บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม
3.1K
2 นาที
15 พฤษภาคม 2555
“เครื่องมือทุ่นทักษะ” สำหรับ SME
 
หากจะให้กล่าวถึงปัจจัยที่มีผลกระทบในทางลบที่จะเกิดขึ้นกับ SMEs ในสภาวการณ์ปัจจุบันแล้วคงจะหนีไม่พ้น ปัจจัยเรื่องการเพิ่มของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้  เงินเฟ้อ และ ค่าแรงขั้นต่ำ โดยทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น อันเนื่องมากจากสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในซีกโลกตะวันตก ทั้งในสหรัฐอเมริกา และ ยุโรปเอง ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะยืดเยื้อขนาดไหน แต่อย่างไรก็ดีก็คงส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการในประเทศไทยไม่มากก็น้อยโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
 
แต่สิ่งที่หนีไม่พ้นเลยก็คือต้นทุนของกิจการในประเทศจะต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน อันสืบเนื่องมาจาก 3 ปัจจัยข้างต้น โดยสำหรับค่าแรงนั้นดูเหมือนจะมีผลกระทบกับ SMEs มากกว่าธุรกิจในกลุ่มอื่น เนื่องจากต้นทุนของ SMEs ประมาณ 30 – 50% เป็นต้นทุนแรงงาน ดังนั้นการปรับขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ จะมีผลกระทบโดยตรงกับโครงสร้างต้นทุนของ SMEs ค่อนข้างมาก (ซึ่งส่วนมากอาศัยแรงงานราคาถูกเป็นหลัก) ดังนั้นผู้ประกอบการควรจะต้องปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อที่จะรองรับผลกระทบที่จะเกิดจากต้นทุนที่เพิ่มขี้นนี้  กล่าวคือ ด้วยจำนวนแรงงานเท่าเดิม ผลิตภาพของแรงงาน หรือ Productivity ของแรงงานจะต้องเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ไม่น้อยกว่าต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น เช่น หากต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้น 30% จากการปรับอัตราขั้นต่ำ

ผลิตภาพของแรงงานที่เรามีอยู่ก็ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30% เช่นกัน คือ หากแรงงาน 1 คน สามารถผลิตสินค้าได้ 10 ชิ้นต่อวัน เท่ากับว่า จะต้องเพิ่มปริมาณสินค้าที่ผลิตได้ในแต่ละวัน อย่างน้อย 3 ชิ้น เพื่อให้สามารถคงราคาขายเท่าเดิม หรือ มีกำไรต่อชิ้นเท่าเดิม แต่หากทำได้น้อยกว่า ผู้ประกอบการต้องรับกำไรที่น้อยลง หรือ พิจารณาปรับราคาสินค้า (ซึ่งอย่างหลังทำได้ค่อนข้างยาก และมีธุรกิจเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถปรับราคาได้ตามต้นทุน) ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าทางออกของ SMEs มีอยู่อย่างเดียวเท่านั้น คือ จะเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน ได้อย่างไร
 
ยิ่งไปกว่านั้น จากการที่ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการในช่วงที่ผ่านมา อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ การขาดแคลนแรงงานฝีมือ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ ก็จะทำให้ในภาคอุตสาหกรรมประสบกับปัญหาด้านแรงงานถึง 2 ต่อ คือ 1.ยากที่จะหาแรงงาน และ 2.หากหาได้ก็ต้องมีต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการ SMEs ไทย หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับกระบวนการทำงาน และระบบการทำงานของกิจการตนเองเพื่อเพิ่มผลิตภาพของแรงงานของตน
 
ในการปรับเปลี่ยนการทำงานของ SMEs เพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มต้นทุนแรงงานนั้น ผมอยากฝากเป็นแนวคิดไว้อย่างนี้ครับ คือ จะปรับเปลี่ยนระบบการทำงานอย่างไรก็ตาม ระบบการทำงานนั้นจะต้องเอื้อให้คนที่มีความสามารถในระดับปานกลางสามารถทำงานได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากไม่ว่าจะในงานใด ๆ ก็ตาม เรามักจะได้คนทำงานส่วนใหญ่ที่มีความสามารถระดับปานกลาง โดยมีคนกลุ่มประมาณ 10-15% ที่มีความสามารถที่โดดเด่นเหนือเกณฑ์เฉลี่ย และ อีกประมาณ 10-15% ที่มีความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ดังนั้นระบบการทำงานไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามจะต้องเอื้อให้คนในองค์กรอย่างน้อย 70–80% สามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายของกิจการ หรือ สูงกว่า เป้าหมาย
 
แนวคิดในการจัดการทรัพยากรบุคคลในปัจจุบัน มักจะเน้นเรื่องการบริหารจัดการคนที่มีความสามารถโดดเด่น หรือ Talent แต่ผมอยากจะให้ท่านผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการคนที่มีความสามารถในเกณฑ์เฉลี่ยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากว่า เป็นการยากมากที่องค์กรใดจะมีแต่คนเก่ง หรือหากมีก็จะทำให้ต้นทุนแรงงานนั้นสูงลิ่ว (ซึ่งอาจจะเหมาะกับธุรกิจเฉพาะบางอย่างเท่านั้น) แต่โดยทั่วไปคนกลุ่มใหญ่ของพนักงานจะเป็นคนที่มีความสามารถอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ดังนั้น

ระบบการทำงานที่ดี จึงจะต้องเป็นระบบการทำงานที่เอื้อให้คนโดยส่วนใหญ่ของบริษัทสามารถทำงานบรรลุตามเป้าหมายได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ท่านผู้ประกอบการคงต้องขบคิดแล้วว่าระบบการทำงานอย่างไรจึงจะเหมาะกับกิจการของท่าน ซึ่งการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานนั้นมีได้ตั้งแต่ การหาเทคโนโลยีใหม่ การหา “เครื่องมือทุ่นทักษะ” เพื่อช่วยให้ทำงานได้คล่องขึ้น ตลอดจนระบบการให้ผลตอบแทนให้สอดคล้องกับลักษณะงาน
 
สำหรับผม “เครื่องมือทุ่นทักษะ” เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก หากผู้ประกอบการท่านใดสามารถคิดค้นได้ จะทำให้ประหยัดต้นทุนแรงงานได้อย่างมาก กล่าวคือ งานอย่างเดียวกัน คู่แข่งต้องจ่ายค่าแรงเพิ่ม เพื่อให้ได้ทักษะนั้นมา แต่กิจการของท่านมี “เครื่องมือทุ่นทักษะ” นี้ ท่านก็ไม่ต้องจ่ายค่าแรงพิเศษนี้  เพื่อที่จะได้เห็นภาพมากขึ้น ครั้งหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังถึงวิธีการหา “ เครื่องมือทุ่นทักษะ” ที่ว่านี้ในมุมต่างๆ....แล้วพบกันครับ

อ้างอิงจาก  ปพนธ์ มังคละธนะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด