บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
29K
2 นาที
6 ธันวาคม 2553

การสร้างระบบ "แฟรนไชส์" ตั้งแต่เริ่มต้น จนสามารถขยายสาขาได้ 

1. สูตรอาหาร

เรื่องนี้เป็นเรื่องโดยปกติไปแล้ว แต่อยากให้ทำในลักษณะที่ไม่สามารถลอกเลียนได้ คราวนี้ทำอย่างไรถึงลอกเลียนสูตรอาหารไม่ได้หละ ก็ต้องใช้การสกัดสารเคมี บางตัวที่ต้องการ เช่นต้องการความหอมของผักชี รวมกับ ความเผ็ดของพริกไท ก็ให้นักเคมีสกัดเอาเฉพาะสิ่งที่ต้องการออกมา ทำเป็นผงแป้ง หรือ น้ำก็ตาม 

แล้วนำมาเป็นสูตรที่ส่งไปให้ ลูกข่ายได้อย่างสบายใจ หรือ ทำเป็นอาหารกึ่งสำเร็จแล้วขายเป็นวัตถุดิบในการขายของ แฟรนไชส์ซี่ อย่าทำอาหารที่สำเร็จแล้วส่งไปให้ หรือแช่แข็งนานๆ ครับ เพราะรสชาติ และ คุณภาพของอาหารจะด้อยไป

2. การจดทะเบียนต่างๆ พร้อม ตราสินค้า และ ลิขสิทธิ์

อันนี้ก็แล้วแต่คุณแล้วครับว่าจะจดทะเบียนอะไร แต่ตราสินค้า เป็นเรื่องสำคัญนะครับ

3. ร้านต้นแบบ

การสร้างร้านต้นแบบขึ้นมา ก็เพื่อนำมาศึกษาหาข้อดีข้อเสียของธุรกิจที่คุณกำลังทำว่ามีความสามารถเพียงใด ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเท่าใด ระบบการขายอย่างไร ระบบเก็บเงินอย่างไร.. หลายๆอย่างจะได้จากร้านต้นแบบ แต่ถ้าคุณมีร้านอยู่แล้ว ก็ต้องสร้างระบบควบคุมให้รัดกุม และ เป็นระบบที่สามารถกระจายการทำได้อย่างมีหลักมีเกณฑ์

4. วัสดุอุปกรณ์ที่จะให้ แฟรนไชส์ซี่

เมื่อมีร้านต้นแบบ คุณก็จะสามารถคำนวนได้แล้วว่าจะมีของอะไรบ้าง ป้ายโฆษณา โลโก้ ขาดไม่ได้เลยทีเดียว

5. ระบบการจัดการธุรกิจ และ การอบรม ร้านต้นแบบ

เป็นจุดเริ่มต้น ระบบจัดการธุรกิจ ก็ต้องทำให้เป็นไปอย่างง่ายๆ เป็นระบบ สามารถทำการอบรม หรือ อ่านคู่มือแล้วสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน เป็นต้น



การอบรมให้ทำธุรกิจได้ก็เป็นเรื่องสำคัญ คุณภาพของสินค้าของเราจะดีหรือไม่ก็ขึ้นกับ คุณภาพของ แฟรนไชน์ซี่ด้วยว่า รับรู้วิธีการ และเข้าใจในการดำเนินการธุรกิจมากน้อยเพียงใด ดังนั้น การอบรม จึงเป็นวิธีการพื้นๆ แต่ได้ผลในการทำให้ระบบงานทั้งระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

6. สัญญา และ มูลค่า แฟรนไชส์

การตั้งราคามูลค่าแฟรนไชส์ก็ควรตั้งให้เหมาะสม การทำสัญญาให้รัดกุมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ปรึกษาทนาย และ ดูจากสัญญาของระบบงานอื่นดูบ้างก็ดีครับ..

7. การจัดหาวัตถุดิบ และ ควบคุมคุณภาพ

สินค้าจะมีคุณภาพหรือไม่ วัตถุดิบก็มีส่วนสำคัญ คุณภาพของวัตถุดิบที่เราจะนำมาทำนั้น เป็นคุณภาพแบบไหน ความชื้นเท่าได ต้องรักษาและดูแลอย่างไรถึงจะรักษาคุณภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นไปตามกำหนดได้ การจัดซื้อจากแหล่งใดก็ต้องหา Supplier ที่สามารถควบคุมคุณภาพให้เราได้เช่นกัน...คำเตือน อย่าตุนสินค้าไว้ในคลังเยอะเกินไป เพราะจะทำให้เงินหมุนเวียนขาด..


8. การจัดการเรื่องการรับ และ ส่ง วัตถุดิบ

คุณต้องเข้าไปดูแลตั้งแต่การรับสินค้าจาก Supplier การเก็บเข้าคลัง และ การกระจายสินค้าออกไปสู่ แฟรนไชส์ซี่ การจัดทำ Packaging ที่ทำจากเครื่องเลย ก็มีส่วนช่วยให้ลดแรงงานลงไปได้..เช่นน้ำจิ้ม หรือ สูตรสำเร็จที่จะใส่ในน้ำซุปเป็นต้น
 

9. ราคาวัตถุดิบที่จะขายให้ แฟรนไชส์ซี่

ราคาวัตถุดิบที่จะขายนั้น ควรจะเป็นราคาที่ไม่สูง หรือ ต่ำจนเกินไป ต้องรับรู้ว่า จริงๆแล้ว เราต้องการสิ่งเหล่านี้ไปโดยตลอด เป็นรายได้หลักของเราที่จะเข้ามาทุกวัน หากคุณภาพ และ ราคาไม่เหมาะกันแล้ว คุณอาจจะเสียลูกข่ายไปได้ง่ายๆ หรือ แฟรนไชส์ซี่ เล่นกลซื้อของอย่างอื่นมาใช้แทน คุณก็จะเสียรายได้หลักไปโดยปริยาย..

10. การดูแลลูกข่าย

เพื่อให้คุณภาพถึงมือผู้บริโภค คุณต้องดูแลลูกข่ายในการจัดการเรื่องต่างๆ ช่วยแก้ปัญหา และ หาวิธีดำเนินการให้เรียบง่าย และ สอดคล้องกับนโยบายธุรกิจของคุณ คนที่ติดต่อกับลูกค้าจริงๆ เป็นแฟรนไชน์ซี่ ดังนั้น ปากต่อปาก มักมาจากคุณภาพของ แฟรนไชน์ซี่ จะดีหรือเลวก็มาจากพวกเค้า จะอยู่รอดปลอดภัยหรือไม่ก็มาจากพวกเค้าเหล่านั้น.. แล้วคุณจะดูแลพวกเค้าหรือไม่.. แล้วแต่คิดนะครับ 

11. การเข้าสู่ตลาด และ การโฆษณาประชาสัมพันธ์

ตรงตัวครับ ต้องโฆษณา ต้องมีการประชาสัมพันธ์ ต้องมีกลุ่มพันธมิตร สื่อสารให้คนที่ต้องการซื้อระบบได้รับทราบ แสดงให้เห็นข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์ของเรา และ ผลตอบแทนที่เค้าเหล่านั้นจะได้รับ ถ้าเขาเหล่านั้นเห็นความคุ้มค่ามากกว่ารายอื่น เค้าก็จะมาเป็นแฟรนไชน์ซี่ของคุณเองครับ.

12. การควบคุมคุณภาพของแต่ละลูกข่าย

คุณควรมีระบบตรวจสอบคุณภาพของลูกข่ายว่ายังคงดำเนินการตามวิธีการที่ตั้งไว้หรือไม่ คุณภาพของสินค้าที่จำหน่ายไปได้คุณภาพหรือไม่ ต้องทำเป็นประจำเพราะ คนไทย มักชอบหาหนทางลัดที่อาจจะทำให้ภาพพจน์ และ ธุรกิจโดยรวมของคุณเสียก็ได้...
  
13. การกระจายศูนย์เพื่อควบคุมลูกข่าย

เมื่อคุณขยายลูกข่ายออกไปมากๆ การควบคุมดูแลจะเริ่มมีปัญหา ดังนั้น การสร้างศูนย์ เพื่อควบคุมลูกข่ายเป็นหนทางแก้ปัญหาอย่างหนึ่งเช่น ศูนย์ภาคเหนือ ศูนย์ภาคอีสานเป็นต้น มีการอบรมพนักงานในศูนย์เป็นประจำ และ ตรวจสอบคุณภาพการให้บริการของศูนย์เหล่านั้น อยู่บ่อยๆด้วยครับ.

14. การรับเรื่องร้องเรียน จากลูกค้า และ ศูนย์ควบคุมลูกข่าย

การที่คุณเปิดช่องทางร้องเรียน จากลูกค้า หรือ จากลูกข่าย หรือ ศูนย์ควบคุมลูกข่าย คุณจะสามารถรับรู้ได้ว่า ตอนนี้ สถานการณ์โดยรวมของระบบงานของคุณนั้น อยู่ในสภาวะใด การที่ได้ยินคำติมากๆ หรือ คำชมมากๆ จะทำให้คุณรับทราบว่า คุณต้องทำสิ่งใดต่อไป.. ยังไงแล้ว ความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญนะครับ..
 


15. การสื่อสารประชาสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย

คุณควรจะสร้างระบบการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์เรื่องต่างๆของธุรกิจ คู่แข่ง จุดแข็ง และ เรื่องต่างๆให้เครือข่ายรับทราบอยู่เป็นประจำ ทำให้เค้ารับรู้ว่า เขาทำงานกับระบบงานที่มั่นคง และ เราดูแลเขาเป็นอย่างดีเพื่อความก้าวหน้าและมั่นคงของธุรกิจ ตลอดไป..

16. การขยายธุรกิจแนวอื่นๆ

เมือถึงจุดหนึ่งของธุรกิจ จะถึงจุดอิ่มตัว คิดเรื่องการขยายธุรกิจแนวอื่นๆไว้ตั้งแต่เนิ่นๆได้เลยครับว่า คุณจะทำเรื่องใดเสริมเข้าไป หรือ ต่อยอดในเรื่องใดบ้าง เพื่อเป็นการเปิดตลาดในกลุ่มใหม่ๆ หรือให้บริการใหม่ๆ กับลูกค้าเจ้าประจำของคุณครับ...
 

 


อ้างอิงจาก วิบูลย์ จุง



 
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,152
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,428
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,894
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,225
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด