บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
4.4K
2 นาที
22 ธันวาคม 2560
แฟรนไชส์ สร้างความมั่งคั่งกว่างานประจำ จริงหรือ? 
 

ปัญหาเศรษฐกิจซบเซา ถือเป็นโจทย์ให้กับมนุษย์เงินเดือนทั่วโลก มองหาแนวทางการสร้างรายได้ สร้างความมั่ง ที่มากพอกับค่าครองชีพ ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะเงินเป็นปัจจัยหลัก และมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตของผู้คน 

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าปฏิกิริยาของมนุษย์เงินเดือนทั่วโลก ต่างพยายามมองหาช่องทางการหาเงิน สร้างรายได้ ที่ไม่ใช่แค่ “มีรายได้” แต่ต้องมี “ความมั่งคั่ง” เพราะการที่จะมีความมั่งคั่งได้นั้น จะต้องอยู่ภายใต้ทฤษฎีของการทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย หากยังเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่ การเก็บออมจากรายได้ อาจคงไม่เพียงพอที่จะก้าวสู่ความมั่งคั่งได้ครับ

ดังนั้น การเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบการ สามารถสร้างสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนปรารถนาได้เร็วกว่าการทำงานประจำเป็นลูกจ้าง แต่การสร้างธุรกิจใหม่ หรือการซื้อแฟรนไชส์ อาจต้องมีความรู้เรื่องการทำธุรกิจนั้นๆ และทำธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี 

โดยจากสถิติที่ผ่านมาของสหรัฐฯ สามารถบอกได้มากกว่า 90% ของแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จได้นั้น อันดับต้นๆ มาจากการผลักดันของบุคคลที่เป็นมนุษย์เงินเดือนมาก่อน แฟรนไชส์ทั่วโลกหรือแม้แต่ประเทศไทยเองก็ตาม ล้วนเป็นมนุษย์เงินเดือน มีหลายเหตุผลที่ทำให้เขาเลือกที่จะเดินบนเส้นทางธุรกิจแฟรนไชส์ มากกว่าหน้าที่การงานจากงานประจำ


วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะเล่าให้ฟังว่า การทำแฟรนไชส์ กับ การทำงานประจำ แตกต่างกันอย่างไร แล้วอย่างไหนที่สามารถสร้างรายได้ และสร้างความมั่นคั่งได้ดีกว่ากัน เพื่อเป็นแนวทางให้คนที่กำลังตกงาน ว่างงาน หรือทำงานอยู่ นำไปเป็นแนวทางวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจสมัครงานใหม่ หรือเลือกทำแฟรนไชส์ 

Jeff Elgin กูรูด้านแฟรนไชส์จากสหรัฐอเมริกา เคยให้สัมภาษณ์ไว้ใน Entrepreneur.com เขาได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นของตลาดแรงงานและการพิจารณาเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ เขามองว่า การสมัครงานใหม่ในสภาพเศรษฐกิจซบเซา กับการเลือกซื้อแบรนด์แฟรนไชส์มาทำธุรกิจ อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

ปัจจุบันที่สหรัฐอเมริกาพนักงานระดับผู้บริหารระดับสูงและระดับผู้จัดการ มองหาช่องทางใหม่ๆ ในการสร้างรายได้ และได้เริ่มมองโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น แทนการมองหาตำแหน่งงานใหม่ในองค์กรอื่นๆ ที่เป็นไปยากเหลือเกินในเวลานี้กับการเปลี่ยนงานใหม่และเชื่อว่าคงไม่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน

สาหรับความแตกต่างระหว่างการทำงาน (ที่เดิม/ที่ใหม่) กับการเป็นเจ้าของแฟรนไชส์คืออะไร Jeff ว่า แน่นอนย่อมมีข้อดีและข้อเสียให้เลือก มีคำตอบที่หลากหลายจากคนที่เขาต้องการบรรลุเป้าหมายในชีวิต และความรู้สึกต่อปัจจัยเสี่ยง และผลตอบแทนที่เกิดขึ้น ซึ่งพิจารณาสถานะภาพตลาดของงานที่ทำและอุตสาหกรรมแฟรนไชส์


หากมองถึงตลาดแรงงานในปัจจุบัน พบอัตราการว่างงานสูง หลายบริษัทอาศัยจังหวะนี้หาผลประโยชน์จากการเพิ่มข้อกำหนด คุณสมบัติต่างๆ เพิ่มขึ้น แต่เงินเดือนเริ่มต้นที่แสนเจ็บปวดกับตำแหน่งใหม่ หรือพูดง่ายๆว่า 

คุณสมบัติสูงลิ่วแต่ให้เงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำ เพราะพวกนายจ้างมองว่าสภาพของคนตกงานหยิบยื่นอะไรให้ ก็ต้องคว้าไว้ก่อน เหมือนยืนรอที่หน้าประตูบริษัทแล้วเปิดประตู เมื่อไหร่แรงงานเหล่านี้พร้อม ก็จะทะลักเข้ามาทันที ฉะนั้นสภาพที่เกิดขึ้นจึงไม่สวยหรูนักสำหรับผู้ที่ต้องการหางานใหม่ 

หากมองในอุตสาหกรรมแฟรนไชส์ เมื่อสภาพเศรษฐกิจซบเซา อาจทำให้การทำแฟรนไชส์มีภาวะถดถอยในเรื่องของรายได้และกำไร โดยแฟรนไชส์ที่เข้มแข็งจะอยู่รอด และรอเศรษฐกิจกลับเข้ามาสู่ภาวะปกติ ซึ่งหมายความว่าเมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี จะต้องระมัดระวังมากขึ้นกว่าปกติในการเลือกซื้อแฟรนไชส์และโอกาสที่เหมาะสม

แฟรนไชส์ หรือ งานประจำ อะไรดีกว่ากัน 


1.รายได้ ทั้งงานประจำหรือแฟรนไชส์ควรสร้างรายได้ ซึ่งงานที่ทำอยู่นั้น โดยปกติจะกำหนดไว้ชัดเจน ที่เราสามารถรู้เงินเดือนที่ได้รับ และวิธีการจ่ายหรืออาจเป็นรายได้ที่ไม่คงที่ ที่ขึ้นอยู่กับค่าคอมมิชชั่นหรือโบนัส แต่งานประจำจะทำให้เราสามารถประเมินล่วงหน้าถึงรายได้ที่เข้ามาได้

แต่กับการสร้างรายได้จากธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ในระยะสั้นอาจไม่เห็นรายได้ที่เข้ามามากนัก เพราะเป็นช่วงของการเริ่มต้นธุรกิจ แต่ระยะยาวอาจคาดการณ์ได้ถึงรายได้ที่จะเข้ามา อาจจะมากหรือไม่น้อยเท่านั้น แต่ต้องให้แน่ใจว่าระหว่างนั้น เราต้องมีเงินสำรองเพียงพอที่จะอยู่ได้ ขณะที่กำลังผ่านช่วงของการสร้างธุรกิจหรือการเริ่มต้น


2.มูลค่าทรัพย์สินหรือความมั่งคั่ง เมื่อเราสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ เท่ากับเราสร้างสินทรัพย์ที่เติบโตมีมูลค่า และสามารถขายแฟรนไชส์ให้คนอื่น และสร้างความมั่งคั่งให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ระหว่างการดำเนินธุรกิจ 

แต่เจ้าของแฟรนไชส์อาจต้องเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในช่วงต้น แต่รางวัลที่ได้รับคือ รายได้ที่สร้างขึ้น จากความพยายามที่เกิดขึ้นกับเรามากกว่าคนอื่น ปัจจัยนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์


3.การควบคุม งานประจำที่ทำอยู่จะถูกควบคุมโดยเจ้านาย เขาจะบอกให้เราทำในงานที่พวกเขาต้องการและวิธีการต่างๆ ที่เขาต้องการให้เราทำ แต่หากเราเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ เท่ากับเราเป็นนายจ้างของตัวเราเอง และสามารถบอกคนอื่นทำในสิ่งที่เราต้องการ และจะทำให้งานที่เราทำนั้นสมบูรณ์มีคุณค่าในสิ่งที่ทำ 

สรุปก็คือ ไม่ว่าจะทำงานประจำ หรือทำแฟรนไชส์ จะต้องประเมินตนเองและพิจารณาให้ถี่ถ้วน เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าเราเหมาะกับการทำงานในรูปแบบใด ทำตามคำสั่ง หรือทำในบทบาทของการเป็นเจ้าของกิจการ บุคลิกไหนที่เหมาะกับเรา

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
สนใจซื้อแฟรนไชส์ https://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,706
ส่อง 76 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
6,112
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,753
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,649
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
860
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
833
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด