บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.1K
3 นาที
25 มิถุนายน 2561
แฟรนไชส์ที่คนไทยนิยมซื้อ Vs แฟรนไชส์ที่แท้จริงควรจะเป็น
 

การมีธุรกิจเป็นของตัวเองถือเป็นสิ่งที่หลายๆ คนใฝ่ฝันเอาไว้ เพราะจะได้ไม่ต้องเป็นลูกน้องของใคร แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะสามารถมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เนื่องมาจากด้วยสภาพเศรษฐกิจ เงินทุน ทักษะความรู้ความสามารถ การจัดการ แต่ในปัจจุบันคนที่ใฝ่ฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง สามารถทำได้ง่ายขึ้น ด้วยการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์
 
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาบริหารแล้ว จะประสบความสำเร็จเหมือนกันหมด เลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดีมีคุณภาพก็ประสบความสำเร็จไป แต่ถ้าเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ดี เจ้าของแฟรนไชส์ไม่ให้การสนับสนุนดูแล ก็รอวันเจ๊ง 
 
จริงๆ แล้วยุคปัจจุบัน หากใครอยากจะประสบความสำเร็จในธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างแรกก็ต้องเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีระบบมาตรฐานจริงๆ โดยเฉพาะระบบการให้การสนับสนุนดูแลของเจ้าของแฟรนไชส์ ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอรูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนไทยนิยมซื้อกันมากในปัจจุบัน และธุรกิจแฟรนไชส์ที่แท้จริง ซึ่งการเลือกซื้อแฟรนไชส์ทั้งสองแบบ มีผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจแฟรนไชส์ที่เราซื้อมา มาดูกันว่ารูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนไทยนิยมซื้อ และธุรกิจแฟรนไชส์จริงๆ มีความแตกต่างกันอย่างไร
 
แฟรนไชส์ที่คนไทยนิยมซื้อ
 

ปัจจุบันคนที่อยากมีธุรกิจ อยากมีรายได้ แต่เงินทุนไม่มาก ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลงทุนหรือจ่ายเงินให้กับเจ้าของแฟรนไชสแค่ครั้งเดียว นั่นก็คือ ค่าแฟรนไชส์แรกเข้า ส่วนใหญ่ธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้จะใช้เงินลงทุนในการเปิดร้าน และค่าแฟรนไชส์ไม่สูงมาก คนที่สนใจซื้อแฟรนไชส์จ่ายเงินค่าแฟรนไชส์แล้ว ก็เปิดร้านได้เลย แต่เจ้าของแฟรนไชส์อาศัยการขายส่งวัตถุดิบให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งจะมีรายได้จากการขายวัตถุดิบเป็นหลัก 
 
แฟรนไชส์ที่คนไทยนิยมซื้อ ถือเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ประเภท Product Distribution Franchise ส่วนใหญ่จะขายสูตรและขายวัตถุดิบ เจ้าของแฟรนไชส์ให้สิทธิ์ในตัวผลิตภัณฑ์หรือเครื่องหมายการค้า เพื่อการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าในยี่ห้อสินค้านั้น

แฟรนไชส์ประเภทนี้ แฟรนไชส์ซอร์ในฐานะผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ มักจะกำหนดมาตรฐานทางคุณภาพด้านต่างๆ ให้แฟรนไชส์ซีปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เป็นมาตรฐานเดียวกัน  

 
 
โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประเภทนี้ มักจะทำหน้าที่ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นๆ มากกว่าที่จะเป็นผู้ผลิตเสียเอง หรือซื้อวัตถุดิบจากเจ้าของแบรนด์มาผลิตจำหน่าย โดยปกติมักจะเป็นผู้ค้าปลีกเป็นส่วนมาก เช่น ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จะเป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ให้กับบริษัทผู้ผลิต หรือแม้แต่ Coca-Cola, บริษัท Ford Motor, Exxon และ Osim
 
นอกจากนี้ เจ้าของแฟรนไชส์จะไม่เข้าไปควบคุมการดำเนินธุรกิจของผู้ซื้อแฟรนไชส์ แต่เจ้าของแฟรนไชส์จะดูแลควบคุมในด้านมาตรฐานให้เป็นไปตามที่ข้อกำหนดเท่านั้น อย่างในเมืองไทยแฟรนไชส์ประเภทจะเป็น ชา 25 บาท ลูกชิ้นทอด ก๋วยเตี๋ยว ไก่ทอด ฯลฯ ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้ค่า Franchise Fee จะถูกมากๆ ราคาหลักพันถึงหมื่นบาท ไม่เกินแสนบาท 

 
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจเหล่านี้ อาจจะไม่ได้รับการดูแล การสนับสนุนจากเจ้าของแฟรนไชส์เท่าที่ควร ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ต้องหาทำเลที่ตั้ง รวมถึงบริหารจัดการธุรกิจด้วยตัวเอง เจ้าของแฟรนไชส์จะเน้นเอากำไรจากวัตถุดิบ ซึ่งบวกราคาไปแล้ว แต่ละเดือนถ้าเทียบกันแล้ว ได้มากกว่าแฟรนไชส์ที่เก็บ Royalty Fee และ Marketing Fee เสียอีก
 
แฟรนไชส์ที่แท้จริง ควรจะเป็น
 
ภาพจาก goo.gl/Yp6fBj

เป็นรูปแบบแฟรนไชส์ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน คือ แฟรนไชส์ซอร์จะกำหนดระบบของการดำเนินธุรกิจให้ใช้เหมือนกันทั่วโลก ทั้งสินค้า เครื่องหมายการค้า วิธีบริหารระบบการเงิน ระบบงานต่างๆ รวมทั้งแผนการตลาด 
 
ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิ์ในการให้บริการ หรือ ทำการผลิตสินค้า ที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะ หรือ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้าของเจ้าของแฟรนไชส์ 

 
โดยมีการถ่ายทอดระบบและวิธีการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสูงที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนด เพื่อรักษาภาพลักษณ์และศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของเจ้าของแฟรนไชส์ 
 
ทั้งนี้ ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของทั้งเจ้าของและผู้ซื้อแฟรนไชส์ จะมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาแฟรนไชส์ โดยยึดถือประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย เช่น เคเอฟซี แมคโดนัลด์ ดังกิ้น โดนัท 7-Eleven เชสเตอร์ กาแฟอินทนิล กาแฟมวลชน คอฟฟี่ ทูเดย์ N&B คิดเอเบิ้ล เป็นต้น

ภาพจาก goo.gl/G7W3m8
 
แฟรนไชส์กลุ่มนี้จัดอยู่ในประเภท Business Format Franchise ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมาก เพราะเป็นแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ ได้รับความนิยมในตลาด และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการให้เกือบทุกๆ อย่าง เพียงแต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องปฏิบัติตามรูปแบบเจ้าของแฟรนไชส์บอกเท่านั้นก็พอ 
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่แท้จริงแบบนี้ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ กับผู้ที่ต้องการลงทุน เช่น ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ Initial Franchise Fee บางที่เรียกว่า ค่าสิทธิ์แรกเข้า หรือ Entrance Fee เป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของระบบแฟรนไชส์ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) จะต้องจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ เป็นค่าสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้าหรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าหนึ่ง ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด 

 
โดยแฟรนไชส์ซอร์ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้ เป็นการอำนวยความสะดวกต่อการทำธุรกิจรวมถึงการอบรมบริการต่างๆ ที่ทางแฟรนไชส์ซอร์จัดให้แก่แฟรนไชส์ซี 
 
ขณะเดียวกัน สิ่งที่เป็นค่าใช้จ่ายในระบบแฟรนไชส์อีกอย่าง ก็คือ เงินรายงวด ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือ ค่ารอยัลตี้ (Royalty Fee) เป็นค่าสิทธิต่อเนื่องบนรายได้ที่แฟรนไชส์ซีได้ จากการดำเนินธุรกิจที่ได้รับสิทธิ เสมือนเป็นภาษีทางธุรกิจ หรือค่าสมาชิกสโมสรที่คนเป็นสมาชิกต้องช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนานั่นเอง 


ภาพจาก goo.gl/ubpk6w
 
เงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการ เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ โดยปกติแฟรนไชส์ซีจะจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์เป็นรายเดือน โดยคิดคำนวณจากสัดส่วนของยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน ในธุรกิจอาหารและร้านค้าปลีกต่างๆ อัตราเปอร์เซ็นต์ของค่า Royalty บนยอดขายมักจะมีค่าประมาณ 4-6% ขณะที่ธุรกิจประเภทการบริการมักอยู่ที่ 8-10% 
 
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะถูกกำหนดให้คงที่ หรือผันแปรก็ได้ หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 แบบรวมกัน โดยแฟรนไชส์ซอร์อาจแลกเปลี่ยนด้วยการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณา สนับสนุนการขาย ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น 
 
ค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นสิ่งที่แตกต่างกับการทำธุรกิจทั่วไป เป็นค่าใช้จ่ายที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการล้มเหลวในธุรกิจ และช่วยให้เถ้าแก่ใหม่เรียนลัดได้เร็วขึ้นกว่าปกติ เหมือนกับการจ่ายค่าติวเข้มทางธุรกิจ และจ้างพี่เลี้ยงช่วยเหลือ 
 
นอกจากนี้ ผู้ซื้อแฟรนไชส์กลุ่มนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในระบบธุรกิจแฟรนไชส์อีก เช่น การลงทุนตกแต่งร้านออกเองทั้งหมด เพื่อให้มีรูปลักษณ์เหมือนกับของแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นในระยะแรกของการตกลงใจที่จะทำแฟรนไชส์  

 
ดังนั้น แฟรนไชส์ซี จำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายล่วงหน้าส่วนนี้ พร้อมทั้งต้องแบ่งสรรเงินทุนส่วนหนึ่งให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตามปกติ เช่น ค่าใช้จ่ายทั่วไป เงินเดือนพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น
 
สรุปก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนไทยนิยมซื้อ ซึ่งถือเป็นแฟรนไชส์แบบ Product Distribution Franchise เจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้าเพียงแค่ครั้งเดียว ก็ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์เปิดร้าน และใช้แบรนด์ได้ บางครั้งแฟรนไชส์ซีต้องซื้อสินค้าและวัตถุดิบจากเจ้าของแฟรนไชส์โดยตรง แต่จะไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการทำตลาด การขายให้กับแฟรนไชส์ซี มีโอกาสโดนลอยแพสูง 
 
ส่วนแฟรนไชส์แบบ Business Format Franchise ถือเป็นแฟรนไชส์ที่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง ทั้งค่าแฟรนไชส์ การตกแต่งร้าน ค่าการตลาดที่เรียกเก็บรายเดือนจากแฟรนไชส์ซี โดยแฟรนไชส์กลุ่มนี้เน้นการขายระบบทุกอย่างให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ จึงทำให้แฟรนไชส์ซีมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง จะได้รับการสนับสนุนจากแฟรนไชส์วอร์ตลอดอายุสัญญา
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/home.php
 
เลือกซื้อแฟรนไชส์ขายดี ทำธุรกิจ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 

Franchise Tips

แฟรนไชส์ที่คนไทยนิยมซื้อ (ขายสูตร-วัตถุดิบ)
  • ค่าแฟรนไชส์ถูก 
  • ไม่เก็บค่า Royalty Fee   
  • ซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากเจ้าของแฟรนไชส์
  • เสี่ยงต่อการลอยแพ
แฟรนไชส์ที่แท้จริง ควรจะเป็น (ขายระบบ) 
  • ค่าแฟรนไชส์สูง 
  • งบการลงทุน ตกแต่งร้าน อุปกรณ์ต่างๆ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ออกเอง
  • เก็บค่า Royalty Fee 
  • ให้การสนับสนุนดูแลตลอดอายุสัญญา
  • จัดหาทำเลที่ตั้ง
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,701
ส่อง 76 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
6,112
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,753
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,649
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
860
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
833
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด