแบบ 3 มิติต่างๆ ที่กำลังได้รับความนิยมในตอนนี้  
 
อ่านบทความ SMEs goo.gl/Yw4HQp
 
สนใจซื้อแฟรนไชส์งานพิมพ์  goo.gl/WoHqYz
 

Tips
  1. เลือกให้บริการงานพิมพ์เฉพาะที่ถนัด
  2. เลือกทำเลที่ตั้งใกล้กับลูกค้าเป้าหมาย
  3. ควบคุมคุณภาพงานพิมพ์
  4. บริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ
  5. บริหารบุคลากรให้เหมาะสม 
  6. ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ เพื่อดึงดูดลูกค้า
  7. พัฒนาการบริหารงานลูกค้าในเชิงรุก
ขอบคุณรูปภาพจาก goo.gl/e9mYf3

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
711
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด