บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    เรื่องราวความสำเร็จ
4.5K
3 นาที
6 เมษายน 2555
แฟรนไชส์ไทย เมื่อไหร่ Success?

สะท้อนมุมมอง ดร.สุนันทา ไชยสระแก้ว นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟรนไชส์

“อย่างไรก็ตามแม้จะมีการจัดตั้งโครงการ DBD Academy ขึ้นมาเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการที่ต้องการนำระบบแฟรนไชส์ไปใช้ขยายธุรกิจ แต่มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้เล็งเห็นความสำคัญด้านบุคลากร ซึ่งเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่สำคัญในการผลักดันธุรกิจดังกล่าวในประเทศไทย ให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จในอนาคต”

เชื่อว่าในปัจจุบันนี้..! ยังมีหลายท่านที่สงสัยว่าทำไมธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ยังไม่ก้าวไปถึงจุดที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จ ทั้งๆ ที่ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นถูกนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย เป็นเวลานานกว่า 20ปีแล้ว โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจ SME ที่กำลังอยู่ในระหว่างการขยายธุรกิจ และมองหาช่องทางในการขยายธุรกิจของตนเอง ทั้งนี้แม้ว่าระบบแฟรนไชส์จะเข้ามาในประเทศไทยนานกว่า 20 ปีแล้ว แต่ความก้าวหน้าของธุรกิจในประเทศไทย กลับยังล้าหลังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอยู่มาก
 
ดร.สุนันทา ไชยสระแก้ว ผู้อำนวยการหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ กล่าวว่า สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยนั้น ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการจำนวนมาก นำระบบแฟรนไชส์ไปใช้ในการพัฒนาและขยายธุรกิจของตนเอง

โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ SME แต่ปัญหาหลักๆ ที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายๆ รายยังไม่ประสบความสำเร็จในการนำระบบแฟรนไชส์ มาใช้ในการขยายธุรกิจของตนเองนั้นคือ ปัญหาการขาดบุคคลกรที่มีความรู้ความเข้าใจ ทำให้ไม่สามารถต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาการขาดความรู้ในระบบวิธีการทำงานในการดำเนินธุรกิจ และปัญหาการขาดความรู้ในการสร้างแบรนด์ของผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้กลุ่มธุรกิจ SME สามารถนำระบบแฟรไชส์ไปใช้ในการขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลอย่างแท้จริง ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาล โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการจัดอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการนำระบบแฟรนไชส์ไปใช้ แต่มีผู้ประกอบการเพียงไม่กี่รายได้สามารถนำระบบแฟรไชส์ไปใช้บริหารธุรกิจอย่างได้ผล

ส่วนใหญ่ที่นำไปใช้กลับไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้มีการนำไปใช้แบบประเดี๋ยวประด๋าว ทำให้มีผู้ประกอบการน้อยรายที่ประสบความสำเร็จจากการนำระบบแฟรนไชส์ไปใช้ในการขยายธุรกิจอย่างแท้จริง

“หากเปรียบเทียบการขยายตัวของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยกับต่างประเทศ จะพบว่าต่างประเทศนั้นมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ในขณะที่ประเทศไทยนั้นการขยายตัวเป็นไปอย่างช้ามากๆ ประเด็นคือ การขยายตัวของระบบแฟรนไชส์ในต่างประเทศ เพราะรัฐบาลมีการสนับสนุนอย่างจริงจัง โดยมีการให้ความรู้ความเข้าใจและยังมีการออกกฎหมายมารองรับ การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงจัง และในด้านกฎหมายเองก็ยังไม่มีการส่งเสริมให้เกิดระบบแฟรนไชส์อย่างเต็มตัว”

ดร.สุนันทา  กล่าวว่า สำหรับสาเหตุที่ผู้ประกอบการนำระบบแฟรนไชส์ไปใช้แล้วเลิก โดยไม่มีการต่อยอดและพัฒนาให้เห็นผลอย่างจริงจังนั้น เนื่องจากผู้ประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจ และที่สำคัญคือการขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ และ ขาดบุคคลากรที่มีประสบการณ์ในระบบแฟรนไชส์อย่างแท้จริง ซึ่งต่างจากในต่างประเทศที่เมื่อมีการนำระบบแฟรนไชส์ไปใช้ขยายธุรกิจ แล้วประสบความสำเร็จ เพราะในประเทศต่างๆ มีการส่งเสริมในการสร้างบุคลากร หรือ มีการผลิตบุคคลกรที่มีความรู้ความสามารถในธุรกิจแฟรนไชส์จากสถาบันการศึกษาเข้าสู่ระบบ

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างบุคคลกรในด้านดังกล่าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้คัดเลือก มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยทีมีความพร้อมและประสบการณ์ในการพัฒนาบุคคลกรในธุรกิจแฟรนไชส์อันดับต้นๆ ของประเทศเข้ามารับหน้าที่อบรมและถ่ายทอดความรู้ให้บุคคลหรือบริษัทต่างๆ ที่ต้องการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและยกระดับความรู้ของผู้ที่ต้องการเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ ภายใต้โครงการ DBD Academy เพื่ออบรมและยกระดับผู้ประกอบการในธุรกิจแฟรนไชส์

อย่างไรก็ตามแม้จะมีการจัดตั้งโครงการ DBD Academy ขึ้นมา เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการที่ต้องการนำระบบแฟรนไชส์ไปใช้ขยายธุรกิจ โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้เล็งเห็นความสำคัญด้านบุคคลลากร ซึ่งเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่สำคัญในการผลักดันธุรกิจดังกล่าวในประเทศไทย ให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จในอนาคต ดังนั้นมหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัย ที่มีความพร้อมทางด้านวิชาการในธุรกิจดังกล่าว จึงมีการจัดตั้งหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ ในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท รวมถึงมีการเปิดศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกแฟรนไชส์สากล มานานกว่า 5 ปีแล้ว เพื่อทำหน้าที่ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ เข้าใจ และมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างเป็นทางการ

“สำหรับผู้เข้าอบรมแฟรนไชส์ในช่วงแรกๆ นั้นมีปัญหาด้านการสื่อสารกันไม่เข้าใจ ไม่แตกฉานในระบบ ดังนั้นในหลักสูตรดังกล่าว จึงมีการปรับปรุงให้หลักสูตรมีความชัดเจนตรงตามความต้องการของธุรกิจ โดยกำหนดให้มีการฝึกงานตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 เพื่อสร้างประสบการณ์ และเพื่อสร้างให้เกิดความรู้ทั้งในด้านวิชาการ และด้านการปฏิบัติงานควบคู่ไปด้วยกัน จากเดิมที่กำหนดให้มีการฝึกงานในชั้นปีที่ 4 ซึ่งเมื่อนักศึกษาเกิดความความเข้าใจงาน ทั้งในด้านปฏิบัติและด้านวิชาการแล้ว เมื่อออกไปทำงานจะไม่เกิดปัญหาด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน รวมถึงไม่เกิดปัญหาการไม่สู้งานด้วย”

จากปัญหาการ และปัจจัยข้างต้น เมื่อนำระบบแฟรนไชส์ในประเทศไปเปรียบเทียบ กับระบบแฟรนไชส์ในต่างประเทศ สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่นำระบบแฟรนไชส์ไปใช้นั้น ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบอย่างแท้จริง ต่างจากผู้ประกอบการในต่างประเทศ ที่มีทั้งความรู้ความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ และยังได้รับการสนับสนุนจากภาคการศึกษาและภาครัฐ ที่มีการผลิตบุคลากรและมีการออกกฎหมายมารองรับ ทำให้ระบบแฟรนไชส์ในต่างประเทศมีการขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งแม้ว่าเมื่อ 10  ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ แต่ก็ยังเป็นการแก้ปัญหาได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากยังขาดการสนับสนุนด้านการพัฒนาและผลิตบุคลากรเข้าสู่ตลาด ทำให้ผู้ประกอบการไทยจึงยังไม่สามารถก้าวขึ้นไปหรือพัฒนาองค์กรของตนเองขึ้นไปสูจุดสูงสุดของระบบแฟรนไชส์  คือ ระดับแอดวานซ์ 
 
สำหรับระดับของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในระบบแฟรนไชส์ นั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย
  1. ระดับเริ่มต้น คือ กลุ่มที่เข้ามารับการอบรมและนำไปใช้ในธุรกิจของตัวเอง แต่ยังไม่สามารถขยายงานออกไปได้
  2. ระดับกลาง คือระดับของกลุ่มที่รับการอบรมแล้วนำไปใช้พัฒนาธุรกิจจนสามารถขยายงาน หรือมีสมาชิกแฟรนไชส์ในระดับหนึ่ง คือ สามารถขยายสมาชิกในธุรกิจในประเทศได้เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถเรียกผู้ประกอบการนั้นได้ว่าแฟรนไชส์ซอ และระดับที่
  3. ระดับแอดวานซ์ ซึ่งสามารพัฒนาระบบแฟรนไชส์และมีสมาชิกในประเทศเติบโต จนสามารถขยายสมาชิกออกไปในต่างประเทศได้ด้วย 
อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการที่จะมีความสำเร็จในธุรกิจนี้ได้ในระบบ แอดวานซ์ หรือแม้กระทั่งผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในธุรกิจแฟรนไชส์ได้ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 5 องค์ประกอบ คือ
  1. ต้องมี “แบรนด์” หรือต้องสร้างแบรนด์เป็น
  2. มีประสบการณ์หรือองค์ความรู้ในธุรกิจของตนเอง ซึ่งเรียกว่า “โนฮาวน์” ที่จะนำไปใช้ถ่ายทอดให้สมาชิกแฟรนไชส์ได้
  3. ต้องมี “ระบบ” หรือกระบวนการทำงานหรือระบบการดำเนินธุรกิจที่ดี
  4. ต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจและระบบแฟรนไชส์
  5. ต้องมีเงินทุน
     
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
22,896
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,022
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,908
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,849
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,240
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,189
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด