บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.5K
3 นาที
21 มีนาคม 2562
ตรวจสอบความพร้อมของธุรกิจก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์


ไม่ใช่ว่าธุรกิจทุกชนิด หรือแม้กระทั่งธุรกิจชนิดที่ประสพความสำเร็จในการขาย แฟรนไชส์แล้ว แต่ทุกรายจะสามารถประสพความสำเร็จแบบเดียวกันได้ ในการจะเข้าสู่ระบบ แฟรนไชส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ให้แง่คิดเก้าประการให้ทุกคนตรวจสอบก่อน ดังนี้

1.ขนาดของกิจการ

ขนาดของกิจการที่กล่าวนี้ หมายความถึงว่า ธุรกิจของท่านมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะให้ภาพพจน์ที่ดีอันเป็น เครื่องหมายที่แสดงถึงความสำเร็จในสายตาของคนทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะแฟรนไชส์ที่ท่านมองหาหรือไม่ เพราะผู้ที่เป็น แฟรนไชส์ซี ย่อมต้องเปรียบเทียบธุรกิจของท่านกับคู่แข่งในตลาด เนื่องจากเขาเองก็ต้องการที่จะลงทุนกับธุรกิจที่มี โอกาสของความสำเร็จมากกว่า และทำให้เกิดความสนใจจากแฟรนไชส์ซีง่ายกว่านั่นเอง อย่างไรก็ตามนอกจากขนาดของกิจการที่ใหญ่แล้ว กิจการจะต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีด้วย

2.อายุของกิจการ

อายุของกิจการนั้นต้องยอมรับว่า เป็นเงื่อนไขที่สำคัญจะให้ภาพพจน์ที่ดีแก่ธุรกิจ ของท่านในสายตาของแฟรนไชส์ซี เพราะอายุของกิจการนั้น หมายถึง ความสำเร็จในระดับหนึ่งของท่านที่ได้ดำเนินธุรกิจมา และยังบอกถึงความรู้ความ เข้าใจของท่านในขั้นตอนการปฏิบัติงานว่ามีมากพอจะสอนให้ผู้อื่นทำตาม

นอกจากนี้ระยะเวลาที่นานพอยังหมายถึง ประสบการณ์ของท่านที่จะเข้าใจสภาพตลาดในธุรกิจนั้น ๆ จนสามารถคาดเดาการเติบโต หรืออนาคตได้อย่างถูกต้อง และมั่นใจ 

3.มีกำไรหรือเปล่า


เงื่อนไขนี้ดูจะเป็นเงื่อนไขที่เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะคงไม่มีใครเลยอยากลงทุนในกิจการที่ไม่มีกำไร ฉะนั้นหากว่า กิจการท่านไม่ประสบความสำเร็จ คือ ไม่มีกำไรหรือประสบภาวะขาดทุนแน่นอน กิจการนั้นของท่านคงจะไม่เหมาะสมที่จะทำแฟรนไชส์ เพราะแฟรนไชส์ไม่ใช่กลยุทธ์ที่ใช้สำหรับแก้ไขปัญหาธุรกิจที่ประสบความล้มเหลว ซึ่งต้องการเงินทุนเพื่อความอยู่รอด แต่แฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์สำหรับธุรกิจที่มีความสำเร็จ แต่ยังขาดแคลนทุนทรัพย์ และกำลังคนในการขยายงานต่างหาก

4.สอนได้ไหม

หากธุรกิจของท่านที่ประสบความสำเร็จนั้นมีวิธีการ หรือขั้นตอนการทำงาน ซึ่งไม่สามารถถ่ายทอดหรือสอน แก่บุคคลอื่นได้ การทำแฟรนไชส์นั้นก็ย่อมทำไมได้ง่ายด้วย นอกจากนี้ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งสอนได้ยากหรือ ปฏิบัติได้ยากก็ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการทำแฟรนไชส์ด้วย

5.ถอดแบบของระบบได้ไหม

ระบบของธุรกิจท่านจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง สามารถเขียนอธิบายออกมาได้โดยละเอียด และเป็นขั้นตอนในรูปของ คู่มือ ทั้งนี้ เพื่อแฟรนไชส์ซีจะสามารถทำความรู้ ความเข้าใจ หรือหาความรู้ทบทวนได้ โดยมีตัวท่านซึ่งเป็นผู้มี ประสบการณ์อยู่แล้วเป็นผู้คอยให้คำปรึกษาอีกทีหนึ่ง ซึ่งหากเป็นดังนี้แล้วก็ย่อมมั่นใจได้ว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ง่าย แน่นอน

6.ทำตลาดได้ไหม

หากท่านคิดจะทำระบบธุรกิจของท่านให้เป็นแฟรนไชส์ ธุรกิจนั้นจะต้องสามารถเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป ทั้งกลุ่มที่เป็นผู้บริโภค และกลุ่มที่เป็นแฟรนไชส์ซีของท่าน เพราะหากธุรกิจท่านเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค แต่ ระบบปฏิบัติงานยากต้องการความชำนาญมาก ๆ หรือการลงทุนเพื่อได้ผลกำไรในธุรกิจนั้น ต้องลงทุนมากเสี่ยง ต่อการขาดทุนได้ง่ายนั้นย่อมหมายความว่าท่านอาจ จะหาแฟรนไชส์ซีได้ยาก

7.ปรับเปลี่ยนได้ไหม


รูปแบบของธุรกิจนั้นสามารถปรับให้เข้ากับตลาดที่ธุรกิจขยายออกไป เพราะหากคุณปรับไม่ได้ ธุรกิจของคุณ ก็อาจจะไม่สามารถเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคที่นั่นได้ แม้ว่าผู้บริโภคในพื้นที่เดิมหรือ ประเทศของคุณจะยอมรับมาก่อน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ธุรกิจประเภทอาหาร เครื่องดื่ม ที่จำเป็นต้องปรับรสชาติให้เข้ากับคนในท้องถิ่น เพื่อให้เป็น ที่ยอมรับ จากนั้นจึงรักษามาตรฐานของทุกสาขาที่เปิด ให้มีรสชาติแบบนั้นในประเทศ 

8.เอกลักษณ์

หากธุรกิจใดมีเอกลักษณ์ หรือ Unique Selling Position (USP) แล้วละก็ โอกาสประสบความสำเร็จในการทำ แฟรนไชส์ก็จะเพิ่มขึ้น แต่คงต้องมีเงื่อนไขอื่น ๆ ประกอบ

ยกตัวอย่าง เช่น ถึงแม้ธุรกิจจะมีเอกลักษณ์ แต่หากไม่ สามารถถ่ายทอดได้ ก็ยากที่จะทำเป็น แฟรนไชส์ อย่างไรก็ตามเอกลักษณ์ย่อมหมายถึง ความสำเร็จ เพราะทำให้คุณ แตกต่างจากผู้อื่นนั่นเอง 

9.ขนาดของการลงทุน

ขนาดของการลงทุนจะต้องมีความเหมาะสม กล่าวคือ ไม่มากเกินไปจนเป็นอุปสรรคในการลงทุน ของผู้สนใจ ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่น้อยเกินไปจนกระทั่งการดำเนินงานประสบปัญหา 

องค์ประกอบที่สร้างให้แฟรนไชส์ประสพความสำเร็จ


ในการที่จะสร้างขยายธุรกิจของตนเองให้เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ประสพความสำเร็จ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและต้องเตรียมการอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้พยายามสังเกตและรวบรวมแง่คิดไว้ว่า การที่จะเป็นแฟรนไชส์ซอร์ที่ประสพความสำเร็จได้ จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญใหญ่ ๆ 4 ประการ คือ (ที่มา อ.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์)
  1. มีการสร้าง Brand Name
  2. มีการวางรูปแบบของการคิดค่าใช้จ่ายในระบบอย่างยุติธรรม
  3. มีการสร้างความสัมพันธ์ในองค์กรรูปแบบแฟรนไชส์
  4. มีการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ในระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะประกอบด้วยวิธีการหลายๆ ด้าน และไม่สามารถที่จะเน้นงานด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น การสร้างองค์ประกอบรวมในการทำธุรกิจที่ดี แกนหลักของระบบงานเป็นตัวนำ สามารถจะสร้างพื้นฐานการบริหารที่ดีขึ้นได้ หลักการต่างๆ ในรายละเอียดในแต่ละส่วนสามารถที่จะยึดเป็นหลักการดำเนินการดังนี้
  1. สร้างระบบการบริหารงานหลายแบบ ในการวางระบบงานสาขาหรืออาจจะเป็นสาขาของบริษัทเองโดยตรง หรือระบบ Franchise และรวมถึงร่วมลงทุน Joint Venture ก็ตามควรจะมีวิธีการบริหารหลายรูปแบบ โดยไม่จำกัดการขยายงานในแบบเดียวเกินไป เพราะในแต่ละวิธีก็จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน การวางงานในหลายรูปแบบจะได้ช่วยนำข้อดี ข้อเสียมาปรับปรุงระบบโดยรวมทั้งหมดได้ดียิ่งขึ้น
     
  2. สร้างตัวอย่างสาขาให้เด่น ควรมีสาขาตัวอย่างที่ดี พร้อมให้การบริหารงานทั้งระบบ และมีความเด่นด้านการตลาดเพื่อเป็นแบบที่สมบูรณ์ที่สุด
     
  3. เน้นระบบ MIS ให้รัดกุม วางทีมงานรับผิดชอบเฉพาะและพัฒนาข้อมูลการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง
     
  4. สร้างระบบการอบรมให้เป็นมาตรฐาน เพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรและควบคุมมาตรฐานของธุรกิจได้ในระยะยาว
     
  5. คัดเลือกแฟรนไชซีที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้จริง ไม่เน้นในการระดมทุนแต่สนับสนุนบุคคลที่จะขยายสาขาที่รักงานที่จะลงทุนจริง
     
  6. การจัดการอุปกรณ์ในการทำงาน ต้องให้ได้มาตรฐานและมีการบำรุงรักษาตลอด
     
  7. การวางองค์กรการบริหารให้สามารถมีตำแหน่งที่เติบโตได้ในองค์กร และรองรับกับงานที่ขยายตัวรวดเร็วได้ดี
     
  8. การวางแผนงานโฆษณาการประชาสัมพันธ์ จำเป็นต้องลงรายละเอียดในแผนงานอย่างชัดเจน
     
  9. สร้างมาตรฐานการวัดคุณภาพของงานทุกขั้นตอน เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบและการปฏิบัติ
     
  10. ลิขสิทธิ์ จดลิขสิทธิ์ในทุกๆ ด้านให้ครอบคลุมมากที่สุด
     
  11. สำรวจกลุ่มลูกค้าประชากร การขยายสาขาจะต้องมีการสำรวจกลุ่มลูกค้าหรือประชากร ทั้งในส่วนพฤติกรรมการจับจ่าย เส้นทางคมนาคม พื้นที่รอบข้างอย่างละเอียดเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน
     
  12. ทีมงานจัดทีมงานให้เพียงพอต่อความรับผิดชอบงานสาขาและร้านค้าแฟรนไชส์ซีเพื่อสร้างความสะดวกในการทำธุรกิจจริงๆ ให้แก่ผู้ลงทุน
     
  13. เชื่อมั่นในสินค้า บริการ และระบบงาน ผู้บริหารต้องมีความเชื่อมั่นและไม่ควรเปลี่ยนแปลงระบบงานต่างๆ ง่ายเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความสับสนในการบริหารสาขาได้
     
  14. สร้างทีมงานเพื่อพัฒนาสินค้า บริการ มีการกำหนดขอบเขตงานให้เกิดความแตกต่าง และสนองความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา
     
  15. เงินทุนสำรอง หาเงินลงทุนสำรองในกรณีฉุกเฉิน การลงทุนเพิ่มการขยายงาน การใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด เช่น กรณีกฎหมาย ภาษี ฯลฯ
     
  16. การควบคุมระบบงาน การวางงานระบบส่วนบัญชี การเงิน จัดซื้อบุคคล ต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด เพราะหน่วยงานเหล่านี้ จะเป็นตัวเสริมธุรกิจให้เดินหน้าอย่างต่อเนื่องได้

นอกจากความพร้อมในด้านการบริหารงานแล้ว ผู้ที่คิดจะขยายกิจการด้วยระบบแฟรนไชส์ ยังมีความจำเป็นที่จะต้องถึงพร้อมด้วยการเงินที่จะสนับสนุนการขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ด้วย

แม้จะยังไม่เคยมีใครสำรวจและให้คำแนะนำว่า ผู้ที่จะเป็นแฟรนไชส์ซอร์ได้นั้นต้องมีเงินทุนสำรองขั้นต่ำประมาณเท่าใด แต่ในอเมริกานั้นมีผู้ประเมินว่าขั้นต่ำแฟรนไชส์ซอร์ต้องมีเงินในมือไม่น้อยกว่า 100,000-150,000 ดอลล่าร์ จึงจะพอเพียงต่อการเริ่มต้นเป็นแฟรนไชส์ซอร์ที่ดีได้
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,721
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,846
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,368
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,916
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด