บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.7K
3 นาที
15 มีนาคม 2562
ประวัติการก่อกำเนิดธุรกิจแฟรนไชส์
 

ภาพจาก goo.gl/h4mRdS

หลายต่อหลายท่าน อาจจะคิดว่า เรย์ คอกซ์ แห่งแมคโดนัลด์ เป็นบิดาของระบบแฟรนไชส์ แต่แท้ที่จริงแล้ว รูปแบบของแฟรนไชส์ได้เริ่มมาก่อนหน้านี้ โดยเริ่มมาจากบริษัท ทำรางรถไฟ และบริษัทสาธารณูปโภค ที่พยายามหาทางเร่งการเติบโตของบริษัทฯ โดยการขายสิทธิ์ที่ได้รับสัมปทาน รวมทั้งขายชื่อของกิจการ และขายระบบการทำงานของตัวเองให้ผู้อื่น ด้วยวิธีนี้เอง เกิดผลดีเกินคาด หน่วยงานแห่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันนี้ ขยายตัวอย่างรวดเร็วจากเมืองหนึ่งสู่อีกเมือง
 
อย่างไรก็ตาม ระบบแฟรนไชส์เริ่มมีเค้าโครงที่ชัดเจนขึ้นมาระดับหนึ่ง โดยบริษัท ขายจักร ซิงเกอร์ ในปี 1850 ซิงเกอร์นั้นเป็นผู้ให้ความรู้ระบบการค้าปลีกแก้ร้านลูกข่ายเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นต้นแบบเสมือนเป็นแฟรนไชซอร์ ซิงเกอร์นั้นใช้วิธีสร้างเครือข่ายการขายปลีกด้วยระบบพนักงาน และการเป็นดีลเลอร์ ซึ่งกลุ่มที่เป็นเครือข่ายเหล่านี้ จะต้องจ่ายค่าสิทธิ์ในการเป็นผู้จัดจำหน่าย ในระดับภูมิภาค

และถึงแม้ว่าการจัดการในระบบของซิงเกอร์จะไม่สมบูรณ์ และไม่ประสบความสำเร็จนักหลังจาก 10 ปี การดำเนินงานรูปแบบนี้ขาดความต่อเนื่อง แต่ก็นับได้ว่า ซิงเกอร์ คือผู้หว่านเมล็ดพันธ์ของระบบแฟรนไชส์ให้กับ ผู้สร้างระบบแฟรนไชส์ใหม่ ในอนาคตได้นำวิธีต้นแบบนี้ไปใช้ จนกลายเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกในที่สุด


ภาพจาก goo.gl/S76Y6H
 
อุตสาหกรรมรถยนต์ ปั๊มน้ำมัน และผู้ผลิตเครื่องดื่ม คือ เป็ปซี่และโคคา โคล่า คือผู้ที่จูนระบบของแฟรนไชส์มาปรับใช้ในช่วงระหว่างท้ายของ ทศวรรษที่ 1800 จนถึงต้นศตวรรษที่ 19 อันเนื่องมาจาก การขาดแคลนช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าของ พวกเขา บริษัทฯเหล่านี้ไม่มีเงินทุนมากพอ ที่จะซื้อทรัพย์สิน สร้างโรงงาน หรือลงทุนเปิดร้านค้าจำนวนมาก เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า หรือลงทุนจ้างผู้จัดการเสมียน และพนักงาน อย่างเช่นในกรณีของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ระบบการขนส่งทางไกลนั้น ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่ายเกินไป

ดังนั้น แทนที่จะส่งสินค้าไปสต๊อกไว้ ก็เกิดการใช้วิธีขายแฟรนไชส์ให้ใครก็ตามที่จะสามารถรับผิดชอบ การดำเนินงาน รวมทั้งสามารถคิดวิธีการ การกระจายสินค้าได้  วิธีการขยายธุรกิจปั้มน้ำมัน และเครื่องดื่มบรรจุขวดที่เรียกว่า "Product Franchise" ที่ให้สิทธิ์การผลิต และตราสินค้าเพียงรายเดียว ในการขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในอาณาเขตที่ระบุ

ซึ่งวิธีนี้ได้รับความสำเร็จมากจนทำให้บรรยากาศของระบบแฟรนไชส์โดดเด่นขึ้น แต่วิธีการให้สิทธิตัวผลิตภัณฑ์ (Product Franchise) นี้ ก็เริ่มเสื่อมถอยลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการเติบโตของระบบแฟรนไชส์ได้เข้ามาแทนที่ ที่เรียกกันว่า "Business Format Franchise หรือแฟรนไชส์เต็มรูปแบบ
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ร้านค้าปลีกก็ค่อยๆ ยกระดับธุรกิจจากการพัฒนาตัวสินค้า เข้ามาพัฒนาด้านบริการ เมื่อคนชั้นกลางของอเมริกามีการเคลื่อน ย้ายถิ่นฐานสู่ชานเมืองกันมากขึ้น การซื้อของในรูปแบบขับรถเข้าไปซื้อ (Drive-in) อย่างรีบด่วน และนำออกไปทานนอกร้านเป็นรูปแบบที่มีมากขึ้น

ภาพจาก goo.gl/t3kfau

ซึ่งสาขาที่หน้าตาเหมือนๆกันนั้น เป็นร้านที่เปิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆที่เรียกว่า Mini-Chains กิจการในรูปแบบนี้ยุคนั้น ก็คือ A&W และเทสตี้ ฟรีซ (Tastee Freeze) ที่กลายเป็นที่นิยมกันข้ามประเทศ ซึ่งเป็นจุดต่อของรูปแบบแฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบ (Format Franchising) ในยุค ค.ศ.1950 เชื่อมมาสู่อีกยุคหนึ่งโดย แมคโดนัลด์, เบอร์เกอร์คิงส์, ดังกิ้นโดนัท, เคเอฟซี และ ฟาสท์ฟู้ด เกิดแฟรนไชส์ระดับชาติในช่วงเวลา ดังกล่าว ระบบแฟรนไชส์ได้ผ่านช่วงของความยากลำบาก แต่ก็เป็นการปฏิวัติที่สำคัญยิ่ง
 
การให้การอนุญาตอย่างง่ายในการให้สิทธิการกระจายสินค้า (Distribute) หรือให้สิทธิในการขายสินค้า ได้ถูกแทนที่ด้วยการเติบโตของฟาสท์ฟู้ดในระบบแฟรนไชส์ ต่อมาขยายไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่อาหาร เช่น โรงแรมฮอลิเดย์อินน์, Midas Mufflers ธุรกิจบริการเกี่ยวกับรถยนต์ และ H&R Block ธุรกิจบริการเกี่ยวกับการเสียภาษี ที่แสดง ที่แสดงความแตกต่างจากแฟรนไชส์ในรูปแบบเก่า ที่แฟรนไชส์ซอร์ได้ ขายสิทธิ์ที่ประยุกต์สู่การขายทั้งคอนเซปท์ธุรกิจ ที่ให้สิทธิตั้งแต่รูปแบบ สัญลักษณ์ โลโก้ การโฆษณา รูปแบบเอกสารต่างๆ (เช่น เอกสารบัญชี) รูปแบบการแต่งกาย

ซึ่งผู้ที่ได้รับสิทธิ์ส่วนใหญ่ จะไม่มีความรู้ทางธุรกิจด้านนั้นๆมาก่อนเลย และถึงแม้ว่าแฟรนไชส์ซอร์บางรายจะยังคงต้องการให้ แฟรนไชส์ซี ซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง จากบริษัทฯแม่ก็ตาม แต่รายได้หลักของแฟรนไชส์ซอร์รุ่นใหม่เหล่านั้น จะมาจากการขายระบบธุรกิจ ทั้งคอนเซ็ปท์ที่พวกเขาได้พิสูจน์ความสำเร็จมาแล้ว


ภาพจาก goo.gl/h4mRdS
 
บรรยากาศแฟรนไชส์ได้ถูกเติมพลังอย่างรวดเร็วเมื่อ เรย์ คร็อก ได้นำแมคโดนัลด์เข้ามาในกลางปี 1950 โดยการสังเกตรูปแบบฟาสท์ฟู้ดแฟรนไชส์ ในระหว่างที่เขาเดินทางไปยังเมืองต่างๆ ในช่วงที่เขาเป็นเซลล์แมน คร็อกนั้นได้เข้าถึงระบบแฟรนไชส์ และมองเห็นจุดอ่อน และจุดแข็งของระบบนี้ เขาใช้มันมาทำการสร้างแมคโดนัลด์ จากการใช้แฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบ (Business Format Franchise) นี้เอง เขาประสบความสำเร็จอย่างสูง ในการสร้างธุรกิจเล็กๆให้เป็นธุรกิจขนาดมหึมาที่หลุดจากการเป็นเพียงภัตตาคาร แฮมเบอร์เกอร์ คร็อกนั้นคือผู้ที่มีผลกระทบต่อการตื่นตัวที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ผู้คน และบริษัทฯทั้งหลาย ได้คิดถึงการขยายธุรกิจด้วยวิธีแบบเขา
 
ในขณะที่มหาชนได้เห็น และยอมรับว่า เรย์ คร็อก คือราชาแห่งแฮมเบอร์เกอร์ และเป็น แฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ธรรมดาเลยเหนือสิ่งอื่นใด เรย์ คร็อก ไม่ใช่คนที่ประดิษฐ์ แฮมเบอร์เกอร์ แมคโดนัลด์ (เจ้าของที่คิดสูตรอาหาร เป็น 2 พี่น้องตระกูล แมคโดนัลด์) เขาไม่ใช่คนสร้างร้านฟ้าสท์ฟู้ด ไม่ใช่ผู้คิดระบบแฟรนไชส์ แต่เขาคือผู้ที่ทำให้มันดีขึ้น สู่การยกระดับที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อนแล้วหลังจากนั้น
 

ภาพจาก goo.gl/S76Y6H

เขาก็ขายมันทั้งคอนเซ็ปท์ จากร้านแฮมเบอร์เกอร์ 1 แห่ง ที่ตั้งอยู่กับที่ สู่ที่เรียกกันว่า แฟรนไชส์ซี่ และเกิดขึ้นตลอดทั่วทั้งอเมริกา คร็อกคือผู้ประยุกต์ระบบแฟรนไชส์ เขาเปรียบเสมือนนักปฏิวัติ ผู้ยิ่งใหญ่ของอเมริกาก่อนหน้านี้ก็คือ เฮนรี่ ฟอร์ด ผู้ที่ประยุกต์การผลิตรถยนต์ อันเป็นสาเหตุเดียวกันที่บุคคลทั้ง 2 กลายเป็นผู้ที่ถูกล่าวขานถึงความสำเร็จ ที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อโครงสร้าง เศรษฐกิจของอเมริกา
 
สัญญาณการบูมสุดขีดของแฟรนไชส์มาถึง เมื่อช่วงเดือนเมษายน วันที่ 15 ปี 1965 ที่แมคโดนัลด์ ได้เข้าไประดมทุนในตลาดหุ้นครั้งแรก ซึ่งราคาหุ้นของแมคโดนัลด์ขึ้น อย่างพรวดพราด อย่างน้อยที่สุดก็เพิ่มเป็น 2 เท่าตัวในทุกๆเดือนทีเดียว และก็เป็นอย่างนั้นไปอย่างต่อเนื่อง และในไม่ช้า ก็มีหุ้นแฟรนไชส์ของโรงแรมฮอลิเดย์อินน์, เคเอฟซี และแฟรนไชส์อื่นๆ เข้ามาขายในตลาดหลักทรัพย์อีก

ระบบแฟรนไชส์นำร่องโดย กลุ่มฟาสท์ฟู้ด และได้ฝังรากลึกลงไปในวิถีชีวิตของคนอเมริกัน หลังจากนั้นมีแฟรนไชส์ใหม่กระโดดเข้ามา แต่ก็บ่อยครั้งที่ต้อง ตายลงไปในช่วงเวลาเพียง ข้ามคืน แต่ก็มีแฟรนไชส์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จ ในหมวดของธุรกิจบริการด้านสุขภาพ อาหารใหม่ๆ เช่น พิซซ่าฮัท และอาหารเม็กซิกัน เป็นต้น


ภาพจาก goo.gl/h4mRdS
 
แต่เส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ท่ามกลางการขยายสาขาอย่างแข็งแกร่ง และรวดเร็วช่วงท้ายศตวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 การได้เปรียบของระบบแฟรนไชส์ ย่อมไม่เกิดในการบริหารที่ผิดพลาด อย่างเช่น เบอร์เกอร์เชฟ ที่มีตัวเลขขยายตัวอย่างรวดเร็วตามมาติดๆกันกับแมคโดนัลด์ แต่ในที่สุดบริษัทนี้ ไม่เพียงแต่ต้องดึงแผนการขยายตัวเองไว้ก่อนเท่านั้น แต่เขายังเริ่มสูญเสีย แฟรนไชส์ไปเรื่อยๆ ในเวลาเดียวกัน

บริษัทแม่ก็ไม่ต้องการขาดทุน และสูญเสียสาขาหนักลงไปอีก ฉะนั้น กลางๆ ทศวรรษที่ 1970 เบอร์เกอร์เชฟ ก็ลดสาขาลงเหลือน้อยกว่า 300 สาขา จากที่เคยมีถึง 1,200 สาขา และยังมีแฟรนไชส์รายอื่นๆ ที่เข้ารูปรอยเดียวกัน อันเกิดจากความละโมบในการดำเนินธุรกิจ 
 
การบูมของแฟรนไชส์ยังคงต่อเนื่อง มาอีกทศวรรษ ต่อมาคือทศวรรษที่ 1980 ธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมในกลุ่มที่แตกต่างไปจากเดิม ที่มีตั้งแต่ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง, ตัวแทนจัดหางาน, บริการที่เกี่ยวกับรถยนต์, รถเช่า, อาหารนานาชาติ ส่วนแฟรนไชส์ที่ขายบริการ เช่น งานพิมพ์, จัดจ้างพนักงานชั่วคราว รวมไปถึงร้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งงานให้บริการเหล่านี้ ได้รับความนิยมมากในเมือง และชานเมือง และเริ่มขยายตัวอย่างเข้มข้น สู่มหานครใหญ่ๆทั่วโลก
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,010
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,489
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,634
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,573
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด