บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
2.2K
2 นาที
14 มีนาคม 2562
ข้อสังเกตธุรกิจที่ใช่หรือไม่ใช่แฟรนไชส์
 

จากที่สังเกตโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตลอดจนบนเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต จะพบว่ามีธุรกิจจำนวนมากมายที่โฆษณาว่าสินค้าหรือบริการของตนเอง เป็นธุรกิจในระบบแฟรนไชส์  และเป็นการขายแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ซื้อ โดยที่คงมีผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยที่ฟังว่าเป็นการซื้อแฟรนไชส์แล้ว

ดูเหมือนจะมีความมั่นใจมากกว่าการซื้อสินค้าหรือสิทธิ์ให้ยืมใช้เครื่องหมายทางการค้าตามปกติ  และไม่เข้าใจว่าข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจแฟรนไชส์กับธุรกิจทั่วๆไปว่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก

 
ความแตกต่างที่สำคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบก็คือ ธุรกิจที่เป็นธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริงนั้น ผู้ขายแฟรนไชส์จะต้องมีความตั้งใจที่จะให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประกอบธุรกิจไม่ใช่เพียงแต่ภายใต้ชื่อเครื่องหมายทางการค้าหรือตรายี่ห้อสินค้า/บริการเดียวกันเท่านั้น ยังจะต้องมีความตั้งใจที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่คอยดูแลช่วยเหลือผู้ลงทุนตลอดไป

ทั้งนี้เพื่อควบคุมดูแลให้เกิดมาตรฐานของสินค้าหรือบริการเดียวกันตลอดไป ตลอดจนคอยช่วยเหลือเพื่อให้ธุรกิจสามารถยืนอยู่ได้ และมีผลกำไรในการดำเนินงานในระยะยาว


มิใช่เพียงแค่เป็นการขายสินค้า ขายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ หรือแม้กระทั่งขายเครื่องหมายการค้าหรือตรายี่ห้อ เพื่อมาเป็นรายได้ของตนเองเท่านั้น  ซึ่งในลักษณะนี้ถึงแม้ยังไม่ใช่การหลอกลวง  แต่ก็เป็นเพียงการแอบอ้างเพื่อให้สามารถขายสินค้าหรือขายสิทธิ์เพื่อเป็นรายได้ของตนเฉพาะหน้าเท่านั้น เมื่อปิดการขายได้แล้ว  ผู้ขายจึงไม่จำเป็นจะต้องให้บริการหรือเข้าไปควบคุมดูแลช่วยเหลือผู้ซื้อก็ได้ 

นอกจากจะไปเจอกับผู้ขายที่เป็นผู้ประกอบการที่ดีมีคุณธรรมเท่านั้น  ที่จะคอยดูแลผู้ซื้อในระยะยาว ดังนั้น ในการพิจารณาโฆษณาว่าสินค้าหรือบริการใดจะเป็นการขายแฟรนไชส์จริงหรือไม่ ก็สามารถพิจารณาเบื้องต้นจากลักษณะสำคัญ 5 ประการของธุรกิจแฟรนไชส์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าผู้ขายแฟรนไชส์ทุกรายจะมีคุณธรรม มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และสร้างกำไรและความสำเร็จให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้อย่างแน่นอน ในการพิจารณาลงทุนนั้น ผู้ลงทุนจะสามารถศึกษาได้จากตอนต่อๆไป ของหนังสือเล่มนี้

 
ข้อน่าสังเกตว่า ธุรกิจที่ไม่มีการคิดค่ารอยัลตี้ฟี ทั้งหมดก็ว่าได้น่าจะมิใช่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นผู้ขายแฟรนไชส์ (หรือ Franchisor)  เหตุเพราะ

1.เป็นไปไม่ได้ที่แฟรนไชส์ซอร์ จะมาคอยแนะนำช่วยเหลือ สนับสนุน

ตลอดจนกำกับดูแลการดำเนินงานของแฟรนไชส์ซีตลอดไปภายใต้ช่วงระยะเวลาที่มากกว่าหนึ่งปี โดยมิได้มีผลตอบแทนเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินงาน  เพราะจะต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
2.ในธุรกิจแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซอร์ย่อมต้องการรู้ถึงผลการดำเนินงานและปัญหาของผู้ลงทุนหรือแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น หนทางที่จะทำให้รับรู้ผลการดำเนินงานตลอดจนปัญหาทางหนึ่ง ก็คือต้องได้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน  โดยจะรับรู้ได้ผ่านค่ารอยัลตี้ฟี ซึ่งจะคิดตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกับแฟรนไชส์ซีไว้ ถ้ามิฉะนั้นแล้ว แทบจะไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะเข้ามารับรู้ถึงผลการดำเนินงานที่แท้จริงของแฟรนไชส์ซี หลังจากเข้าร่วมธุรกิจกันแล้ว

 
ดังนั้น ธุรกิจจำนวนมากที่อ้างว่าเป็นการขายแฟรนไชส์  ไม่ว่าธุรกิจขายตรง ที่มีระบบการสร้างและขยายเครือข่ายในการขายจำนวนมาก ก็ไม่น่าจะเข้าข่ายธุรกิจแฟรนไชส์  เพราะดูเผินๆ แล้วจะมีลักษณะเข้าข่ายทั้งห้าข้อ  แต่ความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่ได้มีการคิดรอยัลตี้ฟีจากลูกทีม (ที่มีการได้คอมมิชชั่นจากยอดขายของลูกทีม  ก็เป็นการได้รับจากบริษัทแม่) หรือธุรกิจเครื่องขายน้ำดื่มอัตโนมัติ ที่ใช้ตรายี่ห้อเดียวกัน ก็ขาดคุณสมบัติด้วยเหตุผลเดียวกัน 

ธุรกิจเหล่านี้จำนวนมาก มุ่งเน้นที่การขายสินค้าให้ได้เรื่อยๆ  มากกว่า โดยที่ผู้ลงทุนอาจเข้าใจผิดไปเองว่าเป็นการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งหากลงทุนแล้วคุ้มค่ามีกำไร  ก็จะไม่เป็นปัญหา แต่หากขาดทุนหรือเกิดข้อขัดแย้งในการทำธุรกิจภายหลัง ก็จะกลายเป็นว่าผู้ลงทุนเข้าใจผิดว่าธุรกิจแฟรนไชส์นั้นไม่ดี ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ธุรกิจเหล่านั้นก็ไม่ใช่ธุรกิจแฟรนไชน์ และธุรกิจแฟรนไชส์ก็ยังมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หรือมีแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซีที่ไม่มีคุณภาพ จนทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในหนังสือนี้

 
มีข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งว่า ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจำนวนไม่น้อย ที่มีสินค้าหรือบริการเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในวงกว้าง จำนวนมากที่เลือกขยายธุรกิจด้วยตนเอง ทั้งด้วยเงินลงทุนของบริษัท หรือด้วยการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์เพื่อไปขยายกิจการของตนเอง โดยไม่เลือกวิธีขยายธุรกิจโดยระบบแฟรนไชส์ ก็เป็นไปได้ที่เจ้าของธุรกิจอยากจะรักษากำไรของตนเองไว้ (เพราะถ้าให้แฟรนไชส์ซีมาช่วยขยายธุรกิจก็ต้องแบ่งกำไรบางส่วนออกไป) 


หรืออาจเพราะยังไม่เห็นประโยชน์ของระบบแฟรนไชส์ หรืออาจจะเห็นข้อด้อยของการขายธุรกิจผ่านระบบแฟรนไชส์  ก็เป็นไปได้ในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งก็จะได้ศึกษาต่อไปจากตอนท้ายๆ ของหนังสือนี้เช่นกัน


 
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,065
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,514
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,637
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,584
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
839
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด