บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.9K
6 นาที
20 มีนาคม 2562
เจาะลึก! การเขียนแผนธุรกิจเพื่อกู้แบงค์ของแฟรนไชส์ซี่


เนื่องจากแฟรนไชส์ซีส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดเล็กและกลาง จึงขอแนะนำให้เขียนแผนธุรกิจเพื่อใช้กู้เงินต่อสถาบันการเงิน โดยรูปแบบข้อแนะนำของธนาคารเอสเอ็มอี ควรมีรูปแบบในการเขียนดังต่อไปนี้

1.บทสรุปผู้บริหาร
  • ความเป็นมาและสถานะของกิจการในปัจจุบัน
    • ชื่อและที่ตั้งกิจการ / ชื่อผู้บริหารที่สำคัญ / ประเภทสินค้าที่ขาย / ยี่ห้อสินค้า (ถ้ามี)
    • กลุ่มลูกค้าหลัก / ส่วนแบ่งตลาด / คู่แข่งที่สำคัญความสามารถในการแข่งขันของกิจการ
    • ฐานะของกิจการ (เงินทุน-เงินกู้) และผลประกอบการในปัจจุบัน
       
  • โอกาสทางธุรกิจ และแนวคิดในการจัดทำโครงการ
    • ความเป็นมาของโครงการ / วัตถุประสงค์ของโครงการ (เพื่อขยายสาขา / เพื่อจัดตั้งกิจการใหม่ / เพื่อปรับปรุงกิจการ)
    • การลงทุนในโครงการ และแหล่งที่มาของเงินทุน
       
  • วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนธุรกิจ (เพื่อขอสินเชื่อ, หาผู้ร่วมลงทุน หรือปรับปรุงกิจการ เป็นต้น )
  • กลยุทธ์ในการบริหารโครงการ
    • ด้านการจัดการ / การจัดซื้อสินค้าและการบริหารสินค้าคงคลัง / การตลาด และการเงิน
       
  • ผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการ
    • ระยะเวลาคืนทุน (Pay -back Period)
    • จุดคุ้มทุน (Break-even Point)
    • มูลค่าปัจจุบันสุทธิของการลงทุน (NPV)
    • อัตราผลตอบแทนของการลงทุน (IRR) 
2.ความเป็นมาของโครงการ
  • ประวัติ และความเป็นมาของกิจการ
    • แนวความคิดในการก่อตั้งกิจการ
    • ผู้ก่อตั้งกิจการ
    • ปีที่ก่อตั้ง
    • ทุนจดทะเบียน / ทุนที่ชำระแล้ว
    • การเติบโตของกิจการ (ได้แก่ การเพิ่มทุน การลงทุนขยายกิจการ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ฯลฯ)
    • ความสำเร็จครั้งสำคัญของกิจการ (ถ้ามี)
       
  • รายชื่อหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น และสัดส่วนหุ้นที่ถือครอง
  • ประวัติของหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น
  • สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (ย้อนหลัง 3 ปี)
  • กรณีที่เป็นโครงการใหม่ ให้ระบุชัดเจนว่าจะเริ่มดำเนินงานเมื่อใด (จัดทำเป็นตารางแสดงขั้นตอนและระยะเวลาในการจัดตั้งจนถึงวันเริ่มดำเนินงาน) 
3.การวิเคราะห์อุตสาหกรรม
  • ภาพรวมของอุตสาหกรรม 
  • แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรม 
  • มาตรฐานในการประกอบการในอุตสาหกรรม (เช่น ต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO, QS, GMP, H A CCP ฯลฯ) ตลอดจน Benchmark อื่น ๆ ที่สำคัญในอุตสาหกรรม 
  • นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ (ถ้ามี) 
4.การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)


ภาพจาก goo.gl/images/xqgW4z
  • จุดแข็งของกิจการ :
    ปัจจัยภายในที่ทำให้กิจการมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งหลัก / คู่แข่งรอง
     
  • จุดอ่อนของกิจการ :
    ปัจจัยภายในที่ทำให้กิจการมีความเสียเปรียบในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งหลัก / คู่แข่งรอง
     
  • โอกาสของธุรกิจ :
    ปัจจัยภายนอกที่จะเสริมให้กิจการเติบโตต่อไปในอนาคต
     
  • อุปสรรคของธุรกิจ :
    ปัจจัยภายนอกที่จะทำให้กิจการไม่รุ่งเรือง หรือเติบโตช้า 
5.วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย (Vision, Mission & Goals)
  • วิสัยทัศน์ ( Vision )
    คือ ภาพของกิจการที่ต้องการจะเป็นในอนาคต โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน
     
  • พันธกิจ ( Mission )
    คือ งานที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของกิจการ
     
  • เป้าหมาย ( Goal )
    คือ การกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการจากพันธกิจของกิจการ โดยกำหนดเป็นข้อ ๆ แบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น (1 ปี) ระยะปานกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (5 ปีขึ้นไป) ทั้งนี้เป้าหมายในแต่ละระยะเวลาควรสอดคล้องกัน สามารถวัดผลได้ และระบุเวลาที่แล้วเสร็จอย่างชัดเจน 
6. แผนเชิงกลยุทธ์
  • กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Level Strategy) คือสิ่งที่บอกถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจของกิจการ ได้แก่
    • มุ่งเน้นการเติบโต (Growth Strategy) เป็นการขยายธุรกิจไปในทิศทางต่าง ๆ เช่น

      - ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่เกื้อหนุนธุรกิจเดิม โดยเป็นธุรกิจที่อยู่ต้นทางหรือ ปลายทางของธุรกิจเดิม ( Forward – Backward Integration )
      - ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่แตกต่างไปจากธุรกิจเดิมโดยสิ้นเชิง ( Conglomerate Diversification) เพื่อกระจายความเสี่ยงของการลงทุน
      - จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ( A lliance Strategy ) เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้ธุรกิจเดิมโดยไม่ต้องลงทุนเอง
       
    • กลยุทธ์คงตัว (Stability Strategy) ไม่มีการลงทุนใด ๆ ในช่วงนี้ แต่มุ่งเน้นในธุรกิจเดิมให้เข้มแข็ง
    • การลดขนาดกิจการ ( Retrenchment Strategy )

      - ขายทิ้งกิจการบางส่วน (ที่ไม่ทำกำไร หรือขาดทุน)
      - ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ ( Restructure)
       
  • กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Level Strategy) คือ การดึงจุดเด่นขององค์กรขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์และ ส่งเสริมกลยุทธ์ระดับองค์กร
    • เป็นผู้นำด้านต้นทุน (ที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน) ( Cost Leadership Strategy) ทำให้สามารถจำหน่าย สินค้าได้ในราคาถูกกว่าคู่แข่ง 
    • เน้นความแตกต่างของสินค้า ( Differentiation Strategy) สามารถสร้าง Value A dded ใหม่ๆ ให้กับสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ ของผู้บริโภค 
    • มุ่งเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ( Focus Strategy) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ทำให้กิจการสามารถตั้งราคาสินค้าได้สูงขึ้น
       
  • กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Level Strategies) ในด้านต่างๆ ได้แก่ 
    • การบริหารจัดการ เป็นการสร้างระบบการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ระดับธุรกิจ 
    • การตลาด เป็นการกำหนดแผนงานด้านการตลาดเพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ระดับธุรกิจ 
    • การจัดซื้อสินค้า เป็นการกำหนดแผนงานด้านการจัดซื้อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจ 
    • การเงิน เป็นการกำหนดแผนงานด้านการเงินให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจ 
7. แผนการบริหารจัดการ 


ภาพจาก goo.gl/images/LZhG8a

ก่อนและหลังการดำเนินการตามโครงการใหม่
  • รูปแบบธุรกิจ (กิจการเจ้าของคนเดียว ,ห้างหุ้นส่วน ,บริษัทจำกัด ฯลฯ)
  • โครงสร้างองค์กร และผังบริหาร
  • ทีมผู้บริหารและหลักการบริหารงาน
    • รายชื่อคณะกรรมการ และกรรมการบริหาร
    • ลักษณะการบริหารงาน (เช่นการรวมอำนาจ หรือกระจายอำนาจ เป็นต้น)
กรณีการจัดตั้งกิจการใหม่ ให้แสดงความสัมพันธ์ของการบริหารงานระหว่างกิจการเดิมและ กิจการใหม่ให้ชัดเจน
แผนด้านบุคลากร
  • กำลังคนในปัจจุบัน อัตราการหมุนเวียนของพนักงาน และแผนด้านกำลังคน (การสรรหา และ จัดเตรียมบุคลากร)
  • แผนพัฒนาบุคลากร
  • ผู้สอบบัญชี และที่ปรึกษากฎหมาย (ถ้ามี)
  • พันธมิตรทางธุรกิจ และการให้ความช่วยเหลือ (ถ้ามี)
  • สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการจัดการ บริหารงานโครงการ
    • สรุปจุดเด่นด้านการจัดการ บริหารงานโครงการ
    • สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการจัดการ บริหารงานโครงการ
    • เป้าหมายทางการจัดการที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์
    • งบประมาณที่ต้องใช้ด้านการจัดการ 
8. แผนการตลาด


ก่อนและหลังการดำเนินการตามโครงการใหม่
  • ภาพรวมของตลาด
    1. สภาวะทั่วไปของตลาด อธิบายย้อนหลัง 3 ปี และคาดการณ์ล่วงหน้า 3 ปี (ระบุที่มาของสมมติฐาน)      
    2. ขนาด หรือมูลค่าการซื้อขายของตลาด (ระบุที่มาของตัวเลขหรือสมมติฐาน และข้อจำกัดในการประมาณการด้วย)
    3. ปริมาณความต้องการของตลาด / จำนวนผู้ซื้อในตลาด
    4. ปริมาณการค้าเพื่อตอบสนองตลาด / จำนวนผู้ค้าในตลาด
       
  • ผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่าย
    1. ลักษณะและจุดเด่นผลิตภัณฑ์
    2. การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (ภาพที่ต้องการให้เป็นในสายตาของผู้บริโภค)
    3. ภาพตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ / สถานที่จัดจำหน่าย
    4. พื้นที่จำหน่าย และตลาดเป้าหมาย (ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นตลาดระดับท้องถิ่น หรือตลาดระดับประเทศ)
    5. ยอดขาย และส่วนแบ่งตลาด
       
  • กลุ่มลูกค้า
    1. ลูกค้าเป้าหมายคือใคร
    2. ลูกค้ารายใหญ่ของกิจการ 5 อันดับแรก แจก แจง ยอดขายสำหรับลูกค้าแต่ละราย และความสัมพันธ์กับลูกค้ารายพิเศษ (ถ้ามี)
    3. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในอนาคตของโครงการคือใคร (สามารถขยายฐานลูกค้าได้หรือไม่)
       
  • การแข่งขัน และคู่แข่ง
    1. สภาพการแข่งขันในตลาดปัจจุบัน
    2. คู่แข่งหลัก / คู่แข่งรองของกิจการ
    3. เปรียบเทียบยอดขาย หรือส่วนแบ่งตลาดของกิจการกับคู่แข่งหลัก
    4. เปรียบเทียบจุดแข็ง-จุดอ่อนระหว่างผลิตภัณฑ์ของกิจการกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง
    5. ลูกค้ากลุ่มเดิมมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งหรือไม่
    6. แนวโน้มการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่
       
  • กลยุทธ์ทางการตลาด
    1. กลยุทธ์ด้านสินค้า / บริการ
    2. กลยุทธ์ด้านราคา
    3. กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย
    4. กลยุทธ์ด้านส่งเสริมการตลาดและการขาย
       
  • สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการตลาด
    1. สรุปจุดเด่นด้านการตลาด
    2. สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการตลาด
    3. ยอดขาย / ส่วนแบ่งตลาด และเป้าหมายทางการตลาดอื่นๆ ที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์
    4. งบประมาณที่ต้องใช้ด้านการตลาด 
9.  การวิเคราะห์ด้านเทคนิค หรือกระบวนการซื้อมา-ขายไปของกิจการ


ก่อนและหลังการดำเนินการตามโครงการใหม่
  • กระบวนการจัดซื้อสินค้าของกิจการ และกระบวนการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า ( แสดงในรูป Flow Chart)
  • ทำเลที่ตั้ง และแผนผังสถานที่ตั้งร้านค้า และคลังสินค้า (ถ้ามี)
    1. แผนที่ร้านค้า / คลังสินค้า (ถ้ามี)
    2. แผนผังภายในร้านค้า / คลังสินค้า (ถ้ามี)
    3. จำนวนพื้นที่ใช้สอย
    4. การได้มาซึ่งพื้นที่ (ซื้อหรือเช่า ระบุรายละเอียดการชำระเงิน ในกรณีที่เป็นการเช่าให้ระบุปีที่สัญญาเช่าหมดอายุ)
       
  • สินทรัพย์ที่ใช้ในการซื้อ-ขายสินค้า
    1. รายการเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่สำคัญ (หากยังอยู่ระหว่างการชำระเงิน ให้ระบุรายละเอียด เงื่อนไขการชำระเงิน)
    2. อายุการใช้งาน
    3. การซ่อมแซม/บำรุง รัก ษาเครื่องจักรและอุปกรณ์
       
  • ต้นทุนสินค้าที่ขาย
    1. สินค้าสำคัญและซัพพลายเออร์หลักที่กิจการติดต่อด้วย
    2. สัดส่วนต้นทุนของกิจการ (ต้นทุนสินค้าที่ขาย และต้นทุนค่าบริหาร)
    3. พยากรณ์ยอดซื้อสินค้า
       
  • การบริหารสินค้าคงคลัง และนโยบายสินค้าคงคลัง
  • การควบคุมคุณภาพการจัดซื้อสินค้า
  • สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการซื้อ-ขายสินค้า
    1. สรุปจุดเด่นด้านการซื้อ-ขายสินค้า
    2. สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการซื้อ-ขายสินค้า
    3. เป้าหมายทางการซื้อ-ขายสินค้าที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์
    4. งบประมาณที่ต้องใช้ด้านการจัดซื้อสินค้า / คลังสินค้า 
10. แผนการเงิน 


ภาพจาก goo.gl/images/vQu54W

  • การลงทุนในกิจการ ( ก่อน การดำเนินงานตามโครงการ)
  • รายละเอียดเงินกู้ยืม (ถ้ามี)
    • ประเภทและวงเงินกู้
    • วัตถุประสงค์ของเงินกู้
    • อัตราดอกเบี้ย
    • การชำระคืนเงินต้น
    • ระยะเวลาปลอดหนี้
    • หลักประกันเงินกู้
       
  • การลงทุนในโครงการใหม่
  • แหล่งเงินที่ประสงค์จะขอกู้
  • รายละเอียดเงินกู้ยืม (ถ้ามี)
    • ประเภทและวงเงินกู้
    • วัตถุประสงค์ของเงินกู้
    • อัตราดอกเบี้ย
    • การชำระคืนเงินต้น
    • ระยะเวลาปลอดหนี้
    • หลักประกันเงินกู้
       
  • ประมาณการทางการเงินของกิจการในอนาคต 3-5 ปี
  • สมมติฐานทางการบัญชีและการเงิน
    • อัตราการเพิ่ม/ลดของยอดขาย ต้นทุนสินค้าที่ขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารใน แต่ละปี
    • อัตราดอกเ บี ้ยจ่าย ประมาณจากอัตราดอกเ บี ้ยจ่ายของวงเงินกู้เดิม และวงเงินกู้ใหม่ที่คาดว่าจะกู้เพิ่ม
    • สัดส่วนการขายเงินสด : ขายเงินเชื่อ
    • ระยะเวลาในการให้เครดิตแก่ลูกค้า
    • นโยบายการให้ส่วนลดการค้า และส่วนลดเงินสด (ถ้ามี)
    • ระยะเวลาที่ได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้า
    • ระยะเวลาในการเก็บ รัก ษาสินค้าคงคลัง
    • วิธีการตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวรแต่ละประเภท
    • อัตราภาษีเงินได้
  • ประมาณการงบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดย
    • ประมาณการปีที่ 1 เป็นรายเดือน
    • ประมาณการปีที่ 2 และ 3 เป็นรายไตรมาส
    • ประมาณการหลังปีที่ 3 เป็นรายปี (ถ้ามี)
       
  • การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
     
  • อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง หรือความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น (Liquidity Ratio)
    • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
    • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)
       
  • อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratio)
    • อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin Ratio )
    • อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin Ratio)
    • กำไรสุทธิต่อยอดขาย (Net Profit Margin)
    • อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์รวม (Return on Asset - ROA)
    • อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity - ROE)
       
  • อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการจัดการเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital Management Ratio)
    • อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover Ratio)
    • ระยะเวลาในการจัดเก็บหนี้ (Average Collection Period - Day)
    • ระยะเวลาในการชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า (Account Payable Turnover - Day)
    • ระยะเวลาการเก็บสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover - Day)
       
  • อัตราส่วนวัดความสามารถในการชำระหนี้ และความสามารถในการก่อหนี้เพิ่ม
    • อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม (Debt Ratio)
    • อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio)
    • อัตราส่วนแสดงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยจ่าย (Interest Coverage Ratio)
       
  • วิเคราะห์การเติบโตของกิจการและแนวโน้มการเติบโต (Trend Analysis) 
 
  • วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุน
    • ระยะเวลาคืนทุน (Pay-back Period)
    • จุดคุ้มทุน (Brake-even Point)
    • มูลค่าปัจจุบันสุทธิของการลงทุน (Net Present Value : NPV)
    • อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal Rate of Return : IRR)
       
  • สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการเงิน
    • สรุปจุดเด่นด้านการเงิน
    • สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการเงิน
    • เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์
11. การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ
  • ปัจจัยที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ
  • ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ผลกระทบต่อโครงการ และแผนรองรับ (แนวทางการแก้ไข)
  • การประเมินสถานการณ์จำลอง ( Sensitivity A nalysis)
    • กรณีที่ดีกว่าปกติ ( Best Case ) เช่น ยอดขายเพิ่ม 10%
    • กรณีปกติ ( Base Case ) ยอดประมาณการปัจจุบัน
    • กรณีที่ต่ำกว่าปกติ ( Worst Case ) เช่น ยอดขายลด 10% 
12. แผนการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบการ

ดังเช่น
  • การปรับปรุงระบบบัญชี / ระบบบัญชีสินค้าคงคลัง / การขนส่ง / การจัดเก็บ / ระบบการผลิต / การตลาด
  • การขอรับรองระบบมาตรฐาน เช่น ISO, GMP, H A CCP และอื่นๆ ที่จำเป็น 
13. ภาคผนวก

แหล่งที่มาของข้อมูล และสำเนาเอกสารต่างๆ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนามและประทับตรา (ถ้ามี)

14.งบการเงิน

แต่โดยสรุปแล้ว หัวข้อที่ใช้ในการเขียนโครงการขอกู้เงิน อย่างน้อยที่สุดแล้วต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
  1. หนังสือเสนอขอกู้เงินกับสถาบันการเงิน
  2. บทสรุปผู้บริหาร
    เป็นการสรุปจากแผนต่างๆ ทั้งด้านการตลาด การจัดการ การผลิต และการเงิน เพื่อให้ทราบถึงพันธกิจขององค์กร วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร พร้อมทั้งแผนที่จะไปสู่เป้าหมายอย่างย่อๆ
  3. ภาพรวมของกิจการ
    • ประวัติความเป็นมาของกิจการกล่าวถึงแนวคิดและความเป็นมาของกิจการว่าเกิดได้อย่างไร อะไรคือเป้าหมาย
    • สถานที่ตั้ง เป็นที่ตั้งของกิจการ หรือโรงงาน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์เพื่อติดต่อได้สะดวก
    • ผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร/ประสบการผู้บริหาร มีใครบ้างเป็นผู้ร่วมทุน จำนวนเงินลงทุน
       
  4. วัตถุประสงค์ที่จะขอสินเชื่อ
    • วงเงินสินเชื่อที่ต้องการ โดยแยกเป็นประเภทของสินเชื่อ เช่น เงินกู้ เงินทุนหมุนเวียน (O/D)
    • จะนำสินเชื่อที่ขอครั้งนี้ไปทำอะไร
    • เงื่อนไขที่ต้องการมีอะไรบ้าง เช่น ระยะเวลาการชำระคืน อัตราดอกเบี้ย
    • หลักประกันที่เสนอ รายละเอียดหลักประกัน มูลค่าหลักประกัน
       
  5. ลักษณะและโครงสร้างธุรกิจ
    • สินค้าและบริการมีอะไรบ้าง
    • การตลาด การจัดจำหน่ายในประเทศ ต่างจังหวัดหรือกรุงเทพฯ เป็นสัดส่วนเท่าใด ระยะเวลาการให้เครดิตกี่วัน
    • ตลาดเป้าหมายที่ต้องการขยายเพิ่มขึ้น กลุ่มลูกค้า ขนาดของตลาด กลยุทธ์และแผนการตลาด
    • การวิเคราะห์อุตสาหกรรม, คู่แข่ง
       
  6. ลักษณะของโรงงานและแผนการผลิต
  7. ข้อมูลทางการเงิน
  8. รายละเอียดการใช้บัญชีต่างๆ
  9. ภาคผนวก เช่น ข้อมูลลูกค้า, การวิเคราะห์คู่แข่ง ระบุคู่แข่งขันรายใหญ่ 3 ราย
หลักการพิจารณาปล่อยกู้


ภาพจาก goo.gl/images/G6wbEn

สิ่งที่ผู้กู้เงินทุกรายกังวลก็คือ จะได้รับการอนุมัติเงินกู้ตามวงเงินที่ขอไปหรือไม่ และทุกคงก็คงอยากรู้ว่า แล้วทางฝ่ายผู้ให้กู้ใช้กฏเกณฑ์หรือหลักการอะไรมาพิจารณาโครงการของผู้ขอกู้ หนังสือจะขอให้ข้อมูลเพียงคร่าวๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจลงทุนขอซื้อแฟรนไชส์ทราบอย่างง่ายๆ ดังนี้

ธนาคารปล่อยกู้อย่างไร
  • หลัก  3 Ps
    1. วัตถุประสงค์การกู้  (Purpose)
    2. การชำระหนี้  (Payment)
    3. การป้องกันความเสี่ยง  (Protection)
       
  • หลัก  5 Cs
    1. ลักษณะของผู้กู้  (Character)
    2. เงินทุนของผู้กู้  (Capital)
    3. ความสามารถในการชำระหนี้  (Capacity)
    4. มูลค่าหลักประกัน  (Collateral)
    5. เงื่อนไขอื่น  (Conditions)
ในทางปฏิบัติแล้ว  สถาบันการเงินนอกจากจะพิจารณาตามหลักคิดนี้แล้ว  ยังพิจารณาความถูกต้องและความเป็นได้ในแผนธุรกิจที่เสนอมาเพื่อขอกู้ด้วย  หนึ่งในเอกสารที่มักจะนำไปพิจารณาคืองบการเงินและงบกระแสเงินสดล่วงหน้า ซี่งผู้ให้กู้จะสามารถใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ  มาคำนวณหาความเป็นไปได้ในด้านต่างๆ

การวิเคราะห์ความเป็นไปได้


ผู้ให้กู้นอกจากจะวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของเชิงธุรกิจแล้ว ยังมักจะวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินด้วย ซึ่งจะขอยกตัวอย่างมาเพื่อให้พอทราบ เนื่องจากมีตำราอื่นอีกมากมายที่กล่าวถึงเรื่องเหล่านี้  ตัวอย่างการวิเคราะห์ เช่น
  • เครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนโครงการ
    1. ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)
    2. มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV)
    3. อัตราผลตอบแทนลดค่า (Internal Rate of Return : IRR)
    4. ดัชนีการทำกำไร (Profitability Index : PI)
       
  • การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เพื่อตรวจสอบดูว่าจะเกิดปัญหาติดขัดสภาพคล่องในระหว่างดำเนินธุรกิจหรือไม่
ในปัจจุบัน เครื่องมือวิเคราะห์ทางการเงินเหล่านี้ สถาบันทางการเงินมักจะมีโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น แต่ในฐานะผู้กู้เงินที่มักจะไม่ชำนาญการวิเคราะห์ทางการเงิน อย่างน้อยก็ควรจะพอมีความรู้ความเข้าใจว่าเครื่องมือเหล่านี้คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

ในทางปฏิบัติจริง ต้องยอมรับว่าสถาบันการเงินนอกจากจะพิจารณาแผนหรือโครงการของผู้ขอกู้ตามหลักการพิจารณาที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ความจริงของสังคมไทยก็คือ ผู้ที่มีฐานะการเงินดีอยู่แล้ว ผู้ที่มีตำแหน่งทางสังคม หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีหลักทรัพย์ที่สามารถนำมาค้ำประกันได้ ก็จะมีโอกาสได้รับการพิจารณาอนุมัติง่ายกว่า


ดังนั้น ผู้ที่คิดจะลงทุนทำธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดเล็ก หากจะใช้บริการสถาบันการเงินของรัฐในช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายและงบสนับสนุน ก็อาจจะง่ายกว่าขอกู้จากสถาบันการเงินทั่วไป หรือหากติดขัดก็ยังอาจจะขอใช้คำแนะนำจากศูนย์ประสานและบริการ SMEs ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพราะหน่วยงานนี้จะมีหน้าที่ให้บริการคำปรึกษาและแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน และการวางแผนธุรกิจ ในการบริหารจัดการด้านการเงิน การกำหนดกลยุทธในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการขอคำปรึกษา
 
หากตัดสินใจที่จะลงทุนซื้อแฟรนไชส์แล้ว การหาแหล่งเงินทุนเป็นงานที่สำคัญเร่งด่วนอีกอย่างหนึ่งในระยะแรกๆ เว้นเสียแต่แฟรนไชส์ซีจะมีเงินเพียงพอสำหรับการลงทุนทั้งหมด สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์แล้วการขอกู้เงินสถาบันการเงินอาจจะไม่ใช่เรื่องยาก ในปัจจุบันมีสถาบันการเงินและหน่วยงานที่ช่วยเหลือผู้สนใจล..
65months ago   1,475  3 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,673
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,785
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,911
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด