บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.0K
2 นาที
18 มีนาคม 2562
ต้นกำเนิดธุรกิจแฟรนไชส์ บนโลกใบนี้!


ถ้าจะมองธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่มีการริเริ่มมากกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 โดยธุรกิจที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์  คือไปซื้อสิทธิ์จากแฟรนไชส์ซอร์ในต่างประเทศมาขยายธุรกิจในไทย 

อาทิเช่น ฟาสฟู้ดส์ประเภทต่างๆ สถาบันสอนภาษาหรือเสริมความงาม มินิมาร์ท ฯลฯ ที่ค่อนข้างจะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แต่ก็ต้องยอมรับว่าระบบแฟรนไชส์ของคนไทยเองกลับมีการเติบโตช้า ธุรกิจแรกๆ ที่พยายามผลักดันการขยายงานโดยใช้รูปแบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจด้านอาหารและร้านค้าแบบมินิมาร์ทเช่นกัน 
 
 

แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องของทั้งแฟรนไชส์ซอร์ที่เป็น เจ้าของสิทธิและแฟรนไชส์ซีที่เข้ามาซื้อสิทธิ ที่มักจะพบว่าแฟรนไชส์ซีทำตัวเป็นผู้ลงทุน ที่เน้นทำธุรกิจแบบซื้อเพื่อการลงทุน ไม่มีการมองถึงการสร้างธุรกิจของตนเอง บางครั้งยังใช้การบริหารแบบเก่าที่เน้นความเป็นระบบครอบครัว ทำให้อัตราความล้มเหลวธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น 
 
การขยายตัวของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยเพิ่งมีอย่างมากในสิบปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยจำนวนมากที่เลือกวิธีการเปิดกิจการด้วยการซื้อแฟรนไชส์ แทนการคิดค้นทำธุรกิจด้วยตนเอง เนื่องด้วยเป็นทางลัดที่คิดว่าจะทำให้ประสบความสำเร็จได้โดยง่ายและรวดเร็ว ประกอบกับธุรกิจของไทยเองก็เร่งขยายสาขาด้วยการขายแฟรนไชส์ไปในแทบจะทุกวงการธุรกิจ 

ไม่ว่าธุรกิจด้านอาหาร บันเทิง โรงเรียนหรือสถาบันสอนภาษา บริการต่างๆ ฯลฯ ทำให้จำนวนของธุรกิจที่อยู่ในระบบแฟรนไชส์ของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องและกว้างขวางไปสู่ธุรกิจหลากหลายประเภท โดยเฉพาะธุรกิจด้านอาหารจะมีจำนวนมากและอัตราการขยายตัวสูงที่สุด 

ตัวอย่างเช่น  ธุรกิจร้านหรือเคาน์เตอร์กาแฟ  ที่มีอยู่มากมายและมีผู้ประกอบการจำนวนมากลงสู่สนามแข่งขันนี้ในระบบแฟรนไชส์ จนมีคนบางคนกล่าวประชดว่า หากไม่รู้จะทำธุรกิจอะไร  ก็ซื้อแฟรนไชส์เปิดร้านขายกาแฟ

ภาพจาก goo.gl/Hkxjwp 
 
กล่าวกันว่าการขยายตัวของระบบแฟรนไชส์จนเป็นที่รู้จักในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ด้วยกัน 
 
ระยะแรก คือ ช่วงเพาะเมล็ดพันธ์

เป็นช่วงเวลาที่แฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกซึ่งเป็นที่รู้จัก เช่น Pizza Hut KFC และ McDonalds เข้าไปเริ่มต้นขยายกิจการในประเทศนั้นๆ ด้วยรูปแบบที่ทันสมัยและความเป็นมาตรฐานของแฟรนไชส์เหล่านี้ทำให้กลายเป็นที่สนใจของผู้คนในสังคมที่กิจการขยายไปถึง เปรียบเสมือนเป็นการเพาะเมล็ดพันธ์ของแฟรนไชส์ลงในสังคมนั้น ระยะแรกนี้เกิดขึ้นเมื่อ 20-25 ปีที่ผ่านมาเมื่อแฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่ที่เอ่ยถึงข้างต้นได้เข้ามาในประเทศไทยเรา


ภาพจาก  goo.gl/rNmx49 
 
ระยะที่สอง คือ ช่วงการยอมรับ

เป็นช่วงเวลาที่บริษัทธุรกิจยักษ์ใหญ่ในประเทศ นำกลยุทธ์ แฟรนไชส์มาใช้ในการขยายกิจการของตน ด้วยความเป็นบริษัทใหญ่มีระบบการบริหารและเงินทุนที่พร้อม แต่กลับยอมรับนำเอากลยุทธ์นี้มาใช้ จึงถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการยอมรับระบบแฟรนไชส์ของธุรกิจในประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับต่อไปในวงกว้าง ระยะที่สองนี้เกิดขึ้นเมื่อ 10-15 ปี ที่ผ่านมาหลังจากที่บริษัทใหญ่ๆในประเทศไทย เช่น เวิลด์โฟน เทเลวิซ หรือ ซีพี ต่างหันมาใช้ กลยุทธ์นี้ 
 
ช่วงระยะที่สาม คือ ช่วงการขยายตัว

เป็นช่วงเวลาที่ธุรกิจทั้งใหญ่และโดยเฉพาะขนาดเล็กๆ ต่างหันมาใช้กลยุทธ์ แฟรนไชส์ในการขยายกิจการของตน เป็นการตอกย้ำภาพความยอมรับของระบบแฟรนไชส์ในวงกว้าง ทั้งจากฝ่ายธุรกิจที่พัฒนาไปเป็นแฟรนไชส์ซอร์ และคนทั่วไปที่แสวงหาโอกาสเป็นเจ้าของกิจการโดยการเป็นแฟรนไชส์ซี  ระยะที่สามนี้เองที่แฟรนไชส์ได้กลายเป็นโอกาสทางเลือกหนึ่งของสังคมธุรกิจ ที่ทำให้ผู้คนเป็นเจ้าของกิจการง่ายขึ้น และได้เงินทุนมาช่วยในการขยายกิจการได้กว้างขวางขึ้น


ภาพจาก goo.gl/dtA9rm 
 
จากการพัฒนาของตลาดแฟรนไชส์ข้างต้น แสดงว่าตลาดแฟรนไชส์ของประเทศไทยเรากำลังพัฒนาเข้าสู่ระยะที่สามซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีทั้งโอกาสและความเสี่ยงในปัญหาสูงกว่าช่วงระยะอื่นๆ เนื่องจากภาพในวงกว้างของตลาดทำให้มีผู้เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากนั่นเอง จึงขึ้นอยู่กับว่าสังคมธุรกิจโดยรวมแล้วมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องแฟรนไชส์อย่างไร

ด้วยเหตุนี้ ปัญหาความสัมพันธ์ในระบบแฟรนไชส์ที่เกิดบ่อยและมีความรุนแรง จึงพบได้ในระยะที่ที่สามนี้นั่นเอง เนื่องจากแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งเป็นฝ่ายขยายธุรกิจ มักหลงไปกับการขายแฟรนไชส์ โดยสนใจที่ตัวเงินโดยเฉพาะเงินก้อนใหญ่จากค่าแฟรนไชส์ที่ได้รับ (ยิ่งขายมากก็ได้มาก) มากกว่างานสำคัญคือความสำเร็จของสาขาแห่งหนึ่งๆก่อนการขยายสาขาต่อไป ยิ่งขายมากจำนวนสาขาที่เปิดใหม่พร้อมๆกันก็มาก ทำให้กลายเป็นภาระที่ต้องการทั้งเงิน ทรัพยากร กำลังคน และความสามารถในการบริหาร ที่มากพอจึงจะนำพาไปสู่ความสำเร็จได้

 
ภาพจาก goo.gl/pAH9Bq

ในทางตรงกันข้ามฝ่ายแฟรนไชส์ซีเอง ก็มักหลงไปกับการซื้อแฟรนไชส์ เพราะความอยากเป็นเจ้าของกิจการที่มากเกินไป ประกอบกับการเป็นเจ้าของธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ที่ง่ายเพราะอาศัยเงินซื้อ (โดยเฉพาะเมื่อเจอกับแฟรนไชส์ซอร์ที่เอาแต่ขาย) และเข้าใจผิดคิดว่าการซื้อแฟรนไชส์ยังไงก็ต้องได้กำไร ทำให้ตัดสินใจเร็ว ขาดความรอบคอบ และไม่ได้พิจารณาด้วยหลักธุรกิจที่ถูกต้อง จึงยากที่จะได้ธุรกิจที่ดี ส่วนใหญ่ธุรกิจที่ได้ ก็เลยไม่ดี หรือดีแต่ก็ไม่เหมาะกับตนเอง และนำไปสู่ความล้มเหลวได้ในที่สุด
 
นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีบริษัทที่ประกอบธุรกิจขายแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่ปิดกิจการไปแล้วกว่า 100 บริษัทในปีที่ผ่านมา จึงคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน (2562) ประมาณ 567 บริษัท จึงนับได้ว่ามีการเลิกกิจการธุรกิจแฟรนไชส์ในอัตราค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ผู้คิดจะลงทุนในซื้อหรือขายแฟรนไชส์จะต้องระวังให้ดี
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,002
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,485
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,634
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,572
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด