บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
3.1K
2 นาที
20 มีนาคม 2555
3 สมาคมแฟรนไชส์ไทย ไปทางไหน?

ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ที่คลุกคลี และคร่ำหวอดอยู่ในวงการแฟรนไชส์ไทย มานานกว่า 10 ปีท่านหนึ่ง


โดย การสนทนาก็ได้หยิบยกเอาประเด็นที่ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ มีโอกาสได้เห็นเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการรายใหม่ๆ แจ้งเกิดในวงการธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมากน้อยเพียงใด คำตอบที่ได้ก็คือ เห็นมีแจ้งเกิดและเปิดตัวอยู่พอประมาณ โดยมีหน่วยงานภาครัฐอย่าง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (DBD) เป็นผู้ผลักดัน

แต่พบ ว่า เมื่อเปิดตัวหรือแจ้งเกิดกันแล้ว เจ้าของแฟรนไชส์รายใหม่ หรือแฟรนไชส์ซอ ส่วนใหญ่ไม่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตต่อไปได้ หลายรายสะดุดขาตัวเองและต้องม้วนเสื่อกลับบ้านเก่า

ผู้คร่ำหวอดท่านนี้ให้ความเห็นว่า อาจเป็นเพราะ
  1. ความไม่พร้อมของตัวเจ้าของธุรกิจเอง
  2. แนวคิดเจ้าของธุรกิจที่ต้องการขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ไม่ถูกต้องมาตั้งแต่เริ่มต้น
  3. การส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจแฟรนไชส์ของภาครัฐทำได้แค่เพียงจุดกระกาย (แต่ไฟไม่ลุกโชน)
  4. ขาดกฎหมายที่จะควบคุมและสนับสนุนภาคธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีความโปร่งใสและชัดเจน
  5. เจ้าของธุรกิจค้นพบว่าระบบแฟรนไชส์ไม่เหมาะกับธุรกิจตัวเองก็ถอนตัวออกไป เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงความร่วมมือกันของผู้ที่อยู่ในธุรกิจแฟรนไชส์ไม่เหนียว แน่นพอ โดยเฉพาะรายที่เข้มแข็งแล้ว กับรายใหม่ที่แค่เริ่มตั้งไข่หรือไม่เข้มแข็งพอ ไม่สามารถจะเชื่อมต่อกันได้อย่างกลมกลืนหรือรวมเป็นหนึ่งเดียว เพื่อพัฒนาตลาดรวมแฟรนไชส์ให้เติบโต ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่าการมาจากธุรกิจที่หลากหลาย อีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะมองว่าธุรกิจหลักคือคู่แข่งขันกัน (ดูจะเป็นปัญหาไปหมด)
ผู้ เขียนเองก็ไม่อาจชี้ชัดว่า ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นจะถูกหรือผิดอย่างไร แต่ก็นับเป็นมุมมองและแง่คิดที่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์น่าเปิดใจรับไว้ ผู้เขียนเองก็พอจะเห็นภาพลางๆ หลังจากที่ก้าวเข้ามาสู่วงการแฟรนไชส์ได้ประมาณ 2 ปีเศษ และในฐานะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ด้วย จึงอยากจะเห็นเจ้าของแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอและผู้ที่เกี่ยวข้องตื่นตัว สำหรับการช่วยกันยกระดับและพัฒนาภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์ไทย เพื่อให้เข้มแข็งและเติบโตยิ่งขึ้นไป

มิฉะนั้นในอนาคตเราก็คงจะเหนื่อยหนักแน่ๆ โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยเปิดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี (Asian Economic Community: AEC) แฟรนไชส์จากต่างประเทศก็คงจะบุกเข้ามาพร้อมกับเงินทุนและระบบการจัดการที่เหนือกว่าแฟรนไชส์ไทย อะไรจะเกิดขึ้นบ้างไม่อยากจะคิดต่อ
 
ประการแรกที่ผู้เขียนอยากเห็น คือ สมาคมแฟรนไชส์ที่ปัจจุบันมีอยู่ถึง 3 สมาคม รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ผู้เขียนและผู้ประกอบการแฟรนไชส์หลายๆ รายสงสัยเหมือนกันว่าทำไมถึงรวมกันไม่ได้ (ทั้งที่หน่วยงานภาครัฐเคยประสานงานให้รวมกัน และแถลงข่าวเป็นเรื่องเป็นราวไปแล้ว) ถ้ารวมกันไม่ได้จริงๆ จะด้วยเหตุเพราะนโยบาย และวัตถุประสงค์ หลักของสมาคมไม่ตรงกันหรือเข้ากันไม่ได้  
 
สมาคม และหน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนก็ควรจะชี้กันมาให้ชัดๆ ว่า สมาคมใด เหมาะกับธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดใด หรือกลุ่มใด ผู้ประกอบการที่สนใจจะสังกัดด้วย ก็จะได้ตัดสินใจถูกว่าจะเลือกสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมาคมใดดี เพื่อจะได้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์ไทยกันอย่างจริงจัง นี่ผู้ประกอบการไม่รู้ว่าจะเป็นสมาชิกกับสมาคมใด บางรายก็ต้องใช้วิธี "สามี" เป็นสมาชิกสมาคมหนึ่ง "ภรรยา" เป็นสมาชิกอีกสมาคมหนึ่ง ครั้นจะไม่เป็นสมาชิกสมาคมใดเลย เดี๋ยวก็จะโดนหน่วยงานภาครัฐติติงเอาได้ว่าไม่ให้ความร่วมมือ
 
อีก ประการหนึ่ง ที่ผู้เขียนฝากถึงผู้ประกอบการรายใหม่ ที่คิดจะนำธุรกิจหลักก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ โปรดได้ทบทวนหลายๆ รอบก่อนจะตัดสินใจว่า พร้อมจะเริ่มต้นอย่างจริงจังเพียงใด โดยเฉพาะรายที่เป็น เอสเอ็มอี ท่านมีความพร้อมในการลงทุนหรือไม่ อย่าหลงเข้าใจผิดว่าการขยายสู่ธุรกิจแฟรนไชส์จะกลายเป็นเสือนอนกิน หรือ รับทรัพย์อย่างเดียว เพราะอันที่จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น

หรือจะ กล่าวได้ว่ามันก็คือ การลงทุนอีกหนึ่งธุรกิจของท่าน เพียงแต่นำธุรกิจเดิม หรือธุรกิจหลักมาต่อยอด ซึ่งแต่เดิมธุรกิจหลักอาจไม่เคยทำการตลาดหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์มาก่อน เมื่อพัฒนาสู่ระบบแฟรนไชส์ก็จะต้องลงทุนและเริ่มต้นลงมือทำ หรือธุรกิจหลักเคยทำกันแค่คนในครอบครัว และญาติๆ กับลูกจ้างไม่กี่คน ก็ต้องเปลี่ยนไปสู่ระบบการสร้างคน สร้างทีมงาน เพื่อไว้รองรองรับการทำงานที่จะสนับสนุนแฟรนไชส์ซี ที่ท่านขยายสาขาเพิ่มขึ้นฯลฯ
 
เหล่า นี้ เป็นการลงทุนก่อนจึงจะได้ผลตอบแทนกลับมา ซึ่งผู้เขียนเห็นผู้ประกอบการหลายรายที่เข้าใจผิดๆ และมองธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ทะลุ สุดท้ายก็เลยพาธุรกิจหลักและแฟรนไชส์ซีล้มลุกคลุกคลานไปด้วยกัน คราวนี้เลยกลายเป็นว่าระบบแฟรนไชส์มีปัญหา ทั้งๆ ที่ปัญหาไม่ได้เกิดจากระบบแต่เกิดจากความไม่มีระบบมากกว่า ซึ่งกูรูท่านหนึ่ง ก็พยายามถ่ายทอดและพร่ำสอนให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า "ธุรกิจอะไรก็ได้ ถ้ามีระบบที่ดีแล้ว สามารถจะต่อยอดเป็นแฟรนไชส์ได้ไม่ยาก" แต่เจ้าลูกศิษย์ทั้งหลายสิ ไม่เชื่อตามนั้น
 
หยิบ ยกประเด็นนี้มาคุยกัน มิได้มีเจตนาที่จะตำหนิหรือต่อว่ากัน โดยเฉพาะสมาคมแฟรนไชส์ทีมีอยู่ เพราะหลายๆ กิจกรรมดีตามที่สมาคมฯ ริเริ่ม หรือทำมาอย่างต่อเนื่อง ก็ต้องขอชมว่า...ดีแล้วครับ แต่ก็อยากจะเห็นความร่วมไม้ร่วมมือของเพื่อนร่วมธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งรุ่นเล็ก และรุ่นใหญ่ และบรรดาคณาจารย์ทั้งหลายที่อยู่ทั้งเบื้องหน้า และเบื้องหลังมาโดยตลอด รวมถึงผู้ทำธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์

อย่าง ที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา เราแทบไม่เห็นแฟรนไชส์แบรนด์คนไทยรายใหม่ๆ แจ้งเกิด และก้าวขึ้นมาเป็นดาวประดับวงการแฟรนไชส์ ให้สมกับเงินงบประมาณที่ภาครัฐได้ทุ่มลงมาดำเนินโครงการต่างๆ หรือว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยที่มีอยู่บ่มีไก๊แล้ว หรือว่าโครงการที่หน่วยงานของรัฐผลักดันออกมาเข็นผู้ประกอบการไม่ขึ้นแล้ว หรือว่าคณาจารย์ที่มีอยู่ในเมืองไทยสอนจนไม่มีอะไรจะสอนแล้ว ฯลฯ
 
เชื่อ ว่ายังคงมีคำถาม และคำอธิบาย ที่จะมาถกเถียงกันอีกมากมาย และก็เชื่อว่าทุกฝ่ายอยากจะเห็นภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมุ่งไปสู่เป้าหมาย เดียวกันคือ "เติบโตและเข้มแข็งอย่างยั่งยืน" ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายยอมเสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวม กันก่อน โดยเฉพาะแกนหลักๆ ของ 3 สมาคมในปัจจุบัน คงต้องจับเข่าคุยกันจริงๆ จังๆ สำหรับผู้เขียนแล้ว ก็พร้อมจะเป็นกระบอกเสียงสนับสนุนให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทย และธุรกิจที่เกี่ยวข้องก้าวไปพร้อมๆ กัน...เอาใจช่วยเต็มที่ครับ
 
อ้างอิงจาก สยามรัฐ
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,689
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,828
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด