บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.8K
3 นาที
28 กุมภาพันธ์ 2562
ข้อดี-ข้อเสีย ในการซื้อแฟรนไชส์ (ฉบับอเมริกา)
 

ยุคสมัยนี้มีผู้สนใจที่จะทำธุรกิจส่วนตัวเป็นจำนวนมาก มีหลายคนที่มีเงินลงทุน แต่ว่ายังค้นหาตัวเองไม่เจอว่าอยากจะทำอะไร  หรือว่าบางคนรู้ตัวว่าอยากจะทำธุรกิจอะไร แต่ขาดความรู้ ความชำนาญ 
 
ธุรกิจแฟรนไชส์จึงเกิดขึ้นมากมาย เพื่อแก้ปัญหาคนที่อยากทำธุรกิจแต่ไม่รู้จะทำอะไร และไม่ต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นธุรกิจ ไม่ต้องสร้างแบรนด์เอง เพียงแค่ซื้อแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงก็ขายสินค้าได้แล้ว แต่อย่าลืมว่าการซื้อแฟรนไชส์ ไม่ได้การันตีว่าคุณจะประสบความสำเร็จเสมอไป มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องนำมาพิจารณาให้ดี ก่อนซื้อแฟรนไชส์
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาผู้ที่กำลังอยากซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ไปดูข้อดี-ข้อเสียของการซื้อแฟรนไชส์ (สหรัฐอเมริกา) ว่ามีอะไรบ้าง เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังซื้อแฟรนไชส์อย่างมาก    
 
ข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์
1.ข้ามขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจ

ภาพจาก dunkinbrands.com

ส่วนที่ยากที่สุดของการเป็นผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจในช่วงเริ่ม ก็คือ คุณจะต้องเขียนแผนการดำเนินธุรกิจ ลงมือทำการวิจัยตลาด ศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของผู้คน นำเสนอสินค้าหรือบริการ ขยายขนาด และอื่นๆ กว่าจะที่สร้างแบรนด์ ทำสินค้าให้ติดตลาด ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ลองผิดลองถูก อีกทั้งเสียเงินจำนวนมากด้วย
 
แต่ถ้าเป็นการซื้อแฟรนไชส์ คุณจะข้ามขั้นตอนในส่วนนี้ ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกในการดำเนินธุรกิจให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เมื่อคุณซื้อแฟรนไชส์จะได้รับระบบต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ ที่พิสูจน์แล้วว่า หากปฏิบัติตามระบบที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนดเอาไว้ จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จไปด้วย ที่สำคัญซื้อมาแล้วขายสินค้าได้เลย คนรู้จักมาก่อน 
 
2.ได้ชื่อเสียงและแบรนด์แฟรนไชส์
 

ภาพจาก goo.gl/N5vKbn

ธุรกิจแฟรนไชส์จะมาพร้อมกับชื่อเสียง ผู้คนรู้จัก และลูกค้าให้ความไว้วางใจ ดังนั้น หากคุณซื้อแฟรนไชส์เหล่านั้นมาบริหาร คุณก็จะได้แบรนด์แฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คนรู้จักไปทั่วโลก นั่นก็เท่ากับว่า คุณซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว ก็สามารถขายได้ทันที เพราะลูกค้ารู้จักแบรนด์แฟรนไชส์ที่คุณซื้อมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น เช่น เคเอฟซี แมคโดนัลด์ ไม่ต้องทำตลาด ก็มีคนใช้บริการ
 
3.ได้รับการฝึกอบรมจากแฟรนไชส์ซอร์
 
หัวใจสำคัญที่ทำให้แฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ ก็คือ ระบบการดำเนินธุรกิจ หรือแบบจำลองการดำเนินธุรกิจแบบง่ายๆ ที่แฟรไชส์ซอร์จะถ่ายทอดให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยก่อนที่จะผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเปิดร้าน จะต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นจากเจ้าของแฟรนไชส์ ทั้งในห้องเรียนและในสถานที่ทำงานจริง แบรนด์แฟรนไชส์ดังๆ จะใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมเกือบ1 ปีก็มี

4.ได้รับการช่วยเหลือด้านการโฆษณาและการตลาด 

 
ภาพจาก goo.gl/yytNxS

แม้ว่าบางครั้งแฟรนไชส์ซีอาจจะต้องลงทุนในเรื่องทรัพยากรในการทำตลาดและโฆษณาบ้าง แต่เจ้าของแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์จะทำให้การส่งเสริมการตลาดต่างๆ ผ่านแคมเปญทั่วประเทศ ทั้งออกอากาศทางทีวี วิทยุ และสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ของคุณหรือทั่วโลกรับรู้ในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวสินค้าหรือบริการใหม่ๆ เป็นต้น 
 
5.กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์ถูกลง  
 
ข้อดีอย่างหนึ่งของธุรกิจขนาดใหญ่ที่เหนือกว่าธุรกิจขนาดเล็ก ก็คือ การเข้าถึงกำลังการซื้อที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซอร์จะจะเป็นคนซื้อสินค้าต่างๆ สินค้าคงคลัง และอุปกรณ์จำนวนมากในนามแฟรนไชส์ซี เช่น คีออส ก็ทำให้แฟรนไชส์ซีเป็นต้น กล่าวคือผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์จะได้รับสินทรัพย์หรือคีออสเหล่านั้น ในราคาที่ถูกลง เพราะกำลังซื้อจำนวนมากนั่นเอง
 
6.เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
 
ในกรณีที่คุณสนใจลงทุนแฟรนไชส์ แต่ไม่เงินทุนเพียงพอ เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก บางแบรนด์แฟรนไชส์ใช้เงินลงทุนหลักล้านบาท ยังไม่รวมค่าแฟรนไชส์แรกเข้า และอื่นๆ ปัจจุบันได้มีหลายธนาคารมีโครงการปล่อยสินเชื่อสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ อย่างในเมืองไทยก็จะมี ออมสิน กสิกรไทย ธ.ก.ส. เอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น โดยสาเหตุที่ธนาคารยอมปล่อยสินเชื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ เพราะว่าแฟรนไชส์มีตัวอย่างความสำเร็จจากสาขาต่างๆ ของแฟรนไชส์นั่นเอง  
 
ข้อเสียของการซื้อแฟรนไชส์
1.ปฏิบัติตามกฎของแฟรนไชส์ซอร์

ภาพจาก texaslandandcattle.com

เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ชอบที่จะเป็นนายของตัวเอง จะบริหารธุรกิจอย่างไรก็ได้ตามใจตัวเอง เรียกว่ามีความเป็นอิสระ แต่สำหรับธุรกิจแฟรนส์ไชส์ แม้ว่าแฟรนไชส์ซีจะมีความเป็นอิสระในการดำเนินธุรกิจ บริหารจัดการเอง แต่ส่วนใหญ่แฟรนไชส์ซีจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการทำงานที่เป็นระบบของแฟรนไชส์ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอรด้วย แม้ว่าบางครั้งแฟรนไชส์อาจมีข้อเสนอหรือข้อโต้แย้ง แต่ก็ไม่ได้การันตีว่า แฟรนไชส์ซอร์จะเห็นด้วยกับแฟรนไชส์ซีหรือไม่  
 
2.ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นสูง
 
ต้องยอมรับในสหรัฐอเมริกา การซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง จะใช้เงินลงทุนสูงมาก เพราะแฟรนไชส์เหล่านั้นมีชื่อเสียงโด่งไปทั่วโลก ซื้อไปบริหารในประเทศไหนก็ขายสินค้าได้ เรียกได้ว่าถ้าลงทุนทำธุรกิจด้วยตัวเองจะใช้เงินทุนต่ำ บางธุรกิจอาจใช้เงินเท่ากับค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ด้วยซ้ำไป
 
แต่ถ้าซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วไม่ประสบความสำเร็จ แถมใช้เงินทุนจำนวนมาก ก็อาจเกิดสภาพในธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมา แม้ว่าเรื่องการขอสินเชื่อจะทำได้ง่ายขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับประกัน และปัญหายังคงเกิดขึ้นกับผู้ซื้อแฟรนไชส์อยู่เป็นประจำ  
 
3.ต้องจ่ายค่าสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง
 
ภาพจาก www.facebook.com/PopeyesLouisianaKitchen

นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายสูงในการเริ่มต้นเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ยังจะต้องมีภาระในการจ่ายค่าสิทธิ์ในระบบแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง ทั้งค่าโรยัลตี้ฟี ค่ามาร์เก็ตติ้งฟี ที่ต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์ทุกๆ เดือน ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการต่ออายุสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งเหตุผลที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายค่าสิทธิ์ต่างๆ เพราะแฟรนไชส์ซอร์จะช่วยทำการตลาด และอื่นๆ ให้คุณ
 
4.การบริหารจัดการชื่อเสียงแบรนด์
 
แม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณซื้อมาบริหารจะประสบความสำเร็จ มียอดขายถล่มทลาย ลูกค้าเข้าใช้บริการแน่นร้าน เป็นที่ขื่นชอบมากเพียงใด แต่อย่าลืมว่าธุรกิจของคุณยังเชื่อมโยงกับแฟรนไชส์ซีสาขาอื่นๆ ทั่วโลก เพราะถ้าหากสาขาแฟรนไชส์อีกประเทศหนึ่งทำเสียชื่อเสียง หรอสาขาแฟรนไชส์ใกล้เคียงคุณบริหารลูกค้าไม่ดี ไม่ควบคุมมาตรฐานสินค้า เช่น มีหนู มีแมงสาบในร้าน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ร้านของคุณ แต่คุณใช้แบรนด์แฟรนไชส์เดียวกัน สุดท้ายธุรกิจของคุณจะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน 
 
5.ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์
 
ภาพจาก www.facebook.com/BrozinnisPizzeria

เมื่อคุณตกลงหรือตัดสินใจที่จะซื้อแฟรนไชส์แบรนด์นั้นแล้ว กระทั่งมีการเซ็นสัญญาแฟรนไชส์เกิดขึ้นแล้ว คุณจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่แฟรนไชส์ซอร์ได้ระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ตลอดจนครบอายุสัญญา เช่น ข้อตกลงเรื่องการเปิดเผยข้อมูลแฟรนไชส์ ว่าแฟรนไชส์ซีจะทำได้หรือไม่สามารถทำได้ หรือต้องซื้อวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์เท่านั้น เพื่อควบคุมมาตรฐานเอาไว้ 
 
แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งคุณไปซื้อวัตถุดิบจากร้านขายของข้างบ้าน สุดท้ายสินค้าไม่ได้คุณภาพ สร้างความเสียหายให้ลูกค้า ตรงนี้ถ้าแฟรนไชส์ซอร์จะสามารถยกเลิกสัญญากับคุณได้ หรืออาจถึงต้องแจ้งความ ฟ้องร้องคุณ จนถึงขั้นปิดกิจการไปเลย 
 
ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องพิจารณาในหลายๆ ประการ ว่าข้อดี-ข้อเสียมีอะไรบ้าง คุ้มหรือไม่คุ้มกับเงินลงทุน จะปฏิบัติตามกฎของระบบแฟรนไชส์ได้หรือไม่ได้ แต่ถ้าคุณรักและหลงใหลในธุรกิจแฟรนไชส์ คุณจะต้องยอมรับและใช้ชีวิตกับข้อเสีย รวมถึงรู้จักใช้ประโยชน์จากข้อดีอย่างเต็มที่ ก่อนที่จะซื้อแฟรนไชส์  

#ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้รวบรวมธุรกิจ #แฟรนไชส์ แยกตามหมวดหมู่ ดังนี้ (ใครสนใจแฟรนไชส์กลุ่มไหน คลิกเข้าไปเลือก เพื่อขอข้อมูลการลงทุนได้ทันที!)
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: 
@thaifranchise

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document 
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 

Franchise Tips
ข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์
  1. ข้ามขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจ
  2. ได้ชื่อเสียงและแบรนด์แฟรนไชส์
  3. ได้รับการฝึกอบรมจากแฟรนไชส์ซอร์
  4. ได้รับการช่วยเหลือด้านการโฆษณาและการตลาด 
  5. กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์ถูกลง  
  6. เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
ข้อเสียของการซื้อแฟรนไชส์
  1. ปฏิบัติตามกฎของแฟรนไชส์ซอร์
  2. ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นสูง
  3. ต้องจ่ายค่าสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง
  4. การบริหารจัดการชื่อเสียงแบรนด์
  5. ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์
 
อ้างอิงข้อมูล
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,467
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,575
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,270
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,900
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,241
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด