บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    สร้างความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน
2.3K
2 นาที
27 สิงหาคม 2561
5 ข้อดีของการเปิดเผยเงินเดือนให้โลกรู้!


สำหรับมนุษย์เงินเดือนแล้วคงไม่มีความลับไหนจะเกินไปกว่าคำว่า “เงินเดือนเท่าไหร่” คำถามนี้บอกตรงๆ ว่าหากไม่สนิทแบบสุดๆ ไม่มีใครกล้าบอกใคร ทั้งที่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายหรือผิดจรรณยาบรรณอะไรแต่ทุกคนกลับรู้สึกว่า “ไม่ควรถามแบบนี้” ด้วยอาจจะรู้สึกว่าเงินเดือนเป็นเรื่องส่วนบุคคล เหมือนกับการถามคุณผู้หญิงว่า “น้ำหนักคุณเท่าไหร่”  ดูเป็นอะไรที่หยาบคายและละเมิดสิทธิมาก
 
ที่เป็นแบบนี้ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลน่าสนใจว่าแม้แต่บางรัฐในอเมริกาถึงกับมีการเขียนกฏหมายว่าการพูดคุยเรื่องเงินเดือนเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย

ด้วยอาจจะกลัวว่าเป็นการทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและตัดสินคุณค่าของคนจากงานที่ทำ หากรู้ว่ารายได้ของคนนี้คือเท่าไหร่ อาจทำให้รู้สึกเหนือกว่า หรือด้อยกว่าอันเป็นผลร้ายที่อาจส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ลดน้อยลง
 
ขณะที่มุมหนึ่งบอกว่าเงินเดือนเป็นเรื่องไม่ควรถาม บางบริษัทกลับมีนโยบายเปิดเผยเงินเดือนอย่างชัดเจน เช่นWhole Foods ซูเปอร์มาร์เก็ตอาหารเพื่อสุขภาพ ที่เริ่มทำเรื่องนี้มานานหลายสิบปี หรือแม้แต่ Glassdoor ซึ่งเป็นเว็บไซต์หางานและรีวิวนายจ้าง ก็มีบริการให้พนักงานมาแชร์เงินเดือนในแต่ละตำแหน่ง และเว็บ Glassdoor ก็ดูจะได้รับความนิยมอย่างมากเพราะเสมือนการได้ส่องค่าตอบแทนที่แท้จริงก่อนการสมัครงาน  รวมถึง Buffer ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่โปร่งใสในเรื่องเงินเดือนแบบสุดๆ ถึงขนาดแชร์เงินเดือนพนักงานภายในองค์กรผ่านหน้าเว็บไซต์อย่างเป็นทางการอีกด้วย
 
อย่างไรก็ดีมีนักวิจัยที่เขาสงสัยในเรื่องนี้และได้ทำการทดลองตามแนวคิดดังกล่าวผลปรากฏว่า กลุ่มคนที่รู้ว่าคนอื่นได้เงินเดือนเท่าไหร่จะมีประสิทธิภาพในการทำงานดีกว่ากลุ่มที่เงินเดือนของแต่ละคนเป็นความลับ
 
ดังนั้นแล้วสรุปได้พอสังเขปว่า “รู้เงินเดือนของคนอื่น” ทำให้องค์กรพัฒนาได้ดีกว่า จะจริงหรือไม่ลองมาดู เหตุผล 5 ข้อต่อไปนี้
 
1.สร้างความสบายใจในหมู่พนักงาน
 

เรียกว่าเป็นการสร้างสังคมแห่งความจริงเพราะเชื่อได้เลยว่าทุกวันนี้หลายคนมองว่าคนนั้นน่าจะได้เงินเดือนเยอะกว่า คนนี้น่าจะได้เงินเดือนเยอะกว่าคนนั้น ในขณะที่คนถูกมองก็อาจมองกลับมาว่าคนเหล่านี้อาจได้เงินเดือนเยอะกว่า แต่ทำไมฉันทำงานมากกว่า เรียกว่าทุกคนเคลือบแคลงสงสัยแต่ไม่มีใครกล้าถาม

กลายเป็นความอึดอัดและทำให้เกิดช่องว่างระหว่างพนักงานโดยไม่จำเป็น ซึ่งหากได้รู้ความจริงว่าแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่ก็จะทำให้เกิดความสบายใจ ชัดเจนในตัวของแต่ละคนว่าต่อแต่นี้ควรทำอย่างไรต่อไปหากเงินเดือนตัวเองมากกว่าหรือน้อยกว่าคนอื่น
 
2.ช่วยรีดประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่าเดิม
 

ต่อเนื่องกันไปจากข้อที่ 1 หลายคนกลัวว่าถ้ารู้ว่าคนอื่นได้เงินเดือนเท่าไหร่แล้วจะกลายเป็นพลังด้านลบให้คนหมดกำลังใจ หากแต่มองในด้านบวก การได้เงินเดือนมากอาจหมายถึงอายุงานที่มากกว่า ความรู้ที่มากกว่า การรับผิดชอบในหน้าที่ที่มากกว่า

หากวันนี้เรารู้ว่าตำแหน่งเดียวกันแต่เราเงินเดือนน้อยกว่าแทนที่จะน้อยใจ น่าจะใช้จุดนี้เป็นแรงผลักดันว่าหากเราทำงานให้ดียิ่งขึ้นเราก็จะสามารถมีเงินเดือนเท่ากับเพื่อนที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกับเราได้ ไม่ใช่ทำงานแบบไม่มีเป้าหมายไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำแล้วเงินเดือนจะไปถึงระดับไหน ดังนั้นเชื่อได้ว่าการรู้เงินเดือนจะช่วยรีดศักยภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น
 
3.องค์กรดูมีความโปร่งใสและยุติธรรม
 

การเปิดเผยเงินเดือนถือเป็นความกล้าหาญในระดับองค์กรที่เชื่อว่าคงเกิดได้ยาก แต่เชื่อเถอะว่าองค์กรที่เปิดเผยเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา จะไม่มีใครกล้ามาบอกว่าผู้บริหารลำเอียงได้เด็ดขาด เพราะทุกอย่างมีการแสดงตัวเลขให้เห็นว่าทำไมคนนี้ถึงได้เงินเดือนเท่านี้  สิ่งที่คลุมเครือในหมู่พนักงานเปรียบเหมือนเมฆหมอกที่ฉาบเอาไว้จะโปร่งใสและชัดเจนยิ่งขึ้น
 
4.เป็นการเลือกเฟ้นคนให้เหมาะสมกับองค์กร
 


ไม่แน่ว่าในอนาคตการรับสมัครงานหากมีการระบุเงินเดือนชัดเจนลงไปอาจกลายเป็นเรื่องสาธารณะที่ทุกองค์กรต่างต้องมาแข่งขันกันเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาให้ได้มากที่สุด จะช่วยขจัดปัญหาความรู้สึกเรื่องรายได้และโฟกัสกับการทำงานได้อย่างเต็มที่
 
5.ลดปัญหาการเรียกร้องให้หมดไป
 

หากองค์กรมีมาตรฐานชัดเจนว่าทำงานแค่ไหนได้เงินเดือนเท่าไหร่ และทำอย่างไรเพื่อให้เงินเดือนก้าวหน้ามากขึ้น ทุกคนจะมีเป้าหมายว่าควรบูรณาการตัวเองอย่างไรไม่ใช่สักแต่จะเรียกร้องเงินเดือนขึ้นแต่เนื้องานไม่มีการพัฒนาการรู้เรตเงินเดือนจะควบคุมสิ่งเหล่านี้ให้เราโฟกัสเรื่องงานที่สัมพันธ์กับเงินเดือนมากขึ้น

ช่วยลดปัญหาการเรียกร้องประเภทรู้สึกว่าคนอื่นทำงานน้อยกว่าแต่ทำไมเงินเดือนมากกว่าหรือฉันทำมานานแต่ทำไมเงินเดือนแค่นี้ การบอกเงินเดือนให้รู้ถึงตัวเลขและที่มาน่าจะช่วยลดปัญหาในองค์กรเรื่องนี้ได้
 
หลายคนตีโพยตีพายเมื่อรู้สึกว่าตัวเองได้เงินเดือนน้อย และนั่นก็คือความรู้สึกซึ่งบางทีเงินเดือนของเราอาจจะทัดเทียมหรือสูงกว่าเพื่อนบางคนด้วยซ้ำแต่ความที่คิดมากทำให้รู้สึกไปต่างๆ นานาบางทีถึงขั้นลาออกเพื่อต้องการเงินเดือนที่สูงกว่า ซึ่งใครจะรู้ว่างานที่ใหม่อาจทำให้เราได้เงินเดือนน้อยยิ่งกว่าเดิม

ก่อนที่จะโฟกัสว่าทำไมเงินเดือนเราน้อย รายได้เราไม่เพิ่ม อย่าเพิ่งโทษองค์กร มองย้อนที่ตัวเองก่อนว่าทุ่มเทและทำงานเต็มที่ให้เขาหรือยัง ถ้าคำตอบคือไม่ แล้วยังจะหวังเงินเดือนที่สูงขึ้นไปอีกได้อย่างไร จริงไหมละครับทุกคน
 

SMEs Tips
  1. สร้างความสบายใจในหมู่พนักงาน
  2. ช่วยรีดประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่าเดิม
  3. องค์กรดูมีความโปร่งใสและยุติธรรม
  4. เป็นการเลือกเฟ้นคนให้เหมาะสมกับองค์กร
  5. ลดปัญหาการเรียกร้องให้หมดไป
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด