บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
2.8K
2 นาที
6 พฤศจิกายน 2560
เหตุผลควรรู้ทำไม Startup ร้านอาหารที่เหมือนจะดี แต่สุดท้ายไม่รอด!

 

เราอาจจะคิดว่าธุรกิจที่ดูดีมีกำไรมากที่สุดคือร้านอาหาร เนื่องจากเป็นปัจจัย4ที่ไม่ว่าจะยุคไหนสมัยใด อาหารก็ยังเป็นสิ่งที่คนเราต้องการทุกวัน ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนหน้าใหม่มีประสบการณ์หรือไม่มีประสบการณ์ เพียงแค่อาจจะมีทุนอยู่บ้างส่วนใหญ่เลือกลงทุนเปิดรายอาหารของตัวเอง
 
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่าไตรมาสแรกของปี 2560 มีธุรกิจร้านอาหารอยู่ทั่วประเทศราว 11,945 ราย มูลค่าการจดทะเบียนนั้นมากกว่า 77,423 ล้านบาท และยังพบอีกว่าธุรกิจร้านอาหารกว่าร้อยละ 90 นั้นเป็นธุรกิจSMEs ที่มีทุนจดทะเบียนอยู่ระหว่าง1-5 ล้านบาท 

ด้วยเหตุนี้หลายคนอาจมองภาพว่าธุรกิจอาหารใครทำก็รุ่ง ใครทำก็รอด แต่ในความเป็นจริง www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าในจำนวนคนลงทุนที่มากมายนี้ส่วนหนึ่งกลับไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ใจคิด คำตอบสำคัญก็คือ “เป็นเพราะอะไร?”
 
1.มั่นใจกล้าลุย แต่ไม่มีประสบการณ์
 

การทำร้านอาหารเรื่องประสบการณ์ก็สำคัญ คนลงทุนยุคใหม่ส่วนใหญ่มีแต่ทุน แต่ขาดการศึกษาข้อมูลการลงทุนที่ดี คิดแค่ว่าจะทำอาหารอร่อย บรรยากาศร้านดีๆ แค่นี้ก็ดึงดูดลูกค้าได้ แต่ในความเป็นจริงการบริหารจัดการ การทำตลาด การครองใจลูกค้าทุกอย่างคือปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่รอดทั้งสิ้น
 
2.ไม่รู้จักคู่แข่งดีพอ
 
อย่าลืมว่าธุรกิจร้านอาหารเราต้องเจอคู่แข่งจำนวนมาก ในถนนเส้นเดียวกัน ในซอยเดียวกัน มีร้านอาหารเรียงรายจำนวนมาก ลูกค้าสามารถเลือกเข้าร้านไหนก็ได้ที่เขาพอใจ ดังนั้นคำถามคือว่าเราจะต้องทำอย่างไรให้ตัวเองนั้นโดดเด่นกว่าคู่แข่ง ต้องศึกษาเรื่องนี้ให้จริงจังเพื่อพัฒนาทั้งรูปแบบร้าน เมนู การบริการ การตลาด ให้เป็นที่ต้องการของลูกค้ามากที่สุด
 
3.โฟกัสลูกค้าในวงกว้างเกินไป
 

จุดนี้คนลงทุนร้านอาหารมักมองข้ามอย่างสิ้นเชิงมัวแต่สร้างแบรนด์ให้คนทั่วไปรู้จัก แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือในรัศมี 5 กิโลจากร้านคือสนามรบที่สำคัญสุด เราต้องยึดพื้นที่ตรงนี้ให้ได้ก่อน ทำอย่างไรให้คนในละแวกนั้นรู้ว่ามีร้านอาหารอยู่ตรงนี้ ทำอย่างไรให้คนแถวนั้นกลายมาเป็นลูกค้าประจำ ถ้าทำตรงนี้ได้ค่อยขยายโฟกัสลูกค้าให้กว้างขึ้นในภายหลังก็ได้
 
4.เน้นการตลาดที่เป็นออนไลน์มากเกินไป
 
จริงอยู่ว่ากระแสออนไลน์นั้นทำให้คนรู้จักเราได้ในชั่วข้ามคืน คนทำร้านอาหารบางครั้งจึงมุ่งแต่สร้างภาพสวยงาม หาจุดเด่นทำให้คนแช๊ะ และแชร์ เพื่อหวังการประชาสัมพันธ์ส่วนนี้ แต่อย่าลืมว่าการตลาดที่ทรงพลังไม่แพ้กันก็คือ “ปากต่อปาก” นั้นหมายถึงคุณภาพอาหารที่จะชูโรงเรื่องนี้ถ้ามัวแต่ห่วงสวยแต่รสชาติอาหารไม่พัฒนา ความสำเร็จก็ไม่เกิดเช่นกัน
 
5.บริหารต้นทุนไม่เป็น
 

ศัพท์ในวงการอาหารเรียกว่า Foodcost หมายความว่าใน 1 เมนูเช่นข้าวผัดกุ้งควรกำหนดราคาเท่าไหร่ ก็ต้องรู้จักคำนวณวัตถุดิบทั้งหมดเอามากำหนดราคาเมนูอย่างข้าวผัดกุ้ง 1 จานนั้นประกอบด้วย ข้าว กุ้ง ไข่ ผักคะน้า ต้มหอม มะนาวครึ่งลูก มะเขือเทศ การกำหนดราคาต้องคำนวณจากความเป็นจริงของวัตถุดิบเหล่านี้ไม่ใช่คิดราคาตามความรู้สึกซึ่งมันทำให้เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเมนูนี้เราได้กำไรหรือเปล่า
 
นอกจากนี้การกำหนดกรอบเวลาทำธุรกิจก็สำคัญเช่นวัดผลใน 3 เดือน 6 เดือน การดูภาพรวมในระยะเวลาเหล่านี้ทำให้เรารู้ว่าแผนการตลาดของร้านนั้นเหมาะสมและสำเร็จหรือไม่ หากยังไม่ดีพอก็ต้องปรับเปลี่ยน การทำร้านอาหารที่ดีจึงไม่ควรทำไปเรื่อยๆ ควรมีช่วงเวลาในการคิดวิเคราะห์เพื่อให้สามารถสู้กับคู่แข่งที่มีจำนวนมากในตลาดนี้ได้
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด