บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
9.2K
3 นาที
28 ธันวาคม 2561
แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ปี 62 “Street Food” โตสวนกระแส 
 

ต้องยอมรับว่าปัจจัยทางด้านสภาวะเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว พฤติกรรมผู้บริโภค ได้ส่งกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารที่มีมูลค่ากว่า 2.4 แสนล้านบาท วูบยาวถึงกลางปีหน้า คาดว่าหลังไตรมาส 3-4 ยอดขายยังคงลดต่อเนื่อง 10-20% โดยธุรกิจอาหารไทยที่จะได้รับอานิสงส์ ก็คือ “สตรีต ฟูด-ดีลิเวอรี” หลังผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดใช้เงิน หันหาของกินราคาถูก
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2562 โดยเฉพาะธุรกิจแฟรนไชส์เกี่ยวกับร้านอาหาร ที่ถือเป็นตลาดแฟรนไชส์ที่มีส่วนแบ่งมากที่สุดในเมืองไทย และมีผู้ประกอบการเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก  

 
อ.สุภัค หมื่นนิกร ผู้ก่อตั้งสถาบันธุรกิจอาหารแฟรนไชส์ เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารเมืองไทย ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 2.4 แสนล้านบาท ในครึ่งปีหลังยังลดลงต่อเนื่องราว 10-15% จากในครึ่งปีแรกที่หดตัวลง 20-30% ซึ่งการหดตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัวตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา 
 
ส่งผลให้ผู้บริโภคเข้าร้านอาหารและเดินห้างสรรพสินค้าน้อยลง ผนวกกับจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ยอดขายของร้านอาหารในย่านท่องเที่ยวลดลง
 
แม้ธุรกิจเชนร้านอาหารและร้านอาหารขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ และกำลังซื้อที่ชะลอตัว แต่ทว่าในกลุ่มร้านอาหารริมถนน หรือ สตรีตฟูด หรือ ร้านอาหารที่มีราคาถูก กลับมีทิศทางการเติบโตที่สวนกระแสจากกลุ่มร้านขนาดใหญ่ เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารจากร้านค้าทั่วไป เข้าไปรับประทานในบ้านมากขึ้น 
 
ตลาดแฟรนไชส์ปี 2562 อาหารปิ้ง ย่างมาแรง!  
 
ภาพจาก  goo.gl/vsM4MU

ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2562 จะเดินหน้าไปได้เรื่อยๆ ธุรกิจแฟรนไชส์จะเติบโตด้วยตัวของมันเอง ถือเป็นธุรกิจที่อาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลมากนัก แบรนด์แฟรนไชส์ใดที่ขยายสาขาในต่างประเทศหรือในประเทศก็จะดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ว่าหมวดแฟรนไชส์อาหารประเภทไหนที่จะมีความพร้อมมากกว่ากัน
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ในภาพรวมปี 2562 มองว่าจะมีการเติบโตเหมือนเดิม แต่ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทไหนจะโด่งดังมากกว่ากัน เพราะที่ผ่านมาธุรกิจอาหารประเภทชาบูชาชาบูมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าเติบโตได้ดีมาก แต่ในปัจจุบันเริ่มที่จะเงียบเหงา ไม่ค่อยเติบโตหวือหวามากนัก เพราะธุรกิจอาหารประเภทนี้ไม่ได้มีนวัตกรรมใหม่ๆ ใส่เข้าไป

ภาพจาก goo.gl/NboVrn
 
ในขณะเดียวกันธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทปิ้ง ย่าง กำลังมาแรง ส่วนใหญ่จะเป็นแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ลงทุนไม่แพงมากนัก ประมาณหลักพัน หลักหมื่น แฟรนไชส์กลุ่มนี้จะเติบโตได้ดีในเมืองไทย ใครที่เข้มแข็ง ใครที่มีระบบแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐาน ก็จะได้รับความนิยมในการลงทุนจากผู้ประกอบการ และสามารถยืนหยัดอยู่ได้ยาวนาน แต่ถ้าแบรนด์ไหนอ่อนแอก็จะอยู่ไม่นาน
 
ซื้อแฟรนไชส์ไปขายต้องดู Trade Zone
 

สำหรับนักลงทุนที่จะซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจ จะต้องศึกษาให้ดีก่อนว่าจะไปขาย Trade Zone ไหนบ้าง ซึ่งจะแตกต่างจากคำว่า “ทำเล” เพราะ Trade Zone คือพื้นที่หรือย่านนั้นๆ ที่จะนำแฟรนไชส์ไปขาย หรือดำเนินธุรกิจ 
 
อ.สุภัค กล่าวว่า การขายอาหาร เราต้องการลูกค้ามาซื้อ ถ้าเราไม่รู้จักลูกค้า เราก็จะขายไม่ได้ หากถามว่าในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ร้านอาหารทุกร้านในประเทศไทยยอดขายตกทุกร้านหรือไม่ ต้องมีหลายร้านที่ยอดขายโตสวนกระแส และลูกค้าเต็มร้านตลอด และในปัจจุบันก็ยังมีคลิปออกมามากมายว่า มีลูกค้าเข้าคิวซื้ออาหารร้านนั่นร้านนี้ นานหลายชั่วโมง
 
ดังนั้น คนที่จะซื้อแฟรนไชส์ดำเนินธุรกิจ หรือไปขายนั้น จะต้องศึกษาและรู้จักลูกค้าตนเองเป็นอย่างดี โดยเฉพาะลูกค้าใน Trade Zone โดยวิธีการศึกษาผู้ประกอบการจะต้องตีรัศมีจากร้านของตัวเองออกไป เป็นการเดินทางของลูกค้า ไม่เกิน 15 นาที โดยเฉลี่ย แน่นอนว่าถ้าเป็นในเมือง เช่น สีลม อาจจะนับว่าลูกค้าเดินถึงร้านไม่เกิน 15 นาที 
 
แต่ถ้าเป็นแถวสุขุมวิท อาจแปลว่าลูกค้าขึ้นรถไฟ BTS มาถึงร้านเราไม่เกิน 15 นาที แต่ถ้าเป็นแถวพระราม 2 อาจจะแปลว่า ลูกค้าขับรถมาหาเราไม่เกิน 15 นาที ตรงนี้เรียกว่าเป็นระยะเวลาเดินทางของกลุ่มลูกค้าส่วนมาก ที่ผู้ประกอบการจะศึกษา
 
สำหรับการศึกษาจะต้องศึกษาทุกด้าน ตั้งแต่มีกี่กลุ่มลูกค้า แต่ละกลุ่มลูกค้ามีกี่คน แต่ละกลุ่มลูกค้ามีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอะไรบ้าง ใครเป็นร้านที่มีมาก่อนแล้วลูกค้าติดใจ และลูกค้าติดใจตรงส่วน ถ้าผู้ประกอบการจะชนะใจลูกค้า ต้องศึกษารายละเอียดให้ดี แต่ถ้าผู้ประกอบการสามารถเอาชนะใจลูกค้าได้ ลูกค้าก็จะบอกต่อ ได้ลูกค้าใหม่มากมาย ถือว่าคุ้มค่า 
 
แฟรนไชส์ซอร์ต้องเป็นนัก “Investment & return”
 

อ.สุภัค เล่าต่อว่า ผู้ประกอบการธุรกิจหลายรายชอบคิดว่า การทำแฟรนไชส์นั้น จะได้เงินจากแฟรนไชส์ซีมาลงทุนในการขยายสาขา จะได้ค่าขายสินค้า จะได้ค่านั่น ค่านี่ สรุปว่าถ้าผู้ประกอบการคิดแต่ว่า ตัวเองจะได้ ซึ่งกว่า 80% ของผู้ประกอบการไทยที่คิดแบบนี้ จึงทำให้ธุรกิจเสียหายมานักต่อนักแล้ว จริงๆ เจ้าของธุรกิจเองแค่คิดว่าสาขาตัวเอง กับสาขาของแฟรนไชส์ ก็มีรายละเอียดงานต่างๆ ที่ต้องทำมากมาย โดยเฉพาะการลงทุนกับคำว่า “การสร้างมาตรฐาน”
 
1.มาตรฐานสินค้า

ต้องมีตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงการผลิตถึงมือลูกค้า ต้องมีมาตรฐานสม่ำเสมอ มีการร้องเรียนที่ต่ำ และมีสินค้าใหม่ๆ มากระตุ้นตลาดที่โดนใจลูกค้าและชนะคู่แข่งอย่างสม่ำเสมอ โดยจะต้องลงทุนสร้างระบบ เขียนระบบ การอบรม ทดสอบ ปฏิบัติงานจริงๆ เก็บข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาต่อเนื่อง
 
2.มาตรฐานการให้บริการ

ไม่ใช่แค่เพียงขั้นตอนการบริการเท่านั้น ต้องเริ่มตั้งแต่การรับสมัครพนักงานว่า ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร มาเปลี่ยน Mind set รายได้สวัสดิการที่อิ่มเพียงพอ เกณฑ์การเติบโตที่มีอนาคตที่จูงใจ บรรยากาศการทำงานและสิ่งแวดล้อมที่ทำงานต้องดี ไม่มีมลพิษด้านอารมณ์ มาอบรมวัฒนธรรมการทำงาน มาตรฐานขั้นตอนการทำงาน เป็นต้น

 
3.มาตรฐานด้านความสะอาด

ต้องใช้อุปกรณ์อะไร น้ำยาอะไร วิธีทำความสะอาดที่เหมาะกับพื้นผิวต่างๆ กัน ความถี่การทำความสะอาด การอบรม การสอนงานที่หน้างาน ตารางเช็คลิสต์ต่างๆ เป็นต้น
 
4.มาตรฐานการแต่งร้าน

งานระบบน้ำไฟแอร์แก๊ส โฟลว์การทำงานต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน รวมถึงทางเดินต่างๆ ที่สะดวกกับทีมครัวและลูกค้าเดินอย่างสบายๆ
 
5.มาตรฐานการออกแบบสื่อ

และตรงเป้าหมายว่า จะเพื่อขายของหรือเพื่อเป็นภาพสวยๆ เน้นอิมเมจ อันนี้เป็นรายละเอียดที่สำคัญมากๆ เพื่อส่งเสริมด้านภาพลักษณ์และคุณค่าในธุรกิจของตัวเอง

 
6.มาตรฐานการบริหารร้านสาขา

ระบบการบริหารการจัดการร้านเป็นที่สำคัญ ทั้งแฟรนไชส์ซีและแฟรนไชส์ซอร์ต้องบริหารงานร่วมกัน ฉะนั้นระบบการบริหารร้านสาขา และเป้าหมายร้านต้องชัดเจน เพื่อผลักดันทีมงานร้าน ทั้งระดับผู้บริหารร้านและพนักงานได้บริหารร้านในแนวทางต่างๆ ที่วางไว้ เช่น เป้าหมายด้านการทำกำไร เป้าหมายด้านยอดขาย เป้าหมายการสร้างทีม เป้าหมายด้านคุมมาตรฐานร้าน เป้าหมายการร้องเรียนของลูกค้า เป็นต้น
 
ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของระบบมาตรฐานที่ทางแฟรนไชส์ซอร์ต้องลงทุน และต้องทราบด้วยว่าเมื่อตนเองลงทุนไปแล้ว เราจะได้คืนตอนที่เก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ตอนไหน อัตราเท่าไหร่ เก็บเมื่อไหร่ เพราะการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานนั้น ถ้าทำให้ดี ต้องมีหลักเกือบๆ ล้านหรือหลักเป็นล้านๆ เลยก็ได้ 
 
ขึ้นอยู่กับมาตรฐานแต่ละแฟรนไชส์ แต่ผู้ประกอบการจะได้คืนทุนในระบบมากเป็นสิบเท่าอย่างแน่นอน แค่ทำให้ลูกค้ามั่นใจว่า ไปทานที่ไหนก็เหมือนกัน คุณค่าตรงนี้ต่างหากที่เป็น Business Value ที่สำคัญยิ่งต่อธุรกิจ 
 
อ.สุภัค บอกในช่วงท้ายว่า ปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารในเมืองไทย มีความท้าทายมากกว่าในอดีต เนื่องจากจำนวนผู้ประกอบการที่เพิ่มมากขึ้น สภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการจับจ่ายใช้สอย นั่นเป็นประเด็นหลักที่ทำให้คนทานอาหารนอกบ้านน้อยลง

#ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้รวบรวมธุรกิจ #แฟรนไชส์ แยกตามหมวดหมู่ ดังนี้ (ใครสนใจแฟรนไชส์กลุ่มไหน คลิกเข้าไปเลือก เพื่อขอข้อมูลการลงทุนได้ทันที!)
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document  
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
7 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567
6,154
รวม 10 แฟรนไชส์ขายดี หน้าร้อน เป็นเจ้าของร้านได้..
856
แฟรนไชส์ธุรกิจยานยนต์ ยอดขายโต ยอดบริการโตกว่า!
528
เจาะใจ! แฟรนไชส์ซี “คาเฟ่ อเมซอน” พร้อมเทคนิคสมั..
494
จริงมั้ย? ลงทุนแฟรนไชส์ ไก่ย่าง 5 ดาว ได้ไม่คุ้ม..
487
แฉ! ทุกข์แฟรนไชส์ซี ทำไมเลิกสัญญาแฟรนไชส์ ยากกว่..
476
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด